บ้านอ่างเตย เมืองแปดริ้ว แหล่งผลิตเส้นไหมมาตรฐานขายปีละ 2 ล้าน

WM

ภาพจาก กรมหม่อนไหม

กรมหม่อนไหม สร้างความมั่นคงในอาชีพให้เกษตรกร ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร

การส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตในอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราและโครงการสร้างทายาทหม่อนไหมในชุมชน  โดยเฉพาะด้านการยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความกินดี อยู่ดี อย่างยั่งยืน อีกทั้งเพื่อพัฒนาเกษตรกรให้สามารถไปสู่การเป็น Smart Farmer นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าว

สาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาจนก้าวขึ้นมาสู่การเป็น Smart Farmer ที่สามารถเป็นต้นแบบให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกได้เป็นอย่างดี

ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้และอาชีพจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และมีการพัฒนาจนสามารถสร้างตลาดรองรับได้อย่างดี ภายใต้ แบรนด์ “โส๊ดละออ” ที่แปลว่า ผ้าไหมผืนสวย

นอกจากนี้ ยังมีหนึ่งความสำเร็จตามโครงการสร้างทายาทหม่อนไหมในชุมชนที่กรมหม่อนไหมได้ดำเนิน จนสามารถพัฒนาเยาวชนที่เป็นลูกหลานเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของบ้านอ่างเตย อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ในการสืบต่อ และต่อยอดอาชีพ อย่างนายสุรพงษ์  กระแสโสม อายุ 22 ปี ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2560 รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวเสริม

โครงการสร้างทายาทหม่อนไหม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมอาชีพด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม ฟอกย้อมสีเส้นไหม การทอผ้าและการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหมให้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียน และทายาทเกษตรกรในชุมชนรวมถึงการสร้างรายได้ระหว่างเรียน มีอาชีพที่มั่นคงหลังจากจบการศึกษา

หรือไม่มีโอกาสศึกษาต่อ สามารถสร้างอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้ กรมหม่อนได้กำหนดดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การส่งเสริมอาชีพทายาทหม่อนไหมในโรงเรียน จำนวน 28 โรงเรียน นักเรียน 480 ราย

การส่งเสริมอาชีพด้านหม่อนไหมในชุมชน นำร่อง 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 120 ราย และสุดท้ายการส่งเสริมกิจกรรมด้านหม่อนไหมในพื้นที่โรงเรียนและชุมชน เป้าหมาย 8 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 175 ราย และ 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 175 ราย

เช่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าถุง ผ้ามัดหมี่ ผ้าพื้น และเส้นไหมดิบ จำหน่ายภายใต้ แบรนด์ “โส๊ดละออ” ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน ถึงเดือนละ 150,000 – 200,000 บาท หรือประมาณปีละ 1.5–2 ล้านบาท

WM
ภาพจาก กรมหม่อนไหม

“ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย นับเป็นหนึ่งในต้นแบบความสำเร็จ ภายใต้การส่งเสริมและพัฒนาโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการต่าง ๆ

อาทิ โครงการผลิตและกระจายพันธุ์หม่อนไหมและวัสดุย้อมสี โครงการตรวจสอบรับรองมาตรฐานหม่อนไหมและผลิตภัณฑ์   โครงการส่งเสริมการผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ตามข้อบังคับกรมหม่อนไหม โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)  ด้านหม่อนไหม   และโครงการสร้างทายาทหม่อนไหมในชุมชน ”

ผ้าไหมของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย  ถือว่าได้มาตรฐานตามข้อบังคับของกรมหม่อนไหม ไม่ว่าจะในเรื่องของการผลิตเส้นไหม ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่า ได้คุณภาพตามมาตรฐาน มกษ.5900-2559 และมาตรฐาน มกษ.8000-2555

โดยแต่ละปีทางวิสาหกิจฯ ผลิตเส้นไหมที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มกษ. ประมาณ 400-600 เมตร นอกจากนี้ยังสามารถผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานซึ่งประกอบด้วย  นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk) นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk) และ นกยูงสีเขียว (Thai Silk Blend)  ปีละ 400 – 500 เมตร

“ พร้อมกันนี้ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สระบุรี ยังได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ เครือข่าย ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตรในพื้นที่ และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร

จากเกษตรกรที่ประสบ ความสำเร็จ ด้านหม่อนไหมในพื้นที่บ้านอ่างเตย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ แก่เกษตรกรและผู้สนใจ โดยมีนางวรนุช วงคง เป็นประธานศูนย์ฯ ด้วย” ผอ.ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สระบุรี กล่าว

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : เกษตรก้าวไกล