เทคโนโลยี ไวตาโก้ฯ MOU พญาเย็นแดรี่รีดนมอัตโนมัติ

WM

ภาพจาก pixabay

ไวตาโก้ฯ MOU พญาเย็น แดรี่ ซื้อระบบรีดนมอัตโนมัติแบบหมุน ครั้งแรกในเมืองไทย

บริษัทไวกาโต้ มิลค์กิ้ง ซิสเตมส์ (Waikato Milking Systems) ได้ลงนามข้อตกลงกับบริษัท พญาเย็น แดรี่ และผู้จัดจำหน่าย บริษัท แดรี่ ฮับ ซับพลาย เชน ในการจัดซื้อระบบรีดนมอัตโนมัติแบบหมุนระบบแรกในประเทศไทย  โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของข้อตกลงที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในเชิงเทคโนโลยีการเกษตรระหว่างนิวซีแลนด์และไทย

ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในระดับโลก นายแกรนท์ วิสนิวสกี้ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและปฏิบัติการของไวกาโต้ มิลค์กิ้ง ซิสเตมส์ (Waikato Milking Systems) จากนิวซีแลนด์ เปิดเผย

โดยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรของนิวซีแลนด์ สามารถที่จะมาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมนมของไทย ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยระบบอัตโนมัติ ความเชี่ยวชาญการจัดการฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ หลักปฏิบัติด้านสวัสดิภาพสัตว์ และการเสริมสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมหลังการติดตั้งระบบเครื่องรีดนมอัตโนมัติแบบหมุน ระบบแรกในประเทศไทย

“โรงรีดนมแบบหมุนจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ทันสมัยให้กับฟาร์มโคนมของพญาเย็น แดรี่ พร้อมทั้งเพิ่มสุขอนามัยและสวัสดิภาพของทั้งพนักงานและโคนมในฟาร์ม โดยเทคโนโลยีระบบรีดนมแบบหมุนจะเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของพนักงาน และให้สภาวะที่ดีต่อโคนมขณะรีดนม

ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสงบและเรียบร้อยมากขึ้น นอกจากจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของโคนมในฟาร์มแล้วยังส่งผลให้คุณภาพและปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย”

ระบบการรีดนมแบบหมุนจากบริษัท ไวกาโต้ มิลค์กิ้ง ซิสเตมท์ ที่จะติดตั้งที่ฟาร์มแห่งใหม่ ปฏิบัติการด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดการใช้แรงงาน อีกทั้งยังสามารถให้ข้อมูลการรีดนมของโคนมแต่ละตัว

WM
ภาพจาก pixabay

ทำให้ทางฟาร์มสามารถวางแผนการจัดการโคนมในฟาร์มระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฟาร์มโคนมแห่งใหม่ของพญาเย็น แดรี่ วางแผนที่จะเป็นฟาร์มที่มีจำนวนโคนม 1,000 ตัวในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งนับเป็นฟาร์มโคนมขนาดใหญ่

โดยขนาดฟาร์มโคนมเฉลี่ยในประเทศไทยมีจำนวนวัวต่อฟาร์มอยู่ที่ประมาณ 50 ตัว นายอานนท์ จุมพลอานันท์ กรรมการผู้จัดการของ พญาเย็น แดรี่ กล่าวว่า

ขณะที่นายไรอัน เฟรียร์ ทูตพาณิชย์นิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งสองประเทศมีการขยายความร่วมมือกันในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นของทั้งสองประเทศ

ฟาร์มโคนมของไทยยังมีโอกาสรับประโยชน์จากความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมชั้นนำระดับโลกของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งอุตสาหกรรมโคนมเป็นอุตสาหกรรมหลักและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมทั้งโอกาสในการขยายปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำนมโค ควบคู่กับไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าและบริการด้านเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงจากนิวซีแลนด์คิดเป็นมูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นเสริมสร้างพันธมิตรด้านการเกษตรระหว่างประเทศทั้งสองให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยอุตสาหกรรมฟาร์มโคนมป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ราว 23,700 ล้านบาทให้กับเศรษฐกิจไทย เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยและนิวซีแลนด์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ