ตำนานพญานาค เรื่องราวที่อยู่คู่ชาวหนองคาย และชาวบึงกาฬ Ep.3

เรื่องลึกลับ

เชื่อว่าเมืองบาดาลของพญานาค ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำโขงลึกลงไป 16 กิโลเมตร

ในส่วนของ “วัดราชโพนเงิน” ในเขตอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย นั้นได้มีความเกี่ยวเนื่องกับ “วัดโพนสัน”การที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามในแขวงบอลิคำไซ ริมแม่น้ำโขงฝั่งลาว ตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเล่าว่า เมื่อครั้งพระองค์เสด็จโปรดสัตว์ถึงบริเวณนี้ ได้มีพญานาคสองตนอาราธนาให้ทรงพักฉันภัตตาหารเพลที่นี่

โดยสุขหัตถีนาคได้อธิษฐานให้ตนมีลำตัวยาว 500 วา มีกำลังแรงดั่งช้างสารนับร้อย กวาดเอาดินทรายพูนขึ้นเป็นโพนหรือเนินดิน เพื่อถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งฉันเพล และยังขดตัวล้อมเนินดินไว้พร้อมกับแผ่พังพานออกเป็นนาค 7 เศียร บังแดดบังลมให้กับพระพุทธองค์จากตำนานดังกล่าว ทำให้วัดราชโพนเงินที่ฝั่งไทยและวัดโพนสันที่ฝั่งลาวนั้นมีบันไดนาคหัวช้างเผือกอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ความศรัทธาในตำนานของพญานาค ยังคงเป็นวัฒนธรรมร่วมของชาวไทยและลาวแห่งลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย

WM
ภาพจาก www.google.com

ซึ่งยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ที่ “ถ้ำดินเพียง” ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดถ้ำศรีมงคล ในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เชื่อกันว่าเป็น “ถ้ำพญานาค” เป็นดังประตูมิติระหว่างโลกมนุษย์และเมืองบาดาล

ซึ่งเป็นเส้นทางที่พญานาคได้ใช้เดินทางกลับสู่ใต้บาดาล และยังเป็นเส้นทางที่พระธุดงด์ทรงศีลแก่กล้าจากลาวใช้ข้ามฝั่งลอดใต้แม่น้ำโขงเข้ามายังเมืองไทย แต่ถ้าหากได้เข้าไปภายในถ้ำแล้ว ด้านในจะมีทางแยกอีกนับไม่ถ้วน ภายในถ้ำนั้นจะมีทั้งส่วนที่เป็นแอ่งน้ำและส่วนพื้นดินที่แห้ง

หากใครคิดที่จะเข้าไปก็ควรมีผู้นำทาง และเดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้มิฉะนั้นอาจจะพลัดหลงหาทางออกไม่เจอ ในส่วนที่จังหวัดบึงกาฬก็มีสถานที่สำคัญซึ่งเกี่ยวพันกับพญานาคอยู่ที่ “แก่งอาฮง” ในอำเภอเมือง โดยเชื่อว่าแก่งอาฮงนั้นเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุด เคยวัดความลึกในหน้าแล้งได้ถึง 99 วา

แก่งอาฮง
ภาพจาก www.google.com

ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น “สะดือแม่น้ำโขง” และยังเชื่อด้วยว่าจุดนี้เชื่อมต่อกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในเมืองคำชะโนด ในจังหวัดอุดรธานี โดยกระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮง DooDiDo จะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลาก และมีกระแสน้ำไหลวนเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่ อีกทั้งชาวบ้านยังเชื่อกันว่าบริเวณแก่งอาฮงนั้น เป็นถ้ำของพญานาค ซึ่งมีปากถ้ำอยู่ที่ฝั่งลาว โดยในปัจจุบันถ้ำดังกล่าวมีการสร้างเจดีย์ครอบไว้เพื่อไม่ให้เกิดการบุกรุกเข้าไปภายในถ้ำอีกด้วย

แหล่งที่มา : MGRONLINE