แนะนำวิธีการเพาะเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ที่สามารถช่วยสร้างรายได้

WM

มาทำความรู้จัก และวิธีเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเลี้ยงง่าย โตเร็ว

“ปลานิล” (Oreochromis nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื้อปลามีรสชาติดี ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลานิลกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งการเพาะเลี้ยงปลานิลของไทยส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในบ่อดิน ส่วนที่เหลือนั้นเลี้ยงในนาข้าวและร่องสวน

การเลี้ยงปลานิลเพียงชนิดเดียว แตกต่างจากการทำประมงปลาแหล่งอื่น ที่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงปลาเบญจพรรณ เนื่องจากเกษตรกรที่นี่มองเห็นทิศทางตลาดปลานิลในต่างประเทศ ที่มีความต้องการปลาเนื้อขาวสำหรับบริโภคสูง และปลานิลก็เป็นปลาเนื้อขาวที่ราคาถูกกว่าชนิดอื่น เมื่อนำไปแปรรูปบริโภค ราคาขายจึงไม่สูงมาก ทำให้การซื้อขายคล่องตัวมากกว่าปลาเนื้อขาวชนิดอื่น

WM
ขอบคุณภาพจาก:www.facebook.com/512703902084703

รูปร่างลักษณะ
รูปร่างของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 47 แถว ตามลำตัวมีลายขวางจำนวน 9-10 แถบนอกจากนั้น ลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยครีบแข็งแลอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตอก

การเพาะพันธุ์ปลานิล
การเพาะพันธุ์ปลานิลให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ ต้องได้รับการเอาใจใส่และมีการปฏิบัติใน ด้านต่าง ๆ เช่น การเตรียมบ่อ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การตรวจสอบลูกปลา และการอนุบาลลูกปลา สำหรับการเพาะปลานิลในบ่อดินมีวิธีการ ดังต่อไปนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก:www.facebook.com/การเลี้ยงปลานิล-ปลาทับทิมในกระชัง-512703902084703

1. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บ่อดินที่ใช้เป็นบ่อเพาะปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 50-1,600 ตารางเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ระดับสูง 1 เมตร บ่อควรมีเชิงลาดตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันดินพังทลาย และมี ชานบ่อกว้าง 1-2 เมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าก็ควรวิดน้ำและสาดเลนขึ้น ตกแต่งภายในบ่อให้ดินแน่น ใส่โล่ติ๊น กำจัดศัตรูของปลาอัตราส่วนใช้โล่ติ๊นแห้ง 1 กก./ปริมาตรของน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร โรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ 1 กก./ พื้นที่บ่อ 10 ตรม. ใส่ปุ่ยคอกแห้ง 300 กก./ไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จึงเปิดหรือสูบน้ำเข้าบ่อ ผ่านผ้ากรองหรือตะแกรงตาถี่ให้มีระดับสูงประมาณ 1 เมตร การใช้บ่อดินเพาะปลานิลจะมีประสิทธิภาพ ดีกว่าวิธีอื่น เพราะเป็นบ่อที่มีลักษณะคล้ายคลึงธรรมชาติ และการผลิตลูกปลานิลจากบ่อดินจะได้ผลผลิตสูง ต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่น

WM
ขอบคุณภาพจาก:https://sites.google.com/site/phakthiydang

2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล จากการสังเกตจากลักษณะภายนอกของปลาที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล สำหรับพ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศถ้าเป็นปลาตัวเมีย จะมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้ก็สังเกตได้ จากสีของตัวปลาที่เข้มสดใสโดยเปรียบเทียบกับปลานิล ตัวผู้อื่น ๆ ที่จับขึ้นมา ขนาดของปลาตัวผู้และตัวเมียควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือมีความยาวตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 150-200 กรัม

3. อัตราส่วนที่ปล่อยพ่อแม่ปลาลงเพาะ ปริมาณพ่อแม่ปลาที่จะนำไปปล่อยในบ่อเพาะ 1 ตัว/4 ตารางเมตร หรือไร่ละ 400 ตัว ควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อปลา 2 ตัว /แม่ปลา 3 ตัว เนื่องจากได้สังเกตจากพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ ปลาตัวผู้มีสมรรถภาพที่จะผสมพันธุ์กับปลาตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้น การเพิ่มอัตราส่วนของปลาตัวเมียให้มากขึ้นคาดว่าจะได้ลูกปลานิลเพิ่มขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก:https://forums.chiangraifocus.com

4. การให้อาหารและปุ๋ยในย่อเพาะพันธุ์ การเลี้ยงปลานิลมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารสมทบ หรืออาหารผสมได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียด ในอัตราส่วน 1:2:3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อให้ปลานิลใช้เป็นพลังงาน ซึ่งต้องใช้มากกว่าในช่วงการผสมพันธุ์ ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100-200 กก./ไร่/เดือน ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มพูนอาหารธรรมชาติในบ่อ ได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็ก ๆ ไรน้ำ และตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อนที่หลังจากถุงอาหารยุบตัวลง และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบ่อเพาะดังกล่าวประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะย้ายไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล

WM
ขอบคุณภาพจาก:https://pixabay.com/th/users/1czphoto-4552889/

ขั้นตอนการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน
1. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำต่างๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมดโดยนำมากองสุมไว้แห้ง แล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคัดดินที่ชำรุด หรือใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ผัก ผลไม้ พร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและอัดดินให้แน่นด้วย

2. การใส่ปุ๋ย โดยปกติแล้วอุปนิสัยในการกินอาหารของปลานิลจะกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ แหน สาหร่าย ฯลฯ ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงปลาควรให้อาหารธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อละลายเป็นธาตุอาหาร ซึ่งพืชน้ำขนาดเล็กจำเป็นใช้ในการปรุงอาหารและเจริญเติบโตโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นโซ่อาหารอันดับต่อไป คือ แพลงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ ไร่น้ำ และตัวอ่อนของแมลง ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่ มูลวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ นอกจากปุ๋ย ที่ได้จากมูลสัตว์แล้วก็อาจใช้ปุ๋ยหมักจำพวกหญ้าและฟางข้าวปุ๋ยสดต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: www.lazada.co.th

3. อัตราปล่อยปลาเลี้ยงในบ่อดิน ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไป จะปล่อยลูกปลาขนาด 3-5 ซม. ลงเลี้ยงในอัตรา 1-3 ตัว/ตารางเมตร หรือ 2,000 – 5,000 ตัว/ไร่

4. การให้อาหาร การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหารแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจะได้อาหารธรรมชาติ ที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตขึ้นหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นอาหารสมทบด้วย เช่น รำ ปลายข้าว กากมะพร้าว มันสำปะหลัง หั่นต้ม ให้สุก และเศษเหลือของอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น กากถั่วเหลืองจากโรงทำเต้าหู้ กากถั่วลิสง อาหารผสมซึ่งมีปลาป่น รำข้าว ปลายข้าว มีจำนวนโปรตีนประมาณ 20% เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัวหรือภัตตาคาร อาหารประเภทพืชผัก เช่น แหนเป็น สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ละเอียด เป็นต้น
การเจริญเติบโตและผลผลิต

สำหรับตลาดของปลานิลส่วนใหญ่ยังใช้บริโภคภายในต่างประเทศ มีโรงงานห้องเย็นเริ่มรับซื้อ ปลานิล ปลานิลแดง เพื่อแปรรูปส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เป็นต้น DooDiDo คิดว่าการเลี้ยงปลานิลเป็นที่นิยมกันเพราะการดูแลเอาใจใส่มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมากนักและยังเป็นการสร้างอาชีพให้กับผู้เลี้ยงอีกด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: http://gms.oae.go.th/Z_Show.asp?ArticleID=198