รู้ทัน!! คุณแม่มือใหม่อาจไม่รู้ ตื่นตัวกับภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์

WM

ความเครียดของคุณแม่ตั้งครรภ์..สามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกได้นะ!

สวัสดีค่ะกลับมาพบกับพวกเราอีกเช่นเคยนะคะ วันนี้พวกเราได้นำเอาข้อมูลข่าวสารและสิ่งน่ารู้สำหรับคุณแม่มือใหม่มาฝากนะคะ อย่างทีที่ทราบกันดีว่าการตั้งครรภ์เราจะต้องระมัดระวังเรื่องของอารมณ์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอารมร์หรือภาวะเครียดระหว่างตั้งครรภ์ ปัญหานี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ทั้งหลายท่านควรจะตื่นตัวมากๆนะคะ เพราะว่าอาการเครียดระหว่างตั้งครรภ์มีผลอย่างรุนแรงสำหรับร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์  แต่อย่างไรก็ตาม  เราจึงพร้อมที่จะมาให้ความรู้ทั้งบอกเล่าถึงสาเหตุหลักที่ทำให้คุณแม่มีอาการเครียด  เข้าใจและก็เรียนรู้ที่จะยอมรับ  ซึ่งจะเป็นวิธีทำให้คุณแม่ได้ทราบสาเหตุและพร้อมที่จะหาวิธีการลดความเครียด  ถ้าพร้อมกันแล้วก็มาอ่านสิ่งที่น่าสนใจในบทความนี้กันค่ะ

ไม่ว่าคุณแม่คนไหนก็ไม่อยากเครียด แต่หากหลีกเลี่ยงสารพัดความกังวลไม่ได้ คุณแม่ทุกคนต้องรีบทำความเข้าใจ เรียนรู้ และยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง หากิจกรรมคลายเครียดให้กับตัวเอง ที่สำคัญคือคนรอบข้าง ทั้งสามี ครอบครัว และเพื่อน ถือเป็นกำลังใจที่สำคัญ เพราะยิ่งคุณแม่คิดบวกมากเท่าไหร่…ก็ยิ่งดีต่อทารกในครรภ์มากเท่านั้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@omurden

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์…มักเกิดความเครียด

ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่มักมีความกังวลระหว่างตั้งครรภ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทั้งในเรื่องของน้ำหนัก ความเป็นอยู่ การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน อาการคลื่นไส้ อาเจียน กินข้าวไม่ได้ และการดูแลตัวเองอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ ส่วนความกังวลหลังคลอด มักจะเป็นความกังวลที่ว่าจะสามารถดูแลลูกได้ดีหรือไม่

โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเครียด คือ

  1. เป็นผลจากฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่ความเครียดและความอ่อนไหวทางอารมณ์เพิ่มขึ้น
  2. ความกังวลของคุณแม่ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด

รู้ไหม? ความเครียดส่งต่อจากแม่สู่ลูก(ในครรภ์)ได้

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน 2 ชนิด คือฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน โดยผลกระทบที่เกิดจากความเครียดนั้น…แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือมารดาและทารกในครรภ์ ดังนี้…

  • ฝั่งมารดา – เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการเครียดจะทานอาหารไม่ได้ หรือทานได้มากกว่าปกติ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำลง จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีน ทำให้หลอดเลือดตีบ ความดันสูง และหัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • ฝั่งทารก – เริ่มแรก ถ้าคุณแม่เครียดมากๆ อาจทำให้แท้งได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ หรือทำให้อาหารไปเลี้ยงลูกไม่พอ การเจริญเติบโตของเด็กจึงช้าและมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด เมื่อคลอดแล้วยังส่งผลให้เด็กเลี้ยงยาก ขี้งอแง อ่อนไหวง่าย ขี้โมโห ไวต่อการกระตุ้น ในระยะยาวจะทำให้เด็กมีปัญหาด้านการปรับตัวทางสังคม อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดโรคหัวใจ ความดัน และเบาหวาน เป็นต้น
WM
ขอบคุณภาพจาก:
https://unsplash.com/@jonathanborba

เข้าใจ เรียนรู้ ยอมรับ คือ วิธีดีที่สุดสำหรับคุณแม่

ความเครียดของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก วิธีที่ง่ายที่สุด คือ เมื่อรู้ตัวว่าเครียด ต้องเริ่มทำความเข้าใจกับตัวเองว่าความเครียดเหล่านั้นเกิดขึ้นจากฮอร์โมนธรรมชาติและความกังวลของตัวเอง  คุณแม่ทุกคนจึงควรทำความเข้าใจ เรียนรู้ และยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรือหาวิธีรับมือไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เช่น หาวิธีผ่อนคลาย ทำกิจกรรมคลายเครียด ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่ชอบทำอยู่แล้ว หรือกิจกรรมใหม่ๆ ที่อยากลอง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำงานศิลปะ จัดดอกไว้ วาดรูป ออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ นั่งสมาธิ เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการไปกินข้าวนอกบ้าน หรือออกไปพบปะเพื่อนๆ

นอกจากนี้ คนรอบข้างก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความเครียดของคุณแม่ได้ โดยเฉพาะสามีและคนในครอบครัว ที่ควรทำความเข้าใจธรรมชาติของคุณแม่ตั้งครรภ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ รวมถึงมีความกังวลต่างๆ จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด ให้กำลังใจให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alice02

“คิดบวก” ช่วยลดความเครียดในคุณแม่

คุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนจะแสดงอาการเครียดแตกต่างกันไป คุณแม่บางคนที่ปรับตัวได้ เมื่อตั้งครรภ์แล้วจะมีอารมณ์ดี นึกถึงลูกในท้อง วางแผนการเลี้ยงลูกล่วงหน้า

อย่างไรก็ตามคุณแม่บางคนมีแนวโน้มที่จะมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Blues ส่วนมากเกิดขึ้นหลังคลอดลูกภายใน 1 เดือน มักเกิดในคุณแม่ท้องแรก หรือตั้งครรภ์ตอนอายุมาก จะมีอาการไวต่อการกระตุ้น อ่อนไหวง่าย มีความกังวลมาก ร่วมกับการพักผ่อนน้อย เพราะต้องเลี้ยงลูกเกือบ 24 ชั่วโมง ซึ่งวิธีบรรเทาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดขึ้นอยู่กับระดับความเครียดของคุณแม่ ถ้าไม่รุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำให้ใช้การพูดคุย ให้กำลังใจกันภายในครอบครัว แต่หากเป็นความเครียดสะสม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ

มาถึงในส่วนท้ายของบทความแล้วนะคะ เป็นอย่างไรบ้างกับบทความข้างต้น สำหรับคุณแม่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ได้ทราบถึงสาเหตุของภาวะเครียดแล้วหรือยังคะ พวกเรา DooDiDo หวังว่าหลังจากที่ทุกท่านได้อ่านบทความนี้จะได้นำเอาไปปรับใช้กับตัวเองนะคะ พวกเราอยากจะให้คุณแม่และทุกๆท่านได้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิด แนวางการใช้ชีวิต เราต้องเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายอารมณ์ และพร้อมที่จะให้ความใส่ใจเกี่ยวกับร่างกายคุณแม่เองและตัวของลูกน้อยในครรภ์ พวกเราขอให้คุณและลูกน้องของคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงทั้งคู่นะคะขอบคุณค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.phyathai.com