เตือนภัย!! ปัญหาของคุณแม่มือใหม่กับภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด

WM

อาการหงุดหงิด เศร้า เสียใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย คือ ภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามีสาระความรู้ดีมาฝากให้สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกน้องเสร็จแล้ว ให้พร้อมสำรับการเตรียมตัวเป็นแม่มือใหม่ มาให้อ่านในบทความนี้กับเรื่องเตือนภัย ปัญหาของคุณแม่มือใหม่กับภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด หลังจากคลอดบุตรประมาณ 6 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงภาวะหลังคลอดที่ร่างกายของคุณแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงและกำลังปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติอาจะให้คุณแม่เกิดอารมณ์แปรปรวน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ ซึ่งภาวะนี้จะมีอาการหงุดหงิด เศร้า เสียใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มีความกังวลเรื่องลูกระยะเวลาของอาการนี้อาจเกิดได้หลังจากหลังคลอดได้5 วันหลังคลอด พร้อมกับการไปอ่านสาระความรู้ดีๆ ในบทความนี้แล้วเราไปอ่านพร้อมกันเลยคะ

ซึมเศร้าหลังคลอด : ปัญหาสุขภาพจิตที่แม่มือใหม่บางคนไม่กล้าขอความช่วยเหลือจากแพทย์ การเป็นแม่คนอาจเป็นเรื่องที่สร้างความสุขให้แก่ลูกผู้หญิง แต่สำหรับแม่มือใหม่หลายคนกลับมีประสบการณ์ในทางตรงกันข้าม และต้องทนทุกข์กับปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@holliesantos

องค์การอนามัยโลก ระบุว่า 1 ใน 5 ของแม่ลูกอ่อนในประเทศกำลังพัฒนามีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลูก และผู้เชี่ยวชาญระบุว่าตัวเลขจริงอาจสูงกว่านี้ เพราะหลายคนไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์ เนื่องจากตราบาปทางสังคมที่คาดหวังว่า คนเป็นแม่จะต้องอิ่มเอมใจกับการมีลูก ในขณะที่ความเป็นจริงพวกเธอกลับมีความรู้สึกเศร้าใจ หดหู่ และบางคนเกิดความคิดอยากฆ่าตัวตาย หรือแม้แต่ฆ่าลูกน้อยของตัวเอง

บีบีซีได้พูดคุยกับคุณแม่ลูกอ่อน 3 คนจาก 3 ประเทศในแถบตะวันออกกลางถึงประสบการณ์โรคซึมเศร้าหลังคลอดของพวกเธอ

ซึมเศร้าหลังคลอดคืออะไร

ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อารมณ์ของแม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด(postpartum blues หรือ baby blues)

เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

  1. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป บางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูก

ระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้

  1. โรคจิตหลังคลอด(postpartum psychosis)

มักเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก

คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@zlucerophoto

อาการอย่างไรถือเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด

ในบทความของไทยรัฐที่อ้างอิง พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ได้แนะนำข้อสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ว่ามีดังต่อไปนี้

  1. ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้
  2. ความรู้สึกสนุก สนใจทำกิจวัตรประจำวันที่เคยชอบลดลง หรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลลูก
  3. เบื่ออาหาร หรืออยากกินอาหารตลอดเวลา
  4. ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา
  5. การนอนเปลี่ยนแปลง อาจง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา หรือนอนไม่หลับ
  6. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เป็นแม่ที่ไม่มีความสามารถ
  7. ไม่มีสมาธิ ความคิด อ่าน จดจ่อในสิ่งที่ทำลดลง
  8. เคลื่อนไหวช้าลง หรืออยู่ไม่สุข
  9. มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

พญ.สุธีรา ระบุว่าเกณฑ์บ่งชี้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ โดยต้องมีข้อ 1 และข้อ 2 ร่วมด้วย ซึ่งอาการทั้ง 9 จะเกิดต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา และเป็นทุกวันไม่มีทางหายเอง หรือเป็น ๆ หาย ๆ และต้องมีอาการขึ้นมาเองจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ไม่ใช่จากผลข้างเคียงของการใช้ยา การวินิจฉัยต้องการระยะเวลาที่เป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์

สาเหตุ

เว็บไซต์พบแพทย์ระบุว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากขึ้นหากมีปัจจัยเสี่ยงเช่น

  • มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เคยมีภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมาก่อนหน้านี้
  • สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
  • มีปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว เป็นต้น
  • ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ต้องมีการดูแล หรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ
  • แม่มีปัญหาในการให้นมบุตร
  • ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน
  • ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@bethanybeck

การรักษา

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และไม่ใช่ความรู้สึกอ่อนแอเท่านั้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมา และซื่อตรงกับตัวเอง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม โดยในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยควรดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา เป็นต้น

การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า คือ

  1. การทำจิตบำบัด เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วย
  2. การใช้ยาต้านซึมเศร้า โดยยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าอาจปนเปื้อนในน้ำนมได้ แต่ก็มียาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงกับทารกได้น้อย โดยผู้ป่วยและแพทย์จะต้องปรึกษากันถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการรักษาด้วยยาต้านเศร้าแต่ละชนิด

เป็นอย่างไรบ้างคะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับเรื่องราวสาระความรู้ดีๆ จากบทความ เตรียมพร้อมกับการเป็นคุณแม่ จากบทความเรื่องเตือนภัย ปัญหาของคุณแม่มือใหม่กับภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด DooDiDo หวังว่าคุณแม่มือที่คลอดลูกน้อยเสร็จคงจะไปรับสาระความดีๆกลับไปมากก็น้อยจากบทความในครั้งนี้นะคะ นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยด้วยแล้ว ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงให้มาก พร้อมปรับโลเคชัน ตำแหน่งการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเสียใหม่ เพื่อให้คุณแม่มือใหม่ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกปลอดภัยมากขึ้น และลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในบ้านนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.bbc.com