11 สัญญาณเตือนว่าสุนัขของคุณกำลังเป็น “โรคเหงา”

WM

“โรคเหงา” หรือ “โรคซึมเศร้าในสุนัข” ที่หลายๆ คนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน

คุณเคยรู้หรือเปล่าว่าไม่ใช่แค่คนเท่านั้นที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่สุนัขก็เป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ซึ่งทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่าสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอันดับหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคนี้ บางตัวอาจถึงขั้นตรอมใจตายได้เลยทีเดียว แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขกำลังเป็น โรคเหงาหรือ โรคซึมเศร้าในสุนัข

หลายคนชอบคิดว่าตัวเองรู้จักและรู้ใจสุนัขดีพอ แต่ต้องบอกเลยว่าความจริงแล้วสุนัขมีความรู้สึกข้างในที่หลากหลายและลึกซึ้งมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเสียใจได้ถึงขนาดเป็นโรคซึมเศร้าเลยด้วย ฮั่นแน่ พูดมาขนาดนี้แล้ว หลายคนคงเริ่มคิดกันแล้วสิท่าว่าจริง ๆ แล้วเราเข้าใจความรู้สึกของสุนัขมากพอไหม สุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า แล้วถ้าสุนัขป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการเป็นอย่างไร เอาล่ะ ถ้าอย่างนั้นก็อย่ามัวชักช้า รีบตามมาเช็กความเสี่ยงจากสัญญาณเตือนเหล่านี้กันค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/niko_shogol-4664478/
  1. มีนิสัยก้าวร้าว รุนแรง

         แน่นอนว่าโรคซึมเศร้าสามารถทำให้น้องหมาที่แสนน่ารักกลายเป็นน้องหมาที่มีนิสัยก้าวร้าวได้ ฉะนั้นถ้าหากใครพบว่าอยู่ดี ๆ เจ้าตูบที่เคยน่ารักสดใสพูดอะไรก็เชื่อฟัง อยู่ ๆ วันหนึ่งก็มีนิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตรงกันข้าม ทั้งเริ่มมีความเกรี้ยวกราด มักจะแยกเขี้ยวขู่อย่างดุร้าย และชอบพุ่งเข้าใส่คนหรือสัตว์อื่นที่พบเห็น ก็ให้รีบพาไปหาคุณหมอโดยด่วน เพราะนี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว

  1. ชอบหลบซ่อนตัว

          สำหรับสุนัขที่ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่งในช่วงเวลาปกติทั่วไป ไม่ได้มีเสียงดัง ๆ ที่ทำให้ตกใจกลัว อย่างเช่น เสียงพลุช่วงเทศกาล เสียงฟ้าร้อง-ฟ้าแลบ พายุเข้า หรือเหตุการณ์น่ากลัวอะไรเกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าเจ้าตูบเหล่านี้อาจจะเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เพราะพฤติกรรมในลักษณะนี้ถือเป็นสัญญาณหลัก ๆ ที่บ่งบอกว่าสุนัขกำลังรู้สึกไม่ปกติหรือไม่สบายใจอย่างที่เคย ดังนั้นคราวหน้าคราวหลังทาสหมาทั้งหลายต้องคอยหมั่นสังเกต อย่าเผลอคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเชียวล่ะ

  1. ขับถ่ายไม่เป็นที่

          หากอยู่ดี ๆ สุนัขที่เคยขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง เข้าห้องน้ำเองมาโดยตลอด แต่อยู่ ๆ กับฉี่หรืออึไปทั่วบ้านไม่เป็นที่เป็นทาง ก่อนจะลงโทษควรสังเกตพฤติกรรมดูสักนิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่กล่าวมา โดยเฉพาะบังเอิญเจอความผิดปกติแบบนี้บ่อยครั้ง อาจบ่งบอกว่าสุนัขเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@daniel7450
  1. ทำลายข้าวของ

          ลูกสุนัขอาจจะมีนิสัยชอบกัดรองเท้าใหม่ได้ แต่สำหรับสุนัขโต ขอบอกเลยว่าถ้าตัวไหนยังชอบกัดรองเท้าเล่นหรือทำลายข้าวของอยู่ละก็ แสดงว่าสุนัขอาจมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งหากเริ่มเห็นท่าว่าไม่ค่อยจะดี ก็ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

          ทาสหมาเช็กให้ไว ! อาการอันตรายที่สื่อว่าสุนัข กำลังจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ อาการอย่างไรเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้ามาเช็กกันค่ะ

  1. เบื่ออาหาร

          หากก่อนหน้านี้สุนัขชอบวิ่งกระดิกหางมาขออาหารกินบ่อย ๆ หรือพอถึงเวลาให้อาหารก็จะมานั่งรออย่างใจจดใจจ่อ แต่แล้วอยู่ ๆ สุนัขกลับเมินอาหารทุกชนิดแม้แต่ของที่เคยชอบกินมาก ๆ เกิดอาการเบื่ออาหารขึ้นมาซะดื้อ ๆ แบบนี้ท่าไม่ดีแน่ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว อาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายอื่น ๆ ด้วย

  1. ไม่ทำตามคำสั่ง

          เชื่อว่าหลายคนคงฝึกสุนัขให้ทำตามคำสั่งได้ ไม่ว่าจะนั่ง นอน หมอบ ขอมือ หรือแกล้งตาย สุนัขหลายตัวก็ทำได้หมด อ๊ะ ๆ ๆ แต่ถ้าวันดีคืนดีเจ้าตูบกลับเมินเฉย ไม่ยอมทำตามคำสั่งขึ้นมาเมื่อไร อย่าพิ่งคิดว่ามันลืม ขี้เกียจ ไม่รัก ไม่สนใจ หรือเริ่มเป็นวัยรุ่นอารมณ์ฉุนเฉียวเชียวนะคะ เพราะถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่าสุนัขเป็นโรคซึมเศร้าได้เหมือนกัน

  1. ส่งเสียงขู่คำราม

          อีกหนึ่งพฤติกรรมที่ช่วยเตือนว่าสุนัขของคุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็คือการส่งเสียงขู่คำราม ให้ลองสังเกตดูว่า เวลาเราเข้าไปจับ ไปทัก หรือไปลูบเจ้าตูบ มีเสียงขู่คำรามออกมาหรือไม่ ซึ่งถ้าหากพบว่ามีบ่อย ๆ ถี่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงพักหลัง ๆ นี้ ก็ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ปกติ เพราะถึงแม้มันอาจจะไม่ได้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจริง ๆ แต่ก็ถือเป็นนิสัยและท่าทางที่ไม่น่ารักเอามาก ๆ เจ้าของต้องรีบดูแลและหาทางรักษาอย่างรวดเร็วเลยล่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/picsbyfran-6087762/
  1. ไม่สนใจของเล่น

          สำหรับสุนัขที่เบื่อหรือไม่สนใจของเล่นชิ้นเดิมที่เคยชอบ เคยใช้ เจ้าของรีบควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่านี่ใช่สัญญาณเตือนอาการซึมเศร้าหรือเปล่า ทว่าถึงมันจะไม่อยากเล่น ก็ใช่ว่าจะหยุดเล่นกับน้องหมาเลยเสียทีเดียว เพราะผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การใช้เวลาร่วมกันกับสุนัข เช่น พาไปออกกำลังกายหรือทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ จะช่วยให้สุนัขมีกลับมามีความสุขและสนุกสนานเหมือนเดิมได้อีกครั้ง

  1. ไม่หลับไม่นอน

         ต้องบอกเลยว่าอาการนอนไม่หลับก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของโรคซึมเศร้าในสุนัขเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามพฤติกรรมนี้ก็อาจจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากความเจ็บปวดตามร่างกายของสุนัขได้เหมือนกัน ฉะนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุดคือ พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อหาต้นตอของอาการและหาทางรักษาอย่างถูกต้อง

  1. นอนมากเกินไป

          คล้าย ๆ กันกับอาการของคนคือ ถ้าหากสุนัขป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอาจจะมีอาการนอนหลับมากหรือนานเกินไป ซึ่งสำหรับมาตรฐานเวลานอนของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะอยู่ที่ น้องหมา 14 ชั่วโมง น้องแมว 16 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าหากสัตว์เลี้ยงของใครนอนหลับนานหรือมากกว่านี้ ก็ได้เวลาพาไปตรวจกับคุณหมอแล้วนะคะ

  1. เลียขนบ่อยเกินไป

          สำหรับสุนัขตัวไหนที่เริ่มเลียทำความสะอาดขนเป็นประจำจนเหมือนเป็นกิจวัตร เจ้าของควรพาไปตรวจเช็กด้วยเช่นกัน เพราะในขนาดที่เราคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แต่แท้จริงแล้วการเลียบ่อย ๆ มาก ๆ เกินไป ถือเป็นการทำให้ตัวเองผ่อนคลาย ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสุนัขกำลังรู้สึกวิตกกังวลกับบางอย่างอยู่ ดังนั้นถ้าหากเราพบว่าเจ้าตูบมีอาการแบบนี้มากขึ้นเมื่อไร ควรรีบพาไปหาหมอเพื่อหาที่มาที่ไปจะดีที่สุด

ไม่ว่าจะคนหรือสุนัข ถ้าหากเป็นโรคซึมเศร้าก็ไม่ดีแน่ ฉะนั้นนอกจากจะใส่ใจคนรอบข้างแล้ว ทาสหมา ทาสแมวทั้งหลาย อย่าลืมใส่ใจสัตว์เลี้ยงของตัวเองให้ดีอยู่เสมอด้วยนะคะ อ่านจบแล้ว DooDiDo แนะนำว่าอย่าลืมหันไปสำรวจน้องหมาของคุณ หรือ ของเพื่อน ว่าน้องหมามีภาวะโรคซึมเศร้าที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดหรือไม่ อย่าปล่อยให้สุนัขของคุณต้องอยู่ตัวเดียวตามลำพังนานเกิน 7 ชั่วโมงขึ้นไป หรือไม่ได้ใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานจนคุณแทบจำไม่ได้ว่าครั้งสุดท้ายที่เล่นกับมันคือเมื่อไหร่การเดินผ่านมันแล้วจับมัน และเดินจากไปนั้นปวดร้าวมาก หากคุณหันกลับไปมองแววตาที่รอคอยคุณเสมอ คอยมองแผ่นหลังของคุณเดินจากไป น้องหมาไม่เคยเรียกร้องอะไร พวกมันคิดว่าพวกมันรอไปเสมอ แต่จิตใจของพวกมันค่อยๆ ป่วยและอ่อนแอลงทุกวันถ้าคุณไม่อยากเสียพวกมันไปตลอดกาล อย่าลืมหันไปใส่ใจดูแล และ ใช้เวลาที่คุณกดมือถือ เล่นกับพวกมันบ้างนะคะ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: https://pet.kapook.com