คู่มือสำหรับคุณแม่มือใหม่ ในการเตรียมตัวตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์?

WM

หากเวลาที่คุณผู้หญิงรู้ว่าตั้งครรภ์ ยิ่งต้องดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพของตัวเองให้มาก

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามีสาระความรู้ดีมาฝากให้สำหรับคุณแม่และเด็ก ให้พร้อมสำรับการเตรียมตัวเป็นแม่คน มาให้อ่านในบทความนี้กับเรื่อง คู่มือคุณแม่มือใหม่ การการเตรียมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การเป็นแม่คนถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้หญิงทุกคน นอกจากที่เราตั้งครรภ์เป็นระยะเวลา 9 เดือน ที่เราต้องยิ่งดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพของตัวเองให้มาก นอกจากการตัวคุณแม่เองไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวอีกต่อ ในร่ายกายของคุณแม่ยังมีลูกน้อยอยู่ในท้องอีกหนึ่งชีวิตที่แสนวิเศษ เราต้องใจใจเรื่องอาการการกิน

ในช่วงที่เริ่มตั้งครรภ์ 1-2 เดือนแรกเราอาจจะยังไม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์แต่หลังจากนั้นจะเริ่มรู้ตัวว่าตัวเองกำลังอยู่ในสภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งในช่วง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็นระยะที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย จำเป็นต้องใช้สารอาหารที่ครบถ้วน คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวัน พร้อมกันแล้วใช่มั้ยคะ เราไปดูสาระความในบทความนี้กันเลยคะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@freestocks

คำว่า “แม่” จากวิกิพีเดีย
แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิดและโดยทั่วไปคือ แม่ท่ีเป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะ เป็นผู้ให้กำเนิด แม่มีหน้าที่ในครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้าน นอกจากนั้นแม่หรือว่าผูหญิงที่แต่งงานแล้วให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่าแม่โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษามักจะใช้อักษร “ม” เหมือนกันหมด เช่น

  • คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า แม่
  • ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า มาเธอร์ (Mother) หรือ มัม (Mom)
  • ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กาเนิดว่า มารดา
  • ภาษาเยอรมัน จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า มุสเธอร์ (Mutter) หรือ มาม้า (Mama)
  • ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า มาตา
    สรุปแล้ว แม่ ก็คือผู้หญิงที่ให้กำเนิดเราขึ้นมา เพื่อใช้ชีวิตบนโลกใบนี้….

แม่ก็คือแม่
เชื่อว่าความรู้สึกแรกของแม่ทุกคนคือ “ดีใจ” ที่กำลังจะสวมบทบาทใหม่ในการเป็นแม่ พร้อมทั้งจินตนาการไปต่างๆ นานา ว่าลูกเราจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย จะหน้าตาออกมาเหมือนเราหรือเหมือนพ่อเขา แถมเริ่มปรึกษากับพ่อเรื่องการตั้งชื่อไว้แล้วก็มี สเต็ปสองหลังจากผ่านการตื่นเต้น ดีใจไปแล้ว แนะนำให้คุณแม่ตั้งสติแล้วมาวางแผนกันต่อว่า ระหว่าง 9 เดือนต่อจากนี้ เราจะทำอย่าไรให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม
1. พักผ่อนเพียงพอ ระหว่างการตั้งครรภ์ การนอนหลับพักผ่อน อย่างเพียงพอเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะการนอนที่ดีจะทำให้ลูกในครรภ์เจริญเติบโตของร่างกายและสมองลูกมีพัฒนาการที่ดี
2. ลดความเครียด นับตั้งแต่วินาทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องกำจัดความเครียดออกไปให้หมด เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณแม่มีความเครียดมันจะส่งผลไปถึงลูกน้อยในครรภ์ด้วย
3. หาคู่มือการตั้งครรภ์มาอ่าน เพื่อดูว่าแต่ละไตรมาสควรเตรียมตัวอย่างไร

เช็คอินช่วงเวลาแห่งความสุข
จำไว้เลยว่า ลูกรับรู้ได้ทุกความสุขของแม่ เพราะฉะนั้นถ้าหากแม่มีความสุขมากเท่าใด ลูกก็จะมีความสุขมากเท่านั้น

เทศกาลดนตรี
เข้าเฟสบุ๊คมองหาเทศกาลดนตรีชิว ที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้วปักหมุดชวนคุณพ่อให้พาไปสักที่ แนะนำให้เป็นเฟสติวัลที่จัดตามป่า ตามเขา บรรยากาศดี รับลมสบายๆ เพราะนอกจากคุณแม่จะได้ฟังดนตรีอย่างเพลิดเพลินแล้ว ยังถือเป็นการพักผ่อน สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าปอดไปในตัวด้วย คุณแม่ได้ ลูกก็ได้

โยคะ
การเล่นโยคะระหว่างตั้งครรภ์ยังถือเป็นการออกกำลังกายด้วย อีกทั้งยังส่งผลในการคลอด ช่วยให้แม่คลอดง่ายได้ด้วย

Workshop
มองหากิจกรรมเวิร์คช้อปจำพวก ปักผ้า ซึ่งนอกจากคุณแม่จะได้ฝึกฝีมือ ฝึกสมาธิแล้ว คุณแม่จะได้สร้างสรรค์ผลงาน ผ้าอ้อมสุดแสนน่ารักให้กับคุณลูกด้วยตัวเอง ปักผ้าอ้อมวนไปค่ะ สัก 30 ผืน!!!!

ทำอาหาร
ช่วงเวลาตั้งครรภ์อาจจะเป็นเวลาดีๆที่คุณแม่จะได้ฝึกการทำอาหารสำหรับคุณแม่ ที่ไม่เคยทำอาหารสำเร็จมาก่อนา เริ่มจากทำอาหารเบาๆ เช่น สลัดผัก สลัดไก่ สลัดไข่ หรือหัดทำขนม ไม่แน่ในวันที่ลูกเริ่มโตอาจจะสัก 2-3 ขวบ คุณอาจจะได้โชว์ฝีมือการทำขนมหวานนี้ให้ลูกได้กิน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ritae-19628/

Super Healthy Food

โปรตีน
เป็นสารอาหารที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับลูกน้อย ในการก่อร่างสร้างเลือดเนื้อให้เป็นตัวเป็นตน เพราะโปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งจะประกอบกันเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะภายใน ให้ร่างกายเจริญเติบโต ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุก ชนิด นม ไข่ ถั่วหลากชนิด ธัญพืช เต้าหู้ ตับ

คาร์โบไฮเดรต
หรืออาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 500 แคลอรี่ ซึ่งก็มาจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ โดยปกติแล้วเราจะไม่ทานอาหารประเภทนี้มากนัก ยิ่งคนไม่ออกกำลังกาย ยิ่งตอนตั้งครรภ์ยิ่งต้องระวัง เพราะในช่วงนี้ร่างกายจะเผาผลาญแป้งและน้าตาลได้น้อยลง ระบบการย่อยอาหารไม่เป็นปกติอาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อได้ง่าย เพราะฉะนั้นกินแต่พอสมควร ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เผือก มัน ถั่ว งา ก๋วยเตี๋ยว ขนมปังธัญพืช ขนมหวาน

ไขมัน
ควรเป็นไขมันที่ได้จากปลาทะเล สาหร่ายทะเล และน้ำมัน สกัดจากผลิตภัณฑ์ทางทะเลจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า 3 และ DHA สูงเพราะมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองและจอประสาทตาของลูกน้อย

แคลเซี่ยม
จะช่วยในการสร้างการเจริญเติบโต โดยเฉพาะกระดูกและฟันของลูกน้อย ซึ่งจะได้มาจาก นมเนยเป็นส่วนใหญ่ กุ้งแห้ง ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว งาดำ และปลาเล็กปลาน้อย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/kaboompics-1013994/

ธาตุเหล็ก
เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน เป็นตัวช่วยไม่ให้เกิดเลือดจางทำให้เม็ดเลือดแดงมีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งไปสู่ลูกผ่านรกด้วย ส่วนอาหารท่ีให้ธาตุเหล็กนั้น ได้แก่ อาหารจำพวกตับ ไข่แดง ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ตาลึง ใบชะพลู ขี้เหล็ก หัวปลี ถั่วเหลือง ถั่วเขียว งาขาว น้ำตาล มะพร้าว อาหารประเภทเนื้อทุกชนิด เช่น เนื้อปลา เนื้อแดง

เป็นอย่างไรบ้างคะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับเรื่องราวสาระความรู้ดีๆ จากบทความ เตรียมพร้อมกับการเป็นคุณแม่ จากบทความเรื่อง คู่มือคุณแม่มือใหม่ การการเตรียมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ DooDiDo หวังว่าคุณแม่มือใหม่คงจะไปรับสาระความดีๆกลับไปมากก็น้อยจากบทความในครั้งนี้นะคะ นอกจากนี้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ นิโคตินในบุหรี่ และคาเฟอีนใน ชา กาแฟ ซึ่งสารต่างๆ ในกลุ่มนี้อาจทำให้ทารกในครรภ์เติบโตช้า อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองทารกผิดปกติได้นะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.momster.in.th