“โรคไข้หัดแมว” สัญญาณเตือนด้วยอาการท้องเสียรุนแรงในแมว!!

WM

“โรคไข้หัดแมว” เป็นหนึ่งในโรคน่ากลัวสำหรับแมว ที่เริ่มต้นจากอาการท้องเสีย

อาการท้องเสียในแมว เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้คนรักแมวต้องกังวล เพราะอาการท้องเสียของน้องแมวนั้น เกิดจากการติดเชื้อของลำไว้ ซึ่งหากน้องมีอาการท้องเสียอาจทำให้เป๋นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ วันนี้ขอนำเสนอโรคไข้หัดแมว โรคที่ทำให้แมวท้องเสีย มีอาการซึม เบื่ออาหาร มาฝากทาสแมวค่ะ

“โรคหัดแมว” หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว เป็นโรคติดเชื้อในทางเดินอาหารของแมว สามารถพบได้ทุกช่วงอายุโดยเฉพาะในแมวเด็ก และแมวที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ในกรณีที่มีอาการรุนแรง สามารถทำให้น้องเหมียวของคุณเสียชีวิตได้ ถือเป็นมหันตภัยร้ายที่คนเลี้ยงแมวไม่ควรมองข้ามเลยนะคะ วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาฝาก เพื่อให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันมากขึ้น จะมีอาการและวิธีป้องกันอย่างไร ตามไปดูเลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/photosforyou-124319/

อาการไข้หัดแมว
โรคนี้มีระยะการฟักตัวของโรค 2-7 วัน โดยแมวอายุน้อยส่วนใหญ่ตายอย่างรวดเร็ว อัตราการตายอยู่ระหว่าง 25-90% จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ร่างกายขาดน้ำ ถ่ายเป็นเลือด เบื่ออาหาร และร่างกายอ่อนเพลียอย่างหนัก เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูง โดยเฉพาะในกลุ่มแมวที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน เมื่อตรวจเลือดจะพบว่าเม็ดเลือดขาวต่ำมาก จึงมีชื่อเรียกโรคนี้ว่า “Feline Panleukopenia” เมื่อคลำบริเวณช่องท้องจะรู้สึกเจ็บ บางครั้งพบเป็นลำของลำไส้หนาตัว ภายในมีแก๊สและของเหลว หากแมวติดเชื้อไข้หัดแมวในขณะตั้งท้องก็อาจทำให้แท้ง ลูกตายหลังคลอด หรือทำให้ลูกพิการทางสมองได้

โดยโรคนี้สามารถทำให้แมวเสียชีวิตได้ในระยะเวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์เท่านั้น ที่สำคัญคือถ้ามีแมวตัวใดตัวหนึ่งเกิดติดไข้หัดแมวเพียงแค่ 1 ตัว ก็สามารถทำให้แมวทุกตัวที่อยู่ภายในบ้านหรือรัศมีใกล้เคียงกัน ติดโรคนี้ได้ทั้งหมดและทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการนำน้องแมวอายุ 6-12 สัปดาห์ ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดแมวและทำการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำในทุกปี

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/helgaka-2849566/

วิธีป้องกันโรค
1.สามารถฉีดวัคซีนให้กับน้องแมวได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ ขึ้นไป
2.ฉีดซ้ำทุก 2-3 สัปดาห์ จนกว่าน้องแมวจะอายุครบ 16 สัปดาห์ ขึ้นไป และทำการกระตุ้นวัคซีนทุก 1-3 ปี (แล้วแต่ความรุนแรงในการระบาดของโรคในพื้นที่นั้นๆ)
3.ผู้เลี้ยงไม่ควรสัมผัสแมวป่วยนอกบ้าน หากสัมผัสมาก็ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจะจับแมวของตัวเอง
4.ไม่ควรปล่อยน้องแมวออกนอกบ้าน เพื่อลดการติดเชื้อจากแมวนอกบ้านซึ่งอาจเป็นพาหะของโรค
5.ถ้ามีสมาชิกน้องเหมียวตัวใหม่เข้าบ้าน ควรแยกเลี้ยงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการว่ามีโรคไข้หัดแมวติดมาด้วยหรือเปล่า
เกิดจากการติดต่อโดยตรงจากแมวป่วย โดยเฉพาะทางอุจจาระ ภาชนะใส่อาหาร น้ำ กรง ที่ขับถ่ายของแมว หรือพื้นดินที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัส รวมถึงเสื้อผ้า และรองเท้า การแพร่โรคนี้จะเกิดได้ง่ายขึ้นหากเลี้ยงน้องแมวรวมกันหลายตัว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/mirkosajkov-14973806/

วิธีการรักษา
ในปัจจุบันมีการให้ยาในกลุ่ม Interferon แบบฉีดในปริมาณสูงเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสร่วมกับการรักษาตามอาการ ซึ่งพบว่าหากฉีด Interferon ในแมวที่แสดงอาการป่วยไปแล้ว จะเพิ่มอัตรารอดได้ประมาณ 10-20% เมื่อเทียบกับการรักษาตามอาการแบบเดิมเพียงอย่างเดียว และพบว่าถ้าเริ่มฉีด Interferon ในน้องแมวที่ได้รับเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ จะช่วยเพิ่มอัตรารอดได้ค่อนข้างสูงประมาณ 80-90% เลยทีเดียว แต่ข้อเสียของ Interferon แบบฉีดคือ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมากนั่นเองค่ะ

จากข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้หัดแมวที่ DooDiDo นำมาฝากทาสแมวในวันนี้ ต้องบอกเลยค่ะว่าเป็นหนึ่งในโรคน่ากลัวที่มีจุดเริ่มต้นจากอาการท้องเสียค่ะ เพราะเมื่อแมวของคุณเป็นแล้วน้องแมวจะรอดชีวิตได้ค่อนข้างยาก แต่ถ้าหากรอดมาแล้วอาจพิการทางสมองได้เลย คุณต้องคอยสังเกตอาการน้องนะคะว่าน้องมีอาการท้องเสียรุนแรงหรือเปล่า เพราะจุดเริ่มต้นของโรคจะมาจากลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับแมวทุกเพศและทุกวัยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.petcitiz.info