มะตูม ผลไม้เศรษฐกิจ สร้างรายได้เสริมหลักแสนได้ง่าย ๆ

SA Game

ภาพจาก pixabay

สร้างรายได้เสริมหลักแสนได้ง่าย ๆ ด้วย มะตูม ผลไม้ไทยพื้นบ้าน

มะตูม (Aegle marmelos) เป็นพืชสมุนไพร ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งนี้ในแต่ละภูมิภาค เรียกชื่อแตกต่างกันออกไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชื่อเรียกว่า หมากตูม ภาคเหนือมีชื่อเรียกว่า มะปิน ภาคใต้มีชื่อเรียกว่า กะทันตาเถร ตูม และตุ่มตัง

มะตูม ถือว่าเป็นพืชเชิงธุรกิจ ที่สามารถปลูกทุกพื้นที่ หรือปลูกหัวไร่ปลายนาก็ได้ นิยมนำผลไปแปรรูปมะตูมเชื่อม หรือฝานตากแห้งนำไปต้มทำน้ำมะตูม ส่งผลให้ทั้งผู้ปลูกและผู้มีรายได้ เป็นอย่างดี จึงถือได้ว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ปลุกได้

มะตูม ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจพื้นบ้านที่ปลูกง่าย เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นเดี่ยวตั้งตรงมีลักษณะกลม เปลือกสีเทาค่อนข้างเหนียว สูง 8-15 เมตร มีหนามแข็งยาว 2-3.5 เซนติเมตร ขึ้นตามกิ่งทั่วลำต้น มีทั้งหนามคู่และหนามเดี่ยว โตไว

ใบออกเรียงเวียน ลักษณะทรงรีเล็ก ๆ โคนก้านใบใหญ่ มี 3 ใบย่อย โคนใบมนและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน หรือสีชมพูมีขนอ่อนๆ ใบแก่มีสีเขียวเรียบมัน มีกลิ่นหอม

SA Game
ภาพจาก pixabay

ราก เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงและรากฝอยเล็ก ๆ ออกรอบ ๆ สีน้ำตาล  ลักษณะกลม แทงลึกลงไปในดิน รากช่วยยึดกับดินให้ต้นแข็งแรงมั่นคง

ดอก จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกสั้นเป็นกระจุก มีดอกย่อย ลักษณะทรงกลมเล็ก ๆ มี 5 กลีบ สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองนวล เกสรเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเหลืองนวล และมีกลิ่นหอม

ผล มีลักษณะ ผิวเรียบ กลมรี ผลอ่อนเปลือกสีเขียว ผลแก่เปลือกสีเขียวอมเหลือง ผลแก่สุกเปลือกสีเหลือง เปลือกหนาค่อนข้างแข็ง เนื้อภายในเปลือกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม

เมล็ดมีลักษณะทรงรีแบน มีเส้นใยนุ่มหุ้มอยู่ สีน้ำตาลอ่อนเรียงเป็นวงกลมรอบแกนผล ข้างในมียางใสเหนียวหุ้มเมล็ด กลิ่นหอม รสชาติหวานอร่อย

เมื่อเข้าสู่ปีที่ 4 หรือ 5 มีการเจริญเติบโต เต็มที่ จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ สำนักงานเกษตรในหลายพื้นที่ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกร่วม เป็นแบบพืชผสมผสาน (Good Agricultural Practice : GAP) และดูแลรักษาให้สมบูรณ์ จะได้ผลผลิตคุณภาพ ตรงตามความต้องการ ของตลาดผู้บริโภค ส่วนการขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบกิ่ง

มะตูม ถือว่าเป็นพืชทนทานความแห้งแล้ง ปลูกได้ทุกฤดู เจริญเติบโตได้ดี ในดินทุกชนิด แต่ถ้าจะให้ดีต้องเป็น ดินร่วนมีความชื้นพอเหมาะ ไม่ชอบให้น้ำขัง

การปลูกขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 1 ศอก หรือ ด้านละ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 6×6 เมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกแห้งหรือปุ๋ยหมัก  เมื่อนำต้นพันธุ์ลง ต้องผูกยึดติดกับไม้หลักป้องกันการโค่นล้มให้น้ำแต่พอชุ่ม

ปุ๋ยใส่ ปีละ 2 ครั้ง ที่ใช้ สูตร 16-16-16 อัตรา 3-5 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านรอบทรงพุ่มให้น้ำพอชุ่ม ส่วนการให้ปุ๋ย ธรรมชาติ แนะนำให้กวาดใบแห้งที่ร่วง ถมโคนต้น ส่งผลดีในระยะยาว เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ทำให้ไม้ผลเจริญเติบโตได้ดี ลดต้นทุนการผลิต

การให้น้ำ ต้องมีการระบายน้ำได้ดีไม่ขังแฉะ ระยะแรกหลังจากปลูก ให้น้ำทุกวันเมื่อเจริญเติบโตแข็งแรง ให้น้ำน้อยลง หรือ พร้อมกับไม้ผลอื่น ๆ ได้ หากปลูกในสวน แบบไร่ผสม ฤดูฝนปล่อยให้ได้รับน้ำจากน้ำฝน ตามปกติ

เมื่อต้นมะตูมอายุ 4-5 ปี เจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมที่จะทำการเก็บเกี่ยว แต่จะให้ผลผลิต แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อต้นมีอายุ 7 ปีขึ้นไป การเก็บเกี่ยวได้เลือก เก็บเฉพาะผลที่แก่สุกตามช่วงอายุที่เหมาะสม

แต่เรื่องสำคัญหากต้องการจำหน่าย ต้องตัดเก็บเฉพาะผลมะตูมที่แก่สุกเท่านั้น โดยทั่วไป มะตูม 1 ต้น จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัม ผลผลิตต่อต้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาด้วย ราคารับซื้อที่ราคา 10 บาท ต่อกิโลกรัม หรือขึ้น-ลงตามกลไกตลาด

มะตูม เป็นพืชสมุนไพรที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง มีฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี มีแคลเซียม และโพแทสเซียม

  • ผลดิบ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลหรือลดความดันโลหิตสูง
  • ผลสุก บำรุงหัวใจหรือป้องกันโรคความจำเสื่อม
  • เปลือกมะตูม ใส่น้ำต้มเพื่อดื่มแก้ท้องเสีย รักษาลำไส้อักเสบ
  • รากมะตูม ช่วยรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร
  • ใบมะตูม พราหมณ์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและเป็นมงคล

“ใบมะตูม พราหมณ์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและเป็นมงคล นำไปถวายพระมหากษัตริย์สำหรับทรงใช้ในการพระราชทานน้ำสังข์ หรือบางตำราถือว่าใบมะตูมที่มีลักษณะ 3 แฉก เป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บางตำราถือว่าคล้ายพระแสงตรี ซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์” นายสละ นิรากรณ์ เกษตรกรผู้ปลูกมะตูม กล่าว ปิดท้าย

ปลูกมะตูมเป็นพืชแบบผสมผสาน ทำให้ลดความเสี่ยงด้านการผลิตและตลาด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณลุงสละ นิรากรณ์ 14 หมู่ที่ 8 โปร่งตะแบก ตำบลพุคำจาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โทร. 081-852-3715 หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอพระพุทธ

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา เทคโนโลยีชาวบ้าน