มาดูความแตกต่างระหว่าง เด็กไฮเปอร์ กับเด็กสมาธิสั้น??

WM

อาการของเด็กไฮเปอร์ (Hyperactive) คือ “อาการที่ไม่อยู่นิ่ง”

ในยุคนี้เราต้องเข้าใจในตัวของเด็กๆ แต่ละชาวงวัยมากขึ้น เพราะด้วยเทคโนโลยีที่อาจส่งผลต่อเด็ก ทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูง จนหลายๆ คน คงจะเคยเจอกับเด็กที่เป็นเด็กไฮเปอร์แต่ใช่ว่าจำเป็นว่าจะต้องเป็นโรคสมาธิสั้นเสมอไป เพราะอาการของเด็กไฮเปอร์ (Hyperactive) คือ ‘อาการที่ไม่อยู่นิ่ง’ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactive Disorder) ซึ่งเป็นเพียงสาเหตุหนึ่ง หรือเด็กอาจมี ความวิตกกังวัล (Anxiety) หรือ เด็กที่มีพัฒนาการทางระบบประสาทล่าช้า (Motor – Sensory) ไปจนถึง เด็กที่เคยได้รับความกระทบกระเทือนหรือติดเชื้อที่สมอง และเด็กที่ไฮเปอร์โดยธรรมชาติ คุณพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถศึกษาความแตกต่างเพิ่มเติมได้ที่บทความ สมาธิสั้นใกล้ตัวเด็กกว่าที่คิด

เข้าใจ’เด็กไฮเปอร์’ และรับมือด้วยกิจกรรมเสริมทักษะและพัฒนาการ เราสามารถบอกถึงความแตกต่างของเด็กๆ ได้จากพฤติกรรม และการพัฒนาการของพวกเขา หากคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองหมั่นสังเกตพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาการที่จะกล่าวถึงในที่นี้คืออาการ ‘เด็กไฮเปอร์’

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@allentaylorjr

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักอาการเด็กไฮเปอร์ มาดูความแตกต่างระหว่าง เด็กไฮเปอร์ กับ เด็กสมาธิสั้นกันก่อน เด็กไฮเปอร์ (Hyperactive Kids) และเด็กสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactive Disorder) คือสิ่งเดียวกันหรือไม่? จากบทความเรื่อง ‘สมาธิสั้นใกล้ตัวเด็กกว่าที่คิด’ ของนายแพทย์ชลภัฎ จาตุรงคกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลกรุงเทพ ระบุว่า ไฮเปอร์กับสมาธิสั้นนั้นต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยความแตกต่างเพียงเล็กน้อยนี้ ทำให้เมื่อพูดถึง ‘อาการเด็กไฮเปอร์’ รวมๆ ในภาษาที่เข้าใจร่วมกันอาจหมายถึง อาการที่เด็กอยู่ไม่นิ่ง ซุกซน อยู่ในสภาพนิ่งเฉยได้ไม่นาน วอกแวกง่าย หรือมีอาการหุนหันพลันแล่น เป็นต้น แล้วคุณพ่อคุณแม่จะรับมือกับเด็กไฮเปอร์อย่างไร? เราขอสรุปออกมาเป็น 5 วิธี ดังต่อไปนี้

5 วิธีรับมือเด็กไฮเปอร์อย่างเหมาะสม

1. กำหนดทิศทางในการใช้พลังงานของเด็ก
อาการของเด็กไฮเปอร์นั้นส่วนมากต้องการที่จะปลดปล่อยพลังงานอยู่ตลอด คุณพ่อคุณแม่ ลองมองหากิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น หรือ วิธีที่เหมาะสมจะช่วยเสริมพัฒนาการของเขาได้ หากการที่เด็กไฮเปอร์มีพลังเหลือล้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เราหาสิ่งที่ตอบโจทย์เขา เพราะอย่าลืมว่า เด็กยังต้องการการได้เล่นอย่างอิสระเสรี
อาจจะเป็นเกม กีฬาหรือกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้ใช้พลังงาน ใช้ร่างกาย ไปจนถึงใช้ความคิดสิ่งเหล่านี้เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้เด็กไฮเปอร์ได้ปลดปล่อยพลังของเขาออกมาอย่างเหมาะสม

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@timmossholder

2. พูดคุยกับลูก เปิดใจรับฟังลูกอย่างเข้าใจ
บ่อยครั้งที่การเป็นเด็กไฮเปอร์มักถูกมองว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย หรือไม่ตั้งใจ จนทำให้บางครั้งเด็กไฮเปอร์ถูกมองเป็นเด็กไม่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริง คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องเข้าใจว่าอาการเด็กไฮเปอร์ส่วนหนึ่ง เกิดจากคลื่นสมองที่ไม่เสถียร บางครั้งคลื่นสมองมีความถี่สูง เด็กจะมีพฤติกรรมซุกซน พูดมาก คิดเร็ว พูดเร็ว ส่งผลให้บางครั้ง เขาต้องลุกขึ้นยืน ขยับร่างกาย หรือปรับเปลี่ยนกิริยาอาการเพื่อทำให้พลังงานภายในตัวเขาถูกปลดปล่อยไปบ้างเพื่อที่ภายในตัวของเขาจะได้รู้สึกสงบลง

หากสังเกตว่าลูกอยู่ไม่นิ่งหรือมีอาการที่สังเกตแล้วว่าเป็นเด็กไฮเปอร์ คุณพ่อคุณแม่ควรมีการพูดคุยกับลูก เปิดใจรับฟังสิ่งที่ลูกพูดอย่างไม่ด่วนตัดสิน จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองเข้าใจเด็กมากขึ้น จากนั้นจึงค่อย ๆ วางแผนเพื่อหาทางรับมือกับเขาอย่างเหมาะสม ซึ่งการรับฟังลูกอย่างเข้าใจถึงสาเหตุต่าง ๆ นั้นสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ลูกไม่รู้สึกผิด สูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง รู้สึกด้อยค่า หรือรู้สึกว่าการเป็นเด็กไฮเปอร์คือเด็กไม่ดี

3. ช่วยลูกให้รู้จักวิธีจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง
เด็กที่มีอาการไฮเปอร์ สมาธิสั้น การจะจัดการกับความรู้สึกโกรธ เศร้า หรือวิตกกังวล ถือเป็นเรื่องยากสำหรับเขา แต่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องคอยสนับสนุนและช่วยให้เด็กรับมืออย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสอนให้เขารู้ว่า สิ่งใดเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโตจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัวเขาเอง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@gaberce

4. ช่วยให้ลูกได้ผ่อนคลาย
คุณพ่อคุณแม่ควรลดเวลาการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มือถือ แท็บเล็ต ไปจนถึงการเลี้ยงดูลูกโดยการให้จ้องดูทีวีเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมให้เด็กที่มีอาการไฮเปอร์ สมาธิสั้นได้ออกไปวิ่งเล่น เจอธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้เขาได้สูดหายใจเข้าอย่างเต็มปอด และหายใจออกอย่างผ่อนคลาย สิ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยฝึกสมาธิลูกให้เขาได้ปรับระดับพลังงานในตัวเขาให้เหมาะสมขึ้นได้

5. พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy)
พฤติกรรมบำบัดคือรูปแบบการบำบัดรักษา เพื่อปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง วิธีที่ง่ายที่สุดคือการ ‘ให้รางวัล’ เมื่อลูกประพฤติตัวดี เมื่อเขาเชื่อฟัง หรือสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี และควรทำอย่างต่อเนื่อง เพราะวิธีการรับมือเด็กไฮเปอร์ที่ดีที่สุดในฐานะของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง คือการเข้าไปมีส่วนร่วม รับรู้วิธีคิด จิตใจ และร่างกายของลูก เพื่อวางแผนจัดการกับพลังงานในตัวลูกอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ‘อาการเด็กไฮเปอร์’ เป็นหนึ่งในอาการอีกมากมายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก DooDiDo ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ และเปิดใจรับฟังอย่างเข้าใจ แล้วจะรู้ว่าเราสามารถสนับสนุนพวกเขาให้พัฒนา เติบโตอย่างสมวัยและมีความสุขได้ ท้ายที่สุดเมื่อเขาโตขึ้น จงอยู่เคียงข้างให้กำลังใจเขาเสมอว่า ทุกคนมีคุณค่าและสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.milo.co.th