มาลองเช็คดูกันว่าลูกของคุณมีปัญหาด้านการเรียนรู้กันหรือไม่??

10 วิธีที่จะเช็คว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาทางด้านการเรียนรู้หรือไม่

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คู่ อาจจะมีหลายเรื่องที่ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่มือใหม่แล้วละก็มักเราคงห้ามไม่ได้ที่จะมีความกังวลใจมาก หากพบเห็นว่าลูกของตนเองมีพัฒนาการในการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกังวลเรื่องนี้มากหรอกค่ะ แต่หากคุณยังคงสงสัยและข้องใจกับพฤติกรรมบางอย่างของลูกน้อยของคุณอยู่

ดูเหมือนว่าลูกของคุณหยิบจับสิ่งของได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ หรือเปล่า? แม้เด็กแต่คนจะมีวิถีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันก็จริงอยู่ แต่ก็มีปฏิกิริยาบางสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นคอยสังเกต เพื่อที่เช็คว่าลูกของคุณมีปัญหาทางการเรียนรู้หรือไม่  เด็ก ๆ มักมีวิถีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน บ้างก็ช้า บ้างก็เร็ว มาลองอ่าน 10 วิธีที่จะเช็คว่าลูกน้อยของคุณมีปัญหาทางด้านการเรียนรู้หรือไม่?

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/victoria_borodinova-6314823/

สัญญาณแรกที่ควรมองหา

เมื่อลูกของคุณอายุราว 6 เดือนถึง 1 ปีเต็ม สัญญาณบ่งบอกอาการเริ่มแรกที่ชัดเจนที่สุดคือการขยับและการเคลื่อนไหวของอวัยวะของเขา เช่น การขยับขา แขน การกลิ้งตัว หรือพยายามที่จะยืนไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่คุณพาลูกน้อยกลับบ้าน คุณต้องมีโอกาสที่จะได้เห็นลูกของคุณมีปฏิกิริยากับเสียงต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงของแม่ของเขาเอง

การร้องไห้

เป็นอากัปกิริยาอย่างแรก ๆ ที่ลูกน้อยแสดงออกเพื่อต้องการจะสื่อสารกับคุณ หากพบว่าลูกน้อยไม่ค่อยร้องงอแงเมื่อถึงเวลาที่เขาควรจะหิวข้าว หรือต้องการที่จะเปลี่ยนผ้าอ้อม นี่อาจเป็นสัญญาณว่าลูกของคุณอาจมีปัญหาทางการเรียนรู้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน คุณควรเริ่มเห็นลูกพยายามยื่นมือและมีอาการตอบสนองต่อผู้คนรอบข้างมีหลากหลายช่วงอายุของเด็กที่สามารถแสดงอาการของความผิดปกติในการเรียนรู้ของเด็กได้

สัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในการเรียนรู้ของเด็กเล็ก

เด็กเล็ก ๆ ก็เหมือนฟองน้ำ พวกเขาซึมซับทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็นรอบตัว ช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่หมอจะคอยสังเกตว่าเด็ก ๆ จะมีพัฒนาการอย่างที่พวกเขาควรจะเป็นหรือไม่ ช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็คดูว่าเขามีปัญหาทางการเรียนรู้หรือไม่ได้อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตลูกน้อยของคุณได้ง่ายมากยิ่งขึ้นหากลูกของคุณอยู่ในศูนย์เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนของเด็กเล็ก คุณสามารถคอยสังเกตพฤติกรรมของลูกคุณเวลาเขาอยู่กับเด็กคนอื่น ๆ ได้ เพราะในบางครั้งลูกของคุณอาจจะทำหรือแสดงออกบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไปจากที่เขาอยู่กับคุณก็เป็นได้ สิ่งที่

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/2081671-2081671/

คุณควรสังเกตลูกของคุณคือ:

  1. ช่วงอายุนี้มือและสายตาของลูกควรมีพัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจน หากคุณพบเห็นว่าลูกลังเลที่จะใช้มือหรือใช้ตาของเขามองบางสิ่งบางอย่างรอบตัว นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติในการเรียนรู้ของเขาได้ คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการขั้นสุดท้าย
  2. เมื่อลูกคุณเริ่มก้าวเข้าสู่วัยเตาะแตะ พวกเขาควรที่จะเริ่มสร้างประโยคพูดขึ้นมาได้เองเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ ไม่ต้องยาวมาก แค่ประโยคที่มีแค่คำสองคำ แต่เขาจะต้องเริ่มเข้าใจในสิ่งที่คุณพูดกับเขา แม้เขาดูเหมือนไม่ตั้งใจฟังก็ตาม
  3. วัยเตาะแตะแบบนี้เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นช่วงที่เด็ก ๆ จะเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็น ลูกอาจแอบสังเกตคุณและทำตามสิ่งที่คุณทำ หากคุณเห็นว่าลูกคุณไม่สนใจที่จะทำอะไรตามคุณเลยแม้แต่น้อย ลองปรึกษาแพทย์ดูเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น

ช่วงวัยเข้าเรียน

เด็กวัยเข้าเรียนจะเริ่มแสดงลักษณะเฉพาะของตัวเองออกมา และหากเขามีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการอ่านและสมาธิ ปัญหาจะปรากฏเด่นชัดในช่วงนี้

  1. หากลูกของคุณแสดงออกถึงปัญหาการทำความเข้าใจในเรื่องที่เขาอ่านและไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องที่อ่านอย่างง่าย ๆ ได้ เขาต้องได้รับการทดสอบให้แน่ชัด
  2. สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาในการอ่านทำความเข้าใจของลูกนั้นเริ่มต้นจากการที่ลูกมีอาการสับสนในตัวอักษรและตัวเลขที่ทำให้เขาอ่านผิดอ่านถูก อาจมีอาการเขียนกลับหลัง ลูกอาจได้รับการทดสอบที่โรงเรียนเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่พบและทำการรักษา โรงเรียนยังสามารถช่วยรับมือกับปัญหาด้านพัฒนาการของลูกคุณ และช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนให้ลูกของคุณได้

การเล่น นอกจากช่วยพัฒนาความสามารถในทุกด้านแล้ว DooDiDo คิดว่าเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การเล่น ทำให้เด็กได้ผ่อนคลาย สนุกสนาน เพลิดเพลิน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดีเมื่อเด็กเปิดใจ พร้อมเรียนรู้ ธรรมชาติของเด็กการเล่นคือการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นการเล่น คือ การเรียนรู้ที่สามารถดึงดูดเด็กๆ ให้เปิดใจพร้อมที่จะเรียนรู้นั่นเอง พูดได้เลยว่า การเล่น ไม่ใช่เรื่อง เล่น เล่น อีกต่อไป หากเรามองเห็นความสำคัญ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.thainannyclub.com