ทิศทางเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่ำกว่าคาดแบงก์ชาติรายงานอาการหนัก

WM

ภาพจาก pixabay

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 ชะลอต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพ เศรษฐกิจและมีแนวโน้มจะชะลอตัวต่ออีกปี

ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2562 นักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ 4% อยู่ในช่วงระดับศักยภาพ แต่ผลกระทบภาวะกีดกันทางการค้าสหรัฐ-จีน ทำให้ส่งออกหดตัวขยายตัวต่ำกว่าระดับศักยภาพ เศรษฐกิจปี 2563 คาว่าจะขยายตัวดีขึ้น แต่ไม่ทันข้ามเดือนแรกก็เกิดภาวะระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ การจ้างงานของภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว แบงก์ชาติเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า

จากเดิมที่คาดว่าจะเป็นการออกวิ่งเหยาะๆ กลายเป็นแค่เดินประคองตัว เนื่องจากผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรน่่าหรือโควิด-19 (COVID-19) ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าที่คาด และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ล่าช้า

การส่งออกสินค้าของไทยคาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายด้านคือ

(1) ความขัดแย้งทางการค้าสหรัฐ-จีนมีทิศทางดีขึ้น หลังบรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรก

(2) วัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ทยอยฟื้นตัว ส่วนหนึ่งมากจากการเริ่มใช้งานระบบ 5G แต่การระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจส่งผลกระทบต่อระยะเวลาและความเร็วในการฟื้นตัวได้

การส่งออกบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวแม้จะมีขนาดเล็กในระบบเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับภาคส่งออก แต่หลายปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจ หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เหนือความคาดหมาย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งมีสัดส่วนการจ้างงานอยู่ที่ 23.5%

WM
ภาพจาก pixabay

แม้การจ้างงานและรายได้ครัวเรือนจะได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลง แต่การบริโภคโดยรวมขยายตัวได้ดี แต่ปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามปัจจัยพื้นฐานด้านรายได้ รายได้เกษตรกรคาดว่าจะลดลงจากปีก่อน ปัญหาภัยแล้งทำให้ผลผลิตหดตัว รายได้นอกภาคเกษตรคาดว่าจะชะลอตัว โดยเฉพาะรายได้ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด-19

การส่งออกปรับตัวดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลากว่าจะนำมาสู่การจ้างงาน การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ภาคธุรกิจนำระบบอัตโนมัติเข้ามาทดแทนแรงงานมากขึ้น ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานเติบโตน้อยลง แรงงานบางส่วนจึงอาศัยการก่อหนี้เพื่อการบริโภคมากขึ้นจนกลายเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

ปี 2563 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายตามแรงดันด้านอุปสงค์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำรวมถึงอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มลดลงตามความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงจากการระบาดของโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับขึ้นเล็กน้อยจากค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดเพิ่มขึ้นจากผลกระทบปัญหาภัยแล้งทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าคาด

  • การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบมากกว่าที่ประเมินไว้
  • การค้าการลงทุนในระดับโลก ความขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ มีความไม่แน่นอน
  • การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง
  • ตลาดแรงงาน รายได้ครัวเรือน ใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าอดีต

ปี 2562 เศรษฐกิจชะลอตัวจากภาคส่งออก ส่งผลให้จ้างงานลดลง นโยบายการเงินได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี เพื่อเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย

การประชุมช่วงต้นปี 2563 กนง. เห็นว่านโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มขึ้นช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น จึงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์ที่ 1.00% สำหรับการดำเนินนโยบายต่อไป ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของข้อมูล การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

สรุป เศรษฐกิจไทยปี 2563 ยังคงเป็นอีกปีที่เติบโตต่ำกว่าระดับศักยภาพทั้งปัจจัยชั่วคราวคือ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัญหาภัยแล้ง และ พ.ร.บ.งบประมาณล่าช้า

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน เช่น ความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออก ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือน ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ผูกโยงกัน การแก้ปัญหาไม่สามารถพึ่งพาการกระตุ้นผ่านมาตรการการคลังระยะสั้นได้ แต่ต้องผ่าตัดเศรษฐกิจไทยโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย