เกษตรหนุนผู้ประกอบภาคเอกชนการทำงานวิจัยเชิงพาณิชย์

WM

ภาพจาก pixabay

เกษตร ผสานความร่วมมือ 4 ผู้ประกอบการภาคเอกชน ทำงานวิจัยเชิงพาณิชย์

เกษตร ผสานความร่วมมือ 4 ผู้ประกอบการภาคเอกชน ร่วมลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สำหรับข้าวโพดและข้าวฟ่าง” “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สำหรับข้าว” และ “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สำหรับอ้อยและมันสำปะหลัง”

โดยเน้นการถ่ายทอดข้อมูลองค์ความรู้ งานวิจัยด้านการเกษตร มุ่งพัฒนาขยายผลงานวิจัยปรับใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับการผลิต ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีราคาถูก และยังเป็นประโยชน์ในการช่วยยกระดับภาคการเกษตรและเศรษฐกิจของไทย พร้อมสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตรก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายที่ชัดเจนให้ทุกหน่วยงานในสังกัด นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลงานวิจัยทางการเกษตรมาปรับใช้แก้ปัญหาการผลิตภาคการเกษตร ทั้งในด้านการพัฒนาเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรให้แก่เกษตรกร

โดยการพัฒนาต่อยอดขยายผลงานวิจัยถ่ายทอดสู่เกษตรกร เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปปรับใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง” นางสาวอิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า

ทั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จที่กรมวิชาการเกษตรและผู้ประกอบการภาคเอกชนได้บูรณาการความร่วมมือกันในการส่งเสริม สนับสนุน และถ่ายทอดข้อมูลองค์ความรู้งานวิจัยด้านการเกษตร สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์สำหรับพืช

พร้อมผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยมาถ่ายทอดขยายผลสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ในวงกว้างอย่างแท้จริง อันจะนำมาซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีราคาถูก และยังช่วยยกระดับภาคการเกษตรและเศรษฐกิจของไทย ให้สามารถขับเคลื่อนภาคการเกษตรเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการวางรากฐานการพัฒนาประเทศที่นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

WM
ภาพจาก pixabay

นางสาวอิงอร ยังกล่าว เพิ่มเติมว่า “กรมวิชาการเกษตรมีภารกิจหลักในการวิจัยพัฒนาด้านพืชและเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งมีผลงานวิจัยมากมายที่เป็นองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชทางการเกษตร และได้มีการขับเคลื่อนผลงานวิจัยปรับใช้ประโยชน์สู่เกษตรกรตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยบูรณาการผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นต้น รวมถึงได้ผสานความร่วมมือขยายผลปรับใช้ประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคการเกษตรและเศรษฐกิจของไทยมาอย่างต่อเนื่อง”

โดยกรมวิชาการเกษตรมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีผลงานวิจัยสู่ภาคเอกชน อาทิ “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สำหรับข้าวโพดและข้าวฟ่าง” “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สำหรับข้าว” และ “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สำหรับอ้อยและมันสำปะหลัง”

โดยนวัตกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการภาคเอกชน 4 บริษัท คือ บริษัท คริสตอลลา จำกัด บริษัท อะโกรไบโอเมท จำกัด บริษัท ไบโอฟิล เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท อินโนฟาร์ม ไบโอเทค จำกัด มารองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำไปขยายผลดำเนินการผลิตต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างได้อย่างแท้จริง

ส่งผลให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนที่เป็นรูปธรรม เกิดการพัฒนาผลิตพืชภาคการเกษตรที่ได้มาตรฐาน และกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น พร้อมยกระดับสินค้าเกษตรของไทยสู่มาตรฐานสากล

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : อปท.นิวส์