มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง”ค่าตับของสุนัข” กันดีกว่า!!

WM

คนรักสุนัขควรรู้!! สาเหตุใดที่ทำให้สุนัขมีค่าตับสูงได้บ้าง

สำหรับคนที่สุนัขอยู่ บางทีเจ้าของอาจจะเลี้ยงน้องด้วยอาหารของคน ซึ่งจริงๆ แล้วอาหารของคนหากน้องทานบ่อยๆ อาจจะเกิดการสะสมของโซเดียมไว้ในระยะยาว จนเป็นสาเหตุทำให้น้องหมาป่วย เพราะสำหรับสุนัขมีค่าตับสูง คืออาการผิดปกติที่มักได้มาเป็นของแถมเวลาเจ้าของพาสุนัขไปเจาะเลือดตรวจโรคอื่นๆ แม้สัตวแพทย์จะวินิจฉัยและให้คำแนะนำในการดูแลเจ้าสี่ขาอย่างชัดเจน แต่หลายคนก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าอาการผิดปกติที่ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่ วันนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘ค่าตับของสุนัข’ กันดีกว่า จะได้ไม่พลาดดูแลน้องหมาแบบผิดวิธี จนทำให้อาการของมันแย่ลงกว่าเดิม

การที่คุณหมอตรวจพบว่าน้องหมามีค่าตับสูงขึ้นนั้น อาจไม่สามารถบ่งบอกถึงสาเหตุได้ในทันที การจะระบุถึงสาเหตุได้นั้น จำเป็นต้องมีการตรวจอย่างอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะเป็นการค่าเลือดอื่น ๆ การอัลตร้าซาวด์ หรือแม้แต่การซักประวัติและอาการต่างๆ เพิ่มเติม ดังนั้นในการวินิจฉัยโรค จึงต้องอาศัยข้อมูลหลาย ๆ ทาง เพื่อระบุหาสาเหตุที่แท้จริง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/alkhaine-19974674/

“ค่าตับในสุนัข” วัดได้จากอะไร

ค่าตับของสุนัขที่เราได้ยินกันบ่อยๆ แท้จริงแล้ววัดได้จากค่าเอนไซม์ (Enzyme) หลายชนิดที่อยู่ในเซลล์ตับโดยเอนไซม์ที่นิยมวัดค่าเพื่อวินิจฉัยโรคมากที่สุดคือ ‘Aspartate aminotransferase (AST)’ และ ‘Alanine aminotransferase (ALT)’ หากตรวจเลือดสุนัขแล้วพบว่ามีปริมาณเอนไซม์ AST หรือ ALT เข้มข้นมาก สัตว์แพทย์มักประเมินว่าเอนไซม์เหล่านี้รั่วไหลออกมาจากเซลล์ตับที่กำลังได้รับความเสียหาย อันเป็นผลข้างเคียงจากการถูกคุกคามด้วยโรคตับในสุนัข ไม่ว่าจะเป็น ตับอักเสบ ตับแข็ง และตับวายเฉียบพลันนั่นเอง

โดยปกติค่าตับของสุนัขที่แสดงผลเวลาตรวจเลือดควรอยู่ที่ประมาณ 10.6-101 U/L (หน่วยต่อลิตร) หากเกินกว่านี้จะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงตามมา เพราะตับจะถูกทำลายลงเรื่อยๆ แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ เจ้าของมักรู้ไม่เท่าทันเวลาน้องหมามีภาวะค่าตับสูง เนื่องจากบางตัวเเทบไม่แสดงอาการผิดปกติเลยทั้งยังร่าเริงได้แบบไม่ผิดสังเกต จนกว่าค่าตับจะสูงทะลุ

สาเหตุใดที่ทำให้สุนัขมีค่าตับสูง
1. อายุมาก

เมื่อสุนัขอายุมากขึ้นสภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยไปตามกาลเวลาไม่ต่างจากคน โดยความแก่ชรายังทำให้อวัยวะภายในเสื่อมสภาพด้วย โดยอาการค่าตับสูงมักพบในสุนัขที่มีอายุ 5-7 ปีขึ้นไป (เทียบเท่าคนอายุ 36–44 ปี) แต่ไม่ใช่เจ้าตูบแก่ทุกตัวที่จะเผชิญภาวะนี้ เพราะหากมันผ่านกระบวนการฝึกร่างกายและกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการมาตลอด อาจโชคดีรอดพ้นจากภัยคุกคามสุขภาพอย่างโรคตับ

2. ได้รับเชื้อโรคหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

เชื้อโรคเเละสารเคมีอาจปนเปื้อนมากับอาหารสุนัขที่ผลิตอย่างไม่ได้มาตรฐาน โดยผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อปรุงจากการรวบรวมเอาชิ้นส่วนของเนื้อสัตว์ที่คนเราไม่นิยมกิน หรือชิ้นส่วนที่ชำแหละแล้วเหลือทิ้งจำพวกเครื่องใน กระดูก หัว หาง และเท้า มาทำเป็นอาหารสุนัขเมนูใหม่ที่มีราคาถูกเพื่อแข่งขันกับยี่ห้ออื่นในตลาด ซึ่งเศษวัตถุดิบเหล่านี้บางครั้งก็ถูกกองทิ้งไว้เป็นเวลานาน และมีการใช้สารเคมีกับสารกันบูดคงคุณภาพไม่ให้เน่าเสีย ก่อนนำเข้าสู่กระบวนปรุงในโรงงานผลิต นอกจากนี้อาหารสุนัขที่ทำจากถั่วและข้าวโพดก็มักเจือปนมาด้วยเชื้อราที่ก่อให้เกิดสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ตัวการทำให้เกิดโรคตับอักเสบและมะเร็งตับ ไม่เว้นแม้แต่สารเคมีตามพื้นและตามเรือนร่างมนุษย์ที่เข้าสู่ร่างกายน้องหมาได้ผ่านการเลีย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@camylla93

3. กินอาหารชนิดเดียวกับคน

อาหารสัตว์ปรุงรสที่มีขายตามท้องตลาดหรือแม้แต่เมนูสดใหม่ที่เจ้าของปรุงให้สุนัขเอง บางเมนูมักทำจากโปรตีนคุณภาพต่ำ ทั้งยังมีการเหยาะเครื่องปรุงลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ หวังให้เจ้าตูบได้ลิ้มรสแต่หารู้ไม่ว่าเครื่องปรุงเหล่านี้จะเข้าไปเพิ่มปริมาณโซเดียมและสารสังเคราะห์ในร่างกายมัน หากปล่อยให้สุนัขกินอาหารประเภทนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำ เพราะสุนัขไม่มีรูขุมขน จึงไม่สามารถระบายของเสียเหล่านี้ออกจากร่างกายในรูปแบบของเหงื่อหรือของเหลวได้ดีเท่าที่ควร กลายเป็นปัญหาโรคตับตามมา และเมื่อตับซึ่งช่วยกรองของเสียในร่างกายทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ของเสียส่วนหนึ่งจึงค้างอยู่ในร่างกาย

4. ทานยาสเตียรอยด์ติดต่อมานานหลายปี

สำหรับเจ้าตูบที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ และโรคแพ้ภูมิตัวเอง สัตวแพทย์มักแนะนำให้ทานยาหรือฉีดยาสเตียรอยด์ (Steroid) เป็นประจำ เพื่อรักษาโรคและประคองอาการไม่ให้กำเริบ เจ้าของบางคนจึงให้สุนัขรักษาตัวด้วยวิธีการดังกล่าวต่อเนื่องหลายปี โดยที่ไม่รู้เลยว่ายาเหล่านี้คือตัวการกระตุ้นให้ค่าตับของพวกมันทะยานสูงขึ้นแบบไม่ทันเฝ้าระวัง กว่าจะรู้ตัวว่าสุนัขได้รับผลข้างเคียงจากการทานยา ก็เมื่อมันแสดงอาการผิดปกติ เช่น ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน เพราะเซลล์ตับถูกทำลาย ซึ่งเมื่อนั้นพวกมันอาจมีค่าตับสูงถึงหลายพันหน่วยต่อลิตรเลยทีเดียว

ทั้งหมดนี้เรา ถือเป็นภัยเงียบที่ปล่อยไว้ไม่ได้เลยเพราะมันอาจคร่าชีวิตมะหมาของบ้านไปโดยไม่รู้ตัว ข้อที่ DooDiDo อยากแนะนำคือหมั่นสังเกตความผิดปกติ เช่น ท้องสุนัขบวมโตผิดปกติ เบื่ออาหาร ซึม อาเจียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอาการข้างเคียงเวลาพวกเค้ามีค่าตับสูง เมื่อพบความผิดปกติดังกล่าวควรพาสุนัขไปตรวจร่างกายและตรวจเลือด แม้จะไม่มีโรคประจำตัวก็ตาม

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.tipsdd.com