รู้จัก “โรคคาวาซากิ” ที่มักเกิดกับเด็กเล็กๆ จนถึงอายุ 5 ขวบปี

การป้องกันการเกิดโรคคาวาซากิจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถรักษาให้หายได้คะ

เมื่อไม่นานมานี้ได้ยินข่าวเดี่ยวกับโรคชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “โรคคาวาซากิ” ชื่ออาจจะออกแนวญี่ปุ่นเลย ยังแอบคิดว่าทำไมชื่อโรคไม่คุ้นหูเสียเลย อดทนไม่ไหวจึงไปค้นหาข้อมูล และคิดว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่  เจ้าโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) นี้มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “โรคหัดญี่ปุ่น” พบครั้งแรกในปี พ.ศ.2504

โรคคาวาซากิ นี้มักเกิดกับเด็กเล็กๆ จนถึงอายุ 5 ขวบปีคุณพ่อ คุณแม่ผู้ปกครองจึงต้องคอยระวังและสังเกตอาการไว้เสมอ และโดยเฉลี่ยมักจะเกิดขึ้นในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึงเท่าตัวนะคะ ครอบครัวที่มีประวัติของการเกิดโรคนี้ก็จะมีอัตราเสี่ยงสูงมากที่คนในครอบครัวจะเป็นโรคนี้ได้ และผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วก็ยังมีมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกด้วยนะคะแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน แต่แพทย์มีข้อสันนิฐานได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อบางประเภท การใช้แชมพูซักพรม การอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือการเป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานไม่ปกติ (Immunologic Disease) ด้วยเหตุนี้การป้องกันการเกิดโรคคาวาซากิจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถรักษาให้หายได้คะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/exergencorporation-16269701/

อาการ โรคคาวาซากิ ดังต่อไปนี้

  1. มีไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศานาน 1-2 สัปดากห์ ทานยาลดไข้หรือเช็ดตัวแล้ว ไข้ก็ไม่ลด
  2. ตาแดงทั้งสองข้าง ไม่มีขี้ตา เกิดขึ้นหลังจกาเป็นไข้ประมาณ 1-2 วัน และเป็นอยู่นานถึง 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแตก คอและเยื่อบุปากมีสีแดง ลิ้นเป็นตุ่มแดงนูนคล้ายผลสตอร์เบอร์รี่ (Strawberry Tongue)
  4. มือ-เท้าบวม แดง ในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ปลายมือ-เท้าลอก
  5. เกิดผื่นบริเวณขาหนีบและตามลำตัว มักเกิดหลังจากมีไข้ประมาณ 1-2 วัน และมีเป็นผื่นอยู่นานถึง 1 สัปดาห์
  6. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คลำพบ มีขนาดเกินกว่า 1.5 ซม. มักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นๆแทรกซ้อนได้ เช่น ปวดตามข้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ท้องเสีย ปอดบวม เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/victoria_rt-6314823/

อาการของโรคคาวาซากิจะแบ่งได้ 3 ระยะ คือ

  1. ระยะเฉียบพลัน คือช่วง 1-2 สัปดาห์ อาการคือ มีไข้ ผื่นแดง คัน มือ เท้า ตา ริมฝีปาก บวมและแดง ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอโต และมีความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็ว มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  2. ระยะกึ่งเฉียบพลัน คือช่วง 2-4 สัปดาห์ อาการที่เกิดในช่วงแรกจะเริ่มรุนแรงขึ้น ปวดตามข้อหรือข้อบวม ง่วงซึมหรือหมดแรง มีหนองในปัสสาวะ เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดเลือดหัวใจโคโรคนารี่โป่งพอง
  3. ระยะพักฟื้น คือช่วง5-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่ยังอ่อนแรง และยังสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน

การเสียชีวิตของเด็กที่เป็นโรคคาวาซากิมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนเสียเป็นส่วนใหญ่คะ ได้แก่ หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามหัวใจอักเสบ โป่งพอง (Coronary Aneurysm) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจัหวะ จึงควรนำเด็กเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

สำหรับการรักษาโรคนี้มีด้วยกัน 2 วิธี คือ การให้อิวมิวโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคและลดการอักเสบ และการใช้ยาแอสไพริน เพื่อบรรเทาอาการปวด บวม ลดไข้ นอกจากนี้ยังใช้ยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาเมโธเทรกเซท ในกรณีที่ยาข้างต้นไม่ตอบสนองต่อโรคคะ DooDiDo ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อยด้วยนะคะ เวลาเจ็บป่วยจะได้รักษาได้ทันเวลาคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.thaisabuy.com/health