รู้ทันอาการเป็น”ตะคริว” ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ และวิธีการป้องกัน

WM

อาการเป็นตะคริวขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในช่วงที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ

เราเชื่อได้ว่าตอนนี้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่2 เข้าสู่ช่วง 4 เดือนที่รู้แล้วว่าเจ้าเบบี๋ในท้องเป็นเพศอะไรมีหน้าตาประมาณ จะเริ่มมีการอาการเจ็บปวดตามร่างกาย เริ่มปวดเมื่อยขนาดว่านั่งอยู่เฉยๆก็รู้สึกเจ็บไปหมดทั้งร่าง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเจ้าเบ๋บี๋กำลังอยู่ในช่วงที่เริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ววันนี้เราเรื่องราวสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ แม่และเด็กที่บ้านเชื่อตอนนี้คุณแม่ทุกคน คงพร้อมที่จะไปรู้วิธีป้องลูกน้อยให้ปลอดภัย หากพร้อมกันแล้วเราไปอ่านสาระความรู้ที่ใบบทความครั้งนี้กันเลยค่า

ตะคริวขณะตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในช่วงที่ตั้งครรภ์อ่อนๆ มักจะพบปัญหาการเป็นตะคริวได้อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเป็นตะคริวเล็กน้อยจนแทบจะไม่ทันได้สังเกต แต่อาการจะดีขึ้นโดนไม่ต้องทำอะไร เวลาผ่านไปคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น มีการแบกรับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามด้วย ทำให้กล้ามเนื้อฝืดไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม จึงส่งผลให้เป็นตะคริวจากกล้ามเนื้อที่หดตัวขึ้นมาทันที และในบางกรณีอาจเป็นตะคริวบริเวณมดลูก ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงถึงอาการแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ได้ คุณแม่จึงต้องรีบฝากครรภ์และพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างเหมาะสม

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@yrss

สาเหตุภาวะตะคริว
1. เป็นภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากทารกต้องนำไปใช้สร้างกระดูกและฟัน
2. ร่างกายขาดน้ำ และความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
3. เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เนื่องจากการทำงาน หรือการนั่งขดขาในท่าเดิมเป็นเวลานาน
4. ท้องมีขนาดโตขยายมากขึ้น มดลูกจะไปกดทับตรงตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาดออกซิเจน ทำให้เกิดเป็นตะคริว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@anastasiiachepinska

อาการ
ตะคริวจะเกิดขึ้นตอน ไอ จาม หรือเปลี่ยนท่านั่ง มักจะเป็นบริเวณท้อง และข้อเท้าเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นที่ข้อเท้าจะรู้สึกเจ็บปวดมาก เนื่องจากการหดเกร็งอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อจนเป็นก้อนแข็งๆ โดยส่วนใหญ่คุณแม่ตั้งครรภ์จะเกิดอาการตะคริวเมื่ออายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป และเป็นมากที่สุดในช่วง 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด

วิธีการป้องกัน
1. ตะคริวที่น่อง เหยียดขาข้างที่เป็นออกให้สุด ใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ มืออีกข้างดันปลายเท้าขึ้นลงช้าๆ แล้วนวดที่น่องเบาๆ ไม่ควรนวดแรงเพราะกล้ามเนื้ออาจจะบาดเจ็บทำให้ตะคริวกลับมาอีกได้

2. ตะคริวที่ต้นขา เหยียดขาข้างที่เป็นออกให้สุดใช้มือข้างหนึ่งประคองส้นเท้าไว้ส่วนมืออีกข้างค่อยๆกดลงบนหัวเข่าแล้วนวดต้นขาบริเวณที่เป็นจะตะคริวเบาๆ

3. ตะคริวนิ้วเท้า เหยียดนิ้วเท้าตรง ลุกขึ้นยืนเขย่งเท้าเดินไป – มา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และค่อยนวดบริเวณนิ้วเท้าเบาๆ ถ้าคนท้องเป็นตะคริวที่นิ้วมือก็เหยียดนิ้วมือออก เพื่อให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายออก

4. หากเป็นตะคริวบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง ควรขอแนะนำจากแพทย์ หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมากร่วมกับการเป็นตะคริว ควรรีบพบแพทย์ทันที

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/yennivance-1426175/

ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร เช่น ดื่มน้ำผักใบเขียว ทานเมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เต้าหู้ และปลาเล็กปลาน้อย หรืออาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากๆ หรือแช่น้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายบ้าง พยายามเปลี่ยนอริยาบทของตัวเองบ่อยๆ ไม่นั่งหรือยืนท่าเดิมนานๆ และควรหลีกเลี่ยงอยู่ในที่ที่อาการเย็นเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดอาการเสี่ยงเป็นภาวะตะคริวได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับสาระความรู้ดีๆ ที่เราได้นำมาฝากให้ได้อ่านในบทความนี้ เกี่ยวกับ แม่และเด็ก หวังว่าคุณแม่จะได้รับสาระที่เราได้นำมาฝากในบทความนี้ กับ “อาการเป็น ตะคริว ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ วิธีการป้องกัน” DooDiDo หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ หากคุณแม่ไม่อยากเป็นตะคริวตามตัว คุณควรที่จะเดินถือว่าเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร่ายที่แข็งแรงต่อตัวคุณแม่และลูกน้อย เวลาที่คุณแม่คลอดน้อยจะช่วยทำให้คลอดน้องออกมาได้ง่ายมากขึ้นนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.bpksamutprakan.com