วิธีการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ ตั้งแรกเดือนแรกจนถึงวันใกล้คลอด

WM

สาระความรู้ให้คุณแม่เตรียมพร้อมก่อนเจ้าเบ๋บี๋จะออกมาลืมตาดูโลก

สวัสดีค่ะ คุณแม่มือใหม่ทุกคนท่าน วันนี้เราได้กลับมาเจอกัน แน่นอนว่าเราต้องกลับมาพร้อมกับสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ แม่และเด็ก มาฝากให้ได้รู้กันเหมือนเช่นเคยนะคะ ไหนที่ที่กำลังรู้ตัวว่ากำลังเป็นคุณแม่บ้างเอ้ย ขอเสียงหน่อยเร็ววว เราขอแสดงความยินดีด้วยนะคะกับคุณแม่มือใหม่ทุกคน ไม่ต้องกลัวหรือเป็นกังวลไปน้า ในบทความนี้เราได้คัดสรรสาระความรู้มาให้คุณแม่เตรียมพร้อมก่อนเจ้าเบ๋บี๋จะออกมาลืมตาดูโลก วันนี้เราเรื่องราวสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ แม่และเด็ก กับ วิธีการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ ตั้งแรกเดือนแรก จนถึงวันใกล้คลอด เชื่อตอนนี้คุณแม่ทุกคน คงพร้อมที่จะไปรู้วิธีป้องลูกน้อยให้ปลอดภัย หากพร้อมกันแล้วเราไปอ่านสาระความรู้ที่ใบบทความครั้งนี้กันเลยค่า

การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน) ซึ่งในแต่ละไตรมาสก็จะมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกัน การนับอายุครรภ์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยแบ่งการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้เป็นการเจริญเติบโตทางโครงสร้าง และพัฒนาการเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย

ในระหว่างการตั้งครรภ์สิ่งที่สำคัญที่คุณแม่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรกๆ คือ การดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และสภาพจิตใจที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะส่งผลไปยังทารกในครรภ์ให้สุขภาพดีและแข็งแรง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@minimalmomtog

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1-3 เดือน)
ในช่วงไตรมาสแรก 3 เดือนแรก คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมากๆ เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1-3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะรับประทานอาหารไม่ได้ ทำให้ทารกในครรภ์อาจจะไม่ได้รับสารอาหารบำรุงสมองอย่างเพียงพอคุณแม่จะเกิดภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่และวิตามิน

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกในช่วงไตรมาสแรก

  • อายุครรภ์ เดือนที่ 1
    จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน แน่นและอืดท้อง คัดเต้านม อารมณ์จะผันผวนเหมือนก่อนมีประจำเดือน บางท่านอาจจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อยเนื่องจากตัวอ่อนฝังตัวอาการต่างๆ
  • อายุครรภ์ เดือนที่ 2
    เป็นระยะสำคัญที่สุดเนื่องจาก จะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้นไม่ว่าการติดเชื้อไวรัส ยาที่รับประทาน หรือสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต หากเด็กได้รับช่วงนี้ จะเกิดความพิการได้ เริ่มมีการสร้าง แขน ขา ตา ในช่วงสัปดาห์ที่ 7-8 จะเริ่มสร้างนิ้วมือ อาจจะได้ยินเสียงหัวใจเด็กเมื่อตรวจด้วย Ultrasound
  • อายุครรภ์ เดือนที่ 3
    ทารกวัยนี้จะมีอวัยวะครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขา ศีรษะ อ้าปากและหุบปากได้ นิ้วเริ่มมีเล็บ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเด็กยังมีขนาดเล็ก แขนและมือจะมียาวกว่าขา ศีรษะเด็กจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัวหัวใจจะมี 4 ห้อง หัวใจจะเต้น 120-160 ครั้ง ไตเริ่มขับของเสียสู่กระเพาะปัสสาวะ และถูกนำออกโดยสายสะดือ เด็กในระยะนี้จะมีความยาว 4 นิ้ว
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@freestocks

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)
ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3-4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดี แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกไตรมาส 2

  • อายุครรภ์ เดือนที่ 4
    ทารกช่วงนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะทำงานได้เต็มที่ เด็กเริ่มมีลายนิ้วมือ กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมากขึ้น ตับจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดีเริ่มสร้างน้ำดี ฟันน้ำนมเริ่มโตใต้เหงือก ผม ขนคิ้ว ขนตายาวขึ้น เด็กจะมีการตื่นและนอนเป็นเวลา คุณแม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เด็กดูดนิ้วมือเป็น เด็กระยะนี้จะยาว 10-12 นิ้วหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม
  • อายุครรภ์ เดือนที่ 5
    การตั้งครรภ์เดือนที่ 5 นั้นเมื่อคุณแม่ไปพบแพทย์จะตรวจเหมือนกับเดือนที่ 4 อย่าลืมจดปัญหาเพื่อไปปรึกษากับแพทย์ อาการของผู้ป่วยจะคล้ายกับเดือนที่ 4 แต่จะมีอาการมากขึ้น เช่นการเคลื่อนไหวของเด็กเพิ่มขึ้น ตกขาวเพิ่มขึ้น ปวดท้องน้อยเนื่องจากเอ็นที่ท้องตึงขึ้น ท้องผูก ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร ปวดหลัง ผิวจะมีสีคล้ำขึ้น

อายุครรภ์ เดือนที่ 6
เมื่อไปตรวจตามนัดแพทย์จะตรวจเช่นเดียวกับเดือนที่ 4 อาการต่างๆที่เกิดจะเหมือนกับเดือนที่ 5 แต่จะเคลื่อนไหวมากขึ้นแข็งแรงมากขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@minimalmomtog

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มาก หายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้องไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น

การเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกไตรมาส 3

  • อายุครรภ์ เดือนที่ 7
    คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น เพราะมดลูกที่โตจะมาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้นๆเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่ทารกในครรภ์จะตื่น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที
  • อายุครรภ์ เดือนที่ 8
    เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 8 ทารกยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วกระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ เด็กช่วงนี้จะยาว 16-18 นิ้วหนักประมาณ 2 กิโลกรัม
  • อายุครรภ์ เดือนที่ 9
    การตั้งครรภ์เดือนที่ 9 สมองทารกจะเจริญเติบโตเร็วมากค่ะ ตัวเด็กจะเจริญอย่างรวดเร็วพร้อมที่จะคลอด ทารกมีการกลับลงพร้อมคลอด ภูมิคุ้มกันจากแม่จะเข้าสู่ลูก เด็กจะเคลื่อนไหวมากขึ้น ปอดแข็งแรงมาก เด็กจะยาวประมาณ 20 นิ้ว หนัก 2.5-4 กิโลกรัมช่วงอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์เด็กสามารถคลอดได้ตลอดเวลา ระยะนี้คุณแม่ จะรู้สึกอึดอัดเพราะเด็กตัวโต และดันกระเพาะและกำบังลมทำให้แน่นท้องหายใจตื้นและเร็วอาจมีอาการจุกเสียดหน้าอก และท้องผูก

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับสาระความรู้ดีๆ ที่เราได้นำมาฝากให้ได้อ่านในบทความนี้ เกี่ยวกับ แม่และเด็ก หวังว่าคุณแม่จะได้รับสาระที่เราได้นำมาฝากในบทความนี้ กับ “ วิธีการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ ตั้งแรกเดือนแรก จนถึงวันใกล้คลอด” DooDiDo หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะคะ นอกจากนี้หากคุณแม่สำหรับคุณแม่มือใหม่ อาจยังไม่ทราบ แต่ควรระวังเลือกการทานอาหารให้มากๆ ควรทานอาหารให้ครบถ้วน 5 หมู่และในไตรมาสที่2 สามารถออกกำลังกายได้ คุณแม่ควรอกกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.bpksamutprakan.com