คนรักสัตว์ควรรู้ ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ในสุนัขและแมว!!

WM

Megaesophagus in Dogs and Cats ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ในสุนัขและแมว

เมื่อไหร่ที่เรากลับมาเจอกับแบบนี้ต้องกลับมาพร้อมกับสาระความดีๆ และความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง มาให้เพื่อนๆ ได้รับเมือนเดิม วันนี้เรามารู้จักกับ Megaesophagus in Dogs and Cats ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ในสุนัขและแมว โรคหลอดอาหารขยายใหญ่ จัดเป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  ทำให้หลอดอาหารเกิดการขยายใหญ่และไม่สามารถบีบรัดตัวไล่อาหารไปยังกระเพาะอาหารได้ตามปกติ แต่คาดว่าเกิดจากความผิดปกติของที่ศูนย์ควบคุมการกลืน หรือเกิดจากความผิดปกติบริเวณที่ควบคุมรีเฟรกซ์ของการหดตัวและคลายตัวไล่อาหาร ทำให้เส้นประสาทที่ไปควบคุมบริเวณหลอดอาหารไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ วันนี้เรามีสาระความรู้ของ สัตว์เลี้ยง กับ ควรรู้ ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ในสุนัขและแมวหากเพื่อนๆทุกคน พร้อมกันแล้วละก็ อย่ารอช้าเลย ได้ดูสาระความรู้ดีๆพร้อมไปดูความน่ารักของสัตว์เลี้ยงจากบทความนี้กันเลยค่าาาาา

ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ (Megaesophagus) คือ ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารเกิดขึ้นในสุนัขมากกว่าในแมว สัตว์ที่ป่วยเป็นภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่มักมีอาการขย้อน หรืออาเจียนออกมาอย่างง่ายดาย โรคนี้มีความร้ายแรงอย่างมากหากมีอาการเรื้อรังเกิดขึ้นจะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน อาการที่พบได้บ่อยในภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ในสุนัขและแมว ได้แก่ สำรอกอาหาร อาเจียน ไอ มีน้ำมูก อยากอาหารอย่างมาก หรืออาจไม่อยากอาหารเลย เป็นต้น  ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่พบมากในสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น ไวร์ฟ็อกซ์เทอร์เรียร์ และมินิเอเจอร์ ชเนาเซอร์ และบางสายพันธุ์อาจมีแนวโน้มเป็นสายพันธุ์เสี่ยง เช่น เยอรมัน เชพเพิร์ด ดัชชุน เกรทเดน ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ ปั๊ก หรือชาเป่ย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@annadudkova

ประวัติ

ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมทำให้เป็นโรคตั้งแต่กำเนิด แต่ในบางรายอาจเป็นในภายหลัง และส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้:

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และกล้ามเนื้อ เช่น ไข้หัดสุนัข โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้ออักเสบ
  • มีเนื้องอกในบริเวณหลอดอาหาร
  • มีสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร
  • หลอดอาหารอักเสบ
  • สุนัขได้รับสารพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว และมีการติดเชื้อปรสิตในร่างกาย

คำอธิบาย

หลอดอาหาร (Esophagus) มีหน้าที่ในการส่งผ่านอาหารจากลำคอลงไปยังกระเพาะอาหาร เมื่อเส้นประสาทที่บริเวณหน้าท้องเกิดความผิดปกติจึงส่งผลให้หลอดอาหารไม่สามารถบีบหรือคลายตัวได้ตามปกติ อาหารที่สัตว์เลี้ยงกินเข้าไปจะเกิดการสะสมอยู่ภายในหลอดอาหารและเป็นสาเหตุทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดการขย้อนและอาเจียนเพื่อเอาอาหารออกมาได้ หากอาหารที่กินเข้าไปเกิดการเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องหรือเข้าไปอุดตันอยู่ในหลอดลมและภายในปอด อาจทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดภาวะปอดบวม ปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@annadudkova

อาการ

  • สำรอกอาหาร หรือ ขย้อนอาหาร
  • อาเจียน
  • ไอ
  • มีน้ำมูก
  • อยากอาหารอย่างมาก
  • ไม่อยากอาหารเลย
  • หายใจเสียงดัง
  • น้ำหนักลดลง
  • น้ำลายไหลมาก
  • ลมหายใจมีกลิ่น

อาการสำรอกอาหารถือว่าเป็นอาการหลักที่เห็นได้ชัดซึ่งแสดงถึงภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ รวมไปถึงภาวะปอดบวมจากการที่มีเศษอาหารหรือของเหลวหลุดเข้าไปในปอดด้วยเช่นกัน ส่วนอาการอื่นๆที่สามารถสังเกตได้มีดังต่อไปนี้: อาเจียน ไอ มีน้ำมูก หายใจเสียงดัง น้ำหนักลดลง (เพราะกินอาหารไม่ค่อยได้) อยากอาหารอย่างมาก หรือไม่อยากอาหารเลย น้ำลายไหลมาก ลมหายใจมีกลิ่น มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/alkhaine-19974674/

การรักษาและวิธีการป้องกัน

สัตว์เลี้ยงที่ป่วยควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อวัน เนื่องจากสัตว์ที่ป่วยด้วยภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่มักจะเบื่ออาหารหรือไม่สามารถกินอาหารได้ โดยอาหารที่ควรป้อนให้แก่พวกเขาควรจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงที่อยู่ในรูปแบบของเหลวหรืออาหารที่ปั่นละเอียดแทน ในกรณีที่ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่เกิดจากการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตัน สัตว์เลี้ยงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อนำสิ่งของที่อุดตันออกจากทางเดินอาหาร หากสัตว์เลี้ยงมีอาการสำลักอย่างรุนแรงจะต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน เนื่องจากภาวะนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้สัตวแพทย์จะทำการรักษาเบื้องต้นโดยการดมออกซิเจนและให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากอาการสำลักสามารถนำพาเชื้อโรคเข้าสู่ปอดจนนำไปสู่การติดเชื้อในปอดได้

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ก็จบลงไปแล้วน้า กับ สัตว์เลี้ยง สุดแสนจะน่ารัก กับ “ ควรรู้ ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ในสุนัขและแมว” DooDiDo หวังว่าเพื่อนทุกคนจะได้รับความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะค่ะ  นอกจากนี้หลังจากที่สัตว์ได้รับการรักษาจากการผ่าตัด จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลสัตว์เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นหลังการผ่าตัดได้ทันทีโดยให้ยาระงับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดและห้ามให้สัตว์ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 สัปดาห์

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://pet-az.com