5 วิธีดูแลช่วยเหลือเมื่อเด็กๆ เป็นโรคซึมเศร้าที่พ่อแม่ต้องดู

WM

เมื่อเด็กมีปัญหาเรื่องการเรียน การโดนกลั่นแกล้ง อาจนำไปสู่ความกดดันที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

ช่วงนี้เราจะเห็นข่าวเรื่องที่คนเราคิดสั้นเพราะโรคซึมเศร้ากันเยอะ ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้นนะคะที่กำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า เด็ก ๆ เองก็เสี่ยงกับภาวะโรคซึมเศร้าได้เหมือนกันค่ะ อาการของโรคซึมเศร้าในเด็ก จะเริ่มมีอาการเฉยชาต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ตอบสนองโดยการยิ้มหรือแสดงอารมณ์เมื่อมีคนเล่นด้วย บางคนน้ำหนักตัวไม่ขึ้น เพราะกินน้อย และมักป่วยอยู่บ่อย ๆ นั่นเองค่ะ

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามาก่อน เด็ก ๆ เองเมื่อมีปัญหาเรื่องการเรียน การบ้านเยอะ การโดนกลั่นแกล้ง ความเหลื่อมล้ำในสังคมเด็ก ก็อาจนำไปสู่ความกดดันและเมื่อหาทางออกไม่ได้ก็จะเสี่ยงกับโรคซึมเศร้า ความพอใจในตัวเองมีต่ำ คือ การรู้สึกไม่ดีกับตัวเองไม่ค่อยภูมิใจในตนเอง ขาดความเชื่อมั่นไม่เห็นคุณค่าในตนเอง คนแบบนี้จะอ่อนไหวง่ายต่อคำวิพากย์วิจารณ์มักจะทนไม่ค่อยได้ การแสดงออกทางอารมณ์ เช่น เศร้า เสียใจ สะเทือนใจง่าย มาดูวิธีดูแลช่วยเหลือเมื่อเด็กๆเป็นโรคซึมเศร้า

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@mero_dnt

1. พาไปพบจิตแพทย์
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากอาการของโรคซึมเศร้าในแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันไป การไปพบแพทย์จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคนนั้น ซึ่งบางกรณีจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้ยาและการไปพบแพทย์จะทำให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวระหว่างรับการรักษาด้วย

2. หาสาเหตุของโรคซึมเศร้า
เพื่อจะได้รู้ว่าความซึมเศร้านั้นเกิดจากปัจจัยอะไร โดยนอกจากพ่อแม่จะใช้วิธีการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กเองแล้ว การพูดคุยกับตัวเด็กเองหรือพูดคุยกับคนที่รู้จักเด็ก อาจทำให้รู้ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นกับเด็กบ้าง เช่น สอบถามจากคุณครูถึงการใช้ชีวิตที่โรงเรียนของเด็กว่าในแต่ละวันเป็นเช่นไร มีเพื่อนเล่นด้วยหรือไม่ ถูกรังแกหรือไม่ สนใจในการเรียนหรือไม่

3. บรรเทาความเครียด
อย่างเช่นการหากิจกรรมที่จะช่วยให้เด็กๆผ่อนคลายให้ทำ เช่น ชวนเล่นเกม ชวนเล่นดนตรี หรือการจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กให้สดชื่น เช่น จัดห้องนอนให้สะอาดโล่งโปร่งสบาย ปลูกดอกไม้บริเวณบ้านเพื่อให้รู้สึกสดใส

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@xaviermoutonphotographie

4. ให้ความรักและกำลังใจ
ด้วยการรับฟังความรู้สึกของเด็กอย่างตั้งใจ พูดให้กำลังใจโดยไม่ตัดสิน รวมถึงการแสดงออกด้วยท่าทีที่อบอุ่นห่วงใย เช่น โอบกอด ลูบหัว

5. ดูแลสุขภาวะด้านการกินอยู่หลับนอน
โดยการจัดหาให้เด็ก ๆ ได้กินอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางสารอาหารอย่างครบถ้วน ให้ได้รับการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสม

นอกจากการดูแลช่วยเหลือเด็กๆที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วยวิธีการต่างๆแล้ว DooDiDo สิ่งที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจอีกอย่างคือ การรักษาโรคซึมเศร้าต้องใช้เวลา ดังนั้น พ่อแม่จึงไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งรัด แต่จำต้องใช้ความอดทนทั้งกายและใจ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องใช้พลังกายและใจสูง เพื่อจะช่วยให้เด็ก ๆ กลับมามีโลกที่สดใสได้อีกครั้งค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.rakluke.com