โรคที่เกิดขึ้นกับแมวในฤดูต่างๆ ที่เจ้าของต้องระวัง!!

แมวก็มีโรคที่มาพร้อมสภาพอากาศได้เหมือนกัน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้คนเจ็บป่วยได้ แต่ไม่ใช่แค่คนเท่านั้นนะคะ น้องแมวสุดที่รักก็สามารถเจ็บป่วยได้ในแต่ละฤดูเช่นกันค่ะ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ร่างกายของแมวไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ยิ่งในแมวที่สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงก็จะยิ่งเจ็บป่วยได้ง่าย วันนี้เราจะพาทาสแมวมาดูโรคที่เกิดขึ้นกับแมวในฤดูต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้องแมวต้องเชิญกับปัญหาสุขภาพในแต่ละฤดูนั่นเอง

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแต่คนเท่านั้นที่จะป่วย… แต่บรรดาสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณก็มีโรคที่มาพร้อมสภาพอากาศเช่นกัน -vพาทาสแมวมาทำความรู้จักกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเข้ามาประชิดตัวเจ้าเหมียวตัวโปรดของคุณได้ทุกเมื่อ ฤดูกาลไหน มาพร้อมโรคอะไรบ้าง ทาสรู้ไว้จะได้ป้องกันได้ถูกวิธี

โรคที่มากับ ‘ฤดูร้อน’

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/milivigerova-742747/

1.โรคพิษสุนัขบ้า
เปิดหัวมาว่า โรคพิษสุนัขบ้า แต่โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้เฉพาะในสุนัขเท่านั้น แต่รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย ไม่เว้นแม้แต่เจ้าเหมียวของคุณ! โดยโรคนี้ ติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลาย หรือเลียบริเวณที่มีรอยแผลต่างๆ และเป็นโรคที่เป็นแล้วไม่หาย ต้องจากโลกนี้ไปอย่างเดียวเท่านั้น

อาการ
เจ้าเหมียวจะมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย น้ำลายไหลมาก เริ่มอดข้าวอดน้ำ ไม่แตะอาหาร ขาอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตในที่สุด

วิธีป้องกัน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2.ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด
หากเจ้าเหมียวของคุณเป็นสายพันธุ์ที่มาจากเมืองหนาว ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นฮีทสโตรกได้ง่ายในฤดูร้อน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่อุณหภูมิสูงเกินไป จนส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเจ้าเหมียวสูงกว่าปกติ จนไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ และทำให้อวัยวะภายในล้มเหลวเฉียบพลัน

อาการ
เมื่อเจ้าเหมียวมีอาการหอบเหนื่อย น้ำลายยืด หายใจไม่ทัน และอาจเกรี้ยวกราดผิดปกติ และมึนงง

วิธีป้องกัน
ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแดด อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท มีลมพัดผ่าน หมั่นป้อนน้ำเจ้าเหมียวบ่อยๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/violetta-37547/

โรคที่มากับ ‘ฤดูฝน’

1.โรคพยาธิหนอนในหัวใจแมว
ยุงกับฝนเป็นของคู่กัน และยุงก็เป็นพาหะของโรคพยาธิหนอนในหัวใจแมว โดยโรคนี้จะเกิดจากการที่ยุงไปกัดสุนัขหรือแมวที่มีตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในระยะติดโรค จากนั้นก็บินมากัดเจ้าเหมียวของเรา ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเข้าไปสู่กระแสเลือด และใช้เวลา 5-8 เดือน เพื่อเจริญเติบโตเต็มวัย

อาการ
สำหรับกรณีไม่รุนแรงมาก เจ้าเหมียวจะเบื่ออาหาร อ่อนแรง คล้ายๆ กับเป็นโรคหอบหืด ส่วนอาการเฉียบพลัน จะมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง ไอ จาม หายใจลำบากและเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

วิธีป้องกัน
พาเจ้าเหมียวไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้ดี และการเลี้ยงแมวระบบปิดจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการติดโรคได้ หากมีอาการรีบพาไปพบสัตวแพทย์ด่วน ๆ

2.โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคที่ติดต่อได้จากสัตว์สู่คน และมีอัตรายถึงชีวิต โดยมีหนูเป็นพาหะ และแพร่กระจายผ่านน้ำ ที่มีสารปนเปื้อนจากปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งน้ำนิ่ง ดิน โคลนต่างๆ ที่น้องแมวของเราชอบลงไปเล่น

อาการ
เมื่อรับเชื้อเข้ามา เจ้าเหมียวอาจจะไม่แสดงอาการ แสดงอาการกึ่งเฉียบพลัน เช่น มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ปัสสาวะเป็นเลือด มีภาวะโลหิตจาง หรือแสดงอาการแบบเฉียบพลัน เช่น ไข้สูง ก็เป็นได้ หากเกิดในลูกแมว มีโอกาสเสียชีวิตสูงมากถึง 80% เชียวนะ

วิธีป้องกัน
ป้องกันอย่าพาเจ้าเหมียวตัวโปรดไปอยู่ในสถานที่เปียกๆ เป็นเวลานาน พาไปฉีดวีคซีนป้องกันโรคฉี่หนู และหมั่นทำความสะอาดที่อยู่ของแมวเป็นประจำ ช่วยป้องกันโรคได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/obsidian_tanto-1861276/

โรคที่มากับ ‘ฤดูหนาว’

1.ภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำ
เมื่ออุณหภูมิต่ำลง อาจทำให้ร่างกายของเจ้าเหมียว ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในอุณหภูมิปกติได้ ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทต่ำลง การทำงานของหัวใจ การไหลเวียนของเลือด การหายใจ และภูมิคุ้มกันลดลงตาม โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นง่ายในเจ้าเหมียวอายุน้อย และเจ้าเหมียวสูงอายุ ที่ไวต่ออุณหภูมิ

อาการ
ในระดับอ่อน ๆ เจ้าเหมียวจะมีอาการอ่อนแรง สั่น ในระดับปานกลาน กล้ามเนื้อจะชักกระตุก ความดันต่ำ หายใจลึกขึ้นและช้าลง ส่วนอาการระดับรุงแรน รูม่านตาจะขยาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะและนำไปสู่อาการโคม่าได้

วิธีป้องกัน
สำหรับแมวที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น แมวอายุน้อย-อายุมาก ไขมันในร่างกายสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน ต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็น

2.โรคหวัดแมว 
ไม่ว่าจะเป็นแมวช่วงวัยไหน ก็สามารถติดโรคหวัดแมวได้ทั้งนั้น! โดยโรคหวัดแมว เกิดจากเชื้อไวรัสจำเพาะในแมว และมีอาการรุนแรงในลูกแมวและแมวที่กำลังป่วย ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ เพียงแค่พาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์

อาการ
หากเจ้าเหมียว มีอาการซึมๆ เบื่ออาหาร ไอ จาม มีน้ำมูก จะมีเสมหะหรือไม่มีเสมหะก็ได้ รวมถึงมีขี้ตาเยอะ ตาบวม น้ำตาไหล ลิ้น เหงือก ช่องปากอักเสบ และนำมาสู่การกินอาหารน้อยลง

วิธีป้องกัน
ทาสสามารถพาแมวไปเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยการทำวัคซีนได้ตั้งแต่มีอายุ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป และฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันในทุกๆ ปี และสามารถรักษาหายได้ด้วยการรักษาตามอาการ

จะเห็นได้ว่าในแต่ละฤดูน้องแมวก็จะเสี่ยงกับโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเจ้าของต้องดูแลสุขภาพของน้องให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเตรียมตัวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ DooDiDo เพื่อป้องกันไม่ให้น้องแมวเกิดอาการเจ็บป่วย ให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี อยู่กับเราไปนาน ๆ นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.nautilusonlineshop.com