คุณแม่ห้ามพลาด!! 3 เทคนิค ตัวช่วยในการ “ปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้า”

WM

ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/angel4leon-560486/

รู้หรือไม่? การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าจะยิ่งกระตุ้นกระบวนการสร้างนมแม่มากขึ้น

การให้ลูกกินนมแม่ ไม่ได้ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแร็งเท่านั้นนะคะ เพราะนมแม่ช่วยให้พัฒนาการทางด้านร่างกาย และสมอง ของลูกน้อยเติบโตตามช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ เพื่อให้คุณแม่ทุกคนได้มีน้ำนมแม่ให้ลูกกินตั้งแต่แรกคลอด สิ่งที่สำคัญสุดก็คือ การกระตุ้นเต้านม ซึ่งใน 1-2 ชั่วโมงหลังคลอดนั่นเองค่ะ จากการเป็นคุณแม่มือใหม่ การให้ลูกเข้าเต้า บางครั้งลูกอาจดูดนมออกไม่หมด ทำให้น้ำนมค้างในเต้านม

ว่าที่คุณแม่และคุณแม่ลูกอ่อนหลายคนอาจจะกำลังกังวลว่า ในแต่ละวันที่ให้นมแม่ เราควรจะปั๊มนมแม่อย่างไรดีให้มีนมสต็อกเผื่อไว้เวลาแม่ไม่อยู่ ควรจะปั๊มอย่างไรดีให้นมเกลี้ยงเต้าเพื่อให้ลูกได้ดื่มน้ำนมแม่แบบเต็มอิ่ม และป้องกันอาการคัดเต้าเมื่อลูกยังไม่ตื่นขึ้นมาดูดนมเอง และบางครั้งลูกอาจดูดนมออกไม่หมดคุณแม่มักจะมีอาการคัด ปวด เต้านมแข็งเป็นไต ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดี เพราะเมื่อเต้านมเจ็บ อักเสบ ลูกก็จะดูดน้ำนมแม่ออกมาไม่ได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน น้ำนมอาจไม่มีผลิตออกมาค่ะ การปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้าไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เรามีเทคนิคง่ายๆ มาแนะนำ และแอบกระซิบบอกด้วยเลยว่า การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าจะยิ่งกระตุ้นกระบวนการสร้างนมแม่มากขึ้นด้วยนะคะ

เรามาทำความเข้าใจกับกระบวนการผลิตน้ำนมแม่กันก่อนดีกว่านะคะ น้ำนมแม่ที่เรารู้จักกันนั้นมีด้วยกัน 2 ส่วนดังนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก: www.thaikidssong.com

1. น้ำนมส่วนหน้า คือ น้ำนมที่มีสีขาวใส น้ำนวมส่วนนี้ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุค่ะ ซึ่งมีน้ำตาลแลคโตสคอยให้พลังงานกับลูกๆ อีกทั้งยังกระตุ้นระบบขับถ่ายของลูกน้อยได้อีกด้วย และไม่ใช่แค่นั้นน้ำนมส่วนนี้มีน้ำเป็นส่วนผสมมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์เลยละค่ะ

2. น้ำนมส่วนหลัง คือ น้ำนมที่มีลักษณะเหลือข้น อันประกอบไปด้วย โปรตีน ไขมันดีที่มีสูงมากกว่าน้ำนมส่วนหน้ามากถึง 2-5 เท่า ซึ่งไขมันตัวนี้จะช่วยเสริมพัฒนาการของสมองและสายตาให้กับลูก อีกทั้งยังมีโอเมก้าและคอเลสเตอรอลที่ทำหน้าที่ช่วยสร้างใยสมองที่นมยี่ห้อไหน ก็ไม่สามารถมาทดแทนหรือเลียนแบบได้เลย

WM
ขอบคุณภาพจาก: www.sanook.com/women/126369

จะรู้ได้อย่างไรว่าเกลี้ยงเต้า?
คุณแม่หลายท่านสงสัยว่า แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่าเกลี้ยงเต้าจริงๆ แนะนำให้คุณแม่สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้

  • นมคัด
  • เจ็บนมบ่อยทั้งๆ ที่นมก็ปั๊มนมไปแล้ว
  • น้ำนมน้อยลง
  • หน้าอกบวม
  • เจ็บลานนม
  • หัวนมอักเสบ
  • นมแข็ง

หากคุณแม่มีอาการดังต่อไปนี้ นั้นหมายถึงว่าน้ำนมของคุณแม่ยังไม่เกลี้ยงเต้าจริง ทั้งนี้มีวิธีแนะนำมาฝากกันค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: www.s-momclub.com

3 เทคนิคปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้า ช่วยกระตุ้นนมแม่

เทคนิคที่ 1: คุณแม่ควรปั๊มนมแม่ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ไม่ควรปล่อยให้รู้สึกคัดเต้าหรือเจ็บเต้านม โดยควรมีกำหนดเวลาในการปั๊มนมที่แน่นอน การปั๊มนมตรงเวลาทุกๆ วันจะช่วยกระตุ้นการสร้างนมแม่ได้มากขึ้น และการปั๊มนมแม่ในแต่ละครั้งน้ำนมจะไหลดี ปั๊มนมแม่ได้เกลี้ยงเต้าค่ะ และสำหรับคุณแม่หลังคลอดควรปั๊มนมแม่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือรู้สึกไม่เจ็บแผลคลอดแล้ว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างนมแม่ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

เทคนิคที่ 2: คุณแม่ควรปั๊มนมแม่ให้หมดเป็นข้างๆ ไป โดยใช้เวลาในการปั๊มข้างละประมาณ 10-15 นาที ซึ่งเท่าๆ กับระยะเวลาที่ลูกดูดนมแม่จนเกลี้ยงเต้านั่นเองค่ะ หรือหากปั๊มถึง 15 นาทีแล้วยังมีน้ำนมไหลออกมาอยู่ ยังสามารถปั๊มต่อได้อีกประมาณ 5 นาที
แต่ไม่ควรนานเกินไปเพราะคุณแม่จะเจ็บเต้านมได้ค่ะ

เทคนิคที่ 3: คุณแม่ต้องจำไว้เสมอว่าจำนวนครั้งหรือความถี่ในการปั๊มนมแม่ สำคัญกว่าระยะเวลาในการปั๊มนมแต่ละครั้ง เพราะยิ่งปั๊มบ่อยจะยิ่งกระตุ้นนมแม่ได้ดี แต่การปั๊มนมครั้งละนานๆ (เกิน 10-15 นาที) ไม่ได้ช่วยให้นมแม่ออกมาก เพราะนมแม่อาจจะเกลี้ยงเต้าแล้ว ซึ่งจะอาจเจ็บเต้านม เส้นเลือดฝอยหรือหัวนมแม่แตก ทำให้การปั๊มครั้งต่อไปน้ำนมกลายเป็นสีชมพู ตัวอย่างความถี่ในการปั๊มนมแม่ เช่น ในช่วงแรกหลังคลอดควรปั๊มวันละ 8-10 ครั้งต่อวัน แล้วจึงค่อยๆ ลดความถี่ลงเหลือวันละ 5-8 ครั้งได้เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยอาหารเสริมค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 3 เทคนิคที่ช่วยในการปั๊มนมแม่ให้เกลี้ยงเต้าที่ DooDiDo นำมาฝากคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกน้อยค่ะ การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้านั้น คุณแม่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่การปั๊มรีดเอาน้ำนมจนหมดเต้าเอาจนหยดสุดท้ายแบบนมวัวนะคะ เพราะในระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูกน้ำนมไม่มีวันหมดหรือเกลี้ยงเต้าจริงๆ ค่ะ เพราะร่างกายของคุณแม่ยังคงผลิตน้ำนมอยู่ตลอด

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.rakluke.com, www.amarinbabyandkids.com