4 วิธีกำจัดเห็บอย่างได้ผล ให้ลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์

WM

ลูกสุนัขที่อายุน้อย กว่า 6 สัปดาห์ มีผิวบอบบาง ไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดได้

อีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคนเลี้ยงสุนัขก็คือ เห็บและหมัด นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะกำจัดอย่างไร น้องก็กลับมาเป็นอีก โดยเฉพาะลูกสุนัขที่มีอายุน้อย กว่า 6 สัปดาห์ ยังมีผิวที่บอบบาง ยังไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดได้ค่ะ วันนี้เราจึงมี 4 วิธีที่จะเป็นตัวช่วยให้คนเลี้ยงนั้น ได้นำไปจัดการปัญหาเห็บหมัดที่เกิดกับน้องมาฝากค่ะ

ในสุนัขสุขภาพดีโตเต็มวัยมีผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดมากมายให้เลือกใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหยอดหลัง แบบเม็ดสำหรับกิน ปลอกคอ และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วถ้าเป็นลูกสุนัขล่ะ เราจะมีวิธีกำจัดเห็บหมัดในลูกสุนัขอย่างปลอดภัยด้วยวิธีไหนบ้าง หลายคนคงสงสัยว่าทำไมบทความนี้ต้องเน้นไปที่ลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ นั่นก็เป็นเพราะว่า ลูกสุนัขในช่วงอายุนี้ยังไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่กล่าวมาข้างต้นได้เลย ด้วยผิวหนังที่บอบบางและการรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้ไม่ดีในลูกสุนัข ทำให้การอาบน้ำในลูกสุนัขแรกเกิดมีความท้าทายอย่างมากเลยทีเดียว แล้วเราทำอะไรได้บ้างล่ะ มาดูคำตอบกันค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/makamuki0-1102736/

1.หวี แหนบ และสองมือ
วิธีพื้นฐานที่ทุกคนต้องเคยผ่านกันมาบ้าง คือการใช้มือนี่แหละหยิบเห็บหมัดออกมาจากตัวลูกสุนัขโดยตรงเลยถึงแม้จะช้าหน่อย แต่ในกรณีที่ลูกสุนัขยังเด็กมาก ๆ ไม่สามารถอาบน้ำได้วิธีนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อลูกสุนัขที่สุดแล้ว อุปกรณ์ที่ช่วยทุ่นแรง เช่น หวี และแหนบ ก็สามารถทำให้การหยิบเห็บออกรวดเร็วมากขึ้น

ข้อควรระวัง
บางครั้งการหยิบเห็บออกจากตัวสุนัขโดยตรงอาจทำให้มีเลือดออกจากจุดที่เห็บฝังอยู่บนตัวสุนัขได้

คำแนะนำ
ควรเตรียมสำลีเอาไว้เพื่อกดห้ามเลือด

2.แป้งโรยกำจัดเห็บหมัด
แป้งโรยสำหรับกำจัดเห็บหมัดมักมีส่วนประกอบหลักคือ เพอร์เมทริน (Permethrin) ซึ่งเป็นสารกําจัดแมลงในกลุ่มไพรีทรอยด์ ที่มีพิษต่อแมลงสูงแต่มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่ำ มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกําจัดเห็บหมัด วิธีการใช้แป้งโรยได้รับความนิยมเนื่องจากใช้งานสะดวกแต่ในด้านประสิทธิภาพของการใช้เพอร์เมทรินในการกำจัดเห็บหมัดมีรายงานการวิจัยในประเทศปานามาว่าเห็บ Rhipicephalus sanguineus ซึ่งเป็นเห็บชนิดเดียวกับที่พบในบ้านเรามีการดื้อต่อเพอร์เมทรินในระดับสูง1

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

ข้อควรระวัง
1.ด้วยขนาดอนุภาคที่เล็กและการฟุ้งกระจายได้ดีของแป้ง เวลาใช้ในลูกสุนัขต้องระมัดระวังไม่ให้แป้งเข้าปาก ตา หรือจมูกของสุนัข
2.ไม่ควรนำลูกสุนัขที่ทาแป้งไปให้แม่สุนัขทันที เพราะแม่สุนัขอาจเลียเอาแป้งที่มีส่วนผสมของยาเข้าไปได้

คำแนะนำ
ทาแป้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง และใช้แปรงหวีเอาเศษแป้งที่เหลืออยู่ออกไป ก่อนนำลูกสุนัขเข้าไปรวมกับสุนัขตัวอื่น

3.จัดการเห็บหมัดบนตัวแม่สุนัข
การจัดการเห็บหมัดบนตัวแม่สุนัขก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เห็บหมัดที่อยู่บนตัวแม่สุนัขสามารถกระจายไปสู่ลูกสุนัขได้อย่างง่ายดาย ตามพัฒนาการลูกสุนัขในช่วงแรกจะต้องอาศัยการดูแลจากแม่สุนัขเป็นหลัก เรียกได้ว่าลูกสุนัขต้องอยู่กับแม่ตลอดเวลาเลยทีเดียว

แม่สุนัขที่กำลังให้นมลูกสุนัขอยู่ก็เป็นข้อจำกัดหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้ทุกประเภท จากการรวบรวมข้อมูลของยากำจัดเห็บหมัดที่มีทะเบียนถูกต้องในประเทศไทยและสามารถใช้ได้ในกรณีนี้ได้แก่

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/jgamarillaspublicidad-179321/

– Revolution ยาหยอดหลังยอดฮิตติดตลาดอีกตัวหนึ่ง มีความง่ายในการใช้งาน แค่แกะผลิตภัณฑ์แล้วหยอดไปบริเวณหลังของตัวสัตว์ก็สามารถป้องกันเห็บหมัดได้ถึง 1 เดือนเลยทีเดียว มีความสะดวกในการใช้งาน และมีฤทธิ์ป้องกันปรสิตอื่น ๆ อีกมากมาย
Revolution มีส่วนประกอบหลักคือ เซราเมกติน (Selamectin) ใช้รักษาและป้องกันหมัดเห็บ ป้องกันพยาธิหัวใจ ไรในหู โรคขี้เรื้อนแห้ง (Sarcoptes) และพยาธิตัวกลม มีฤทธิ์อยู่ได้ 1 เดือน สามารถใช้ในแม่สุนัขตั้งท้องและให้นมลูกได้

ข้อควรระวัง
หลังหยอดยาไม่ควรให้สุนัขตัวอื่นมาเลียสุนัขตัวที่ถูกหยอดยา ควรทิ้งให้ยาแห้งอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

คำแนะนำ
1.ตำแหน่งที่เหมาะสมในการหยอดยาคือบริเวณหลัง ตรงกลางระหว่างไหล่ทั้งสองข้างของสุนัข
2.ควรใช้ยาก่อนหรือหลังสุนัขอาบน้ำ 2 ชั่วโมง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/teerasuwat-740400/

4.สิ่งแวดล้อมก็สำคัญนะอย่าละเลย
ผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าวงจรชีวิตของเห็บที่พบในประเทศไทย (Rhipicephalus sanguineus) หรือเห็บสีน้ำตาลต้องขึ้น ๆ ลง ๆ บนตัวสุนัขและพื้นถึง 3 รอบกว่าที่เห็บจะโตเต็มวัยและพร้อมวางไข่ได้ การที่พวกเราจะจัดการกับเห็บสายย่อ (ขึ้น ๆ ลง ๆ) ได้เนี่ย ต้องจัดการเห็บที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมด้วยถึงจะตัดวงจรเห็บสายย่อได้อย่างสมบูรณ์

คำแนะนำ
1.เล็มหญ้าให้สั้น เพราะเห็บจะตามหาเหยื่อโดยการไต่ขึ้นไปบนยอดพุ่มไม้ หญ้า ผนังหรือรั้ว เพื่อรอสัญญานการเคลื่อนไหวหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหยื่อหายใจออกมา การเล็มหญ้าจะช่วยลดโอกาสที่เห็บจะตามหาเหยื่อเจอ
2.จำกัดบริเวณแม่สุนัขไม่ให้ไปเดินเล่นที่สนามหญ้าBayticol

ทั้ง 4 ข้อนี้คือวิธีที่ DooDiDo นำมาฝากเพื่อช่วยกำจัดเห็บหมัดให้กับลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ค่ะ อย่าปล่อยให้เห็บมาทำร้ายสุขภาพของน้องหมาและตัวคุณเองนะคะ หากพบเห็บที่บ้าน ให้รีบพาน้องหมาไปตรวจสุขภาพด้วย เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจติดมากับเห็บ อาจทำให้น้องหมาของคุณถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://gatoro.co