กระทืบยอด เป็นยาสมุนไพร แก้ดับพิษร้อนภายใน ถอนพิษเบื่อเมา

WM

ภาพจาก Medthai

สมุนไพร กระทืบยอดเป็นยา แก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ ใช้ถอนพิษเบื่อเมา

กระทืบยอด จัดเป็นสมุนไพรไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นมีขนาดเล็กตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นปล้องข้อ เปลือกต้นเป็นสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียด ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และบริเวณที่ชื้นแฉะทั่วไป มีมากตามชายเขาในภาคเหนือและภาคกลาง

กระทืบยอด มีชื่อสมุนไพรท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระทืบยอด (เชียงใหม่), นกเขาเง้า (นครราชสีมา), ทืบยอด (สุราษฎร์ธานี), จิยอบต้นตาล จิยอบต้นตาน (ภาคเหนือ), กะทืบยอด กะทืบยอบ (ภาคกลาง), หัวใจไมยราบ (ภาคใต้), ไมยราบ กระทืบยอด (ไทย), เนี้ยซัวเช้า (จีน), กะเสดโคก, คันล่ม, เช้ายอบ, หญ้างับ, หน่อปีเหมาะ เป็นต้น[1],[2]

กระทืบยอด ชื่อวิทยาศาสตร์ Biophytum sensitivum (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กระทืบยอด (OXALIDACEAE)[1],[2]

WM
ภาพจาก Medthai

ใบกระทืบยอด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับเวียนรอบต้น เป็นกระจุกที่ปลายยอด ก้านใบแผ่แบนรวมกันอยู่บนยอด เหมือนกับร่มที่กาง ใบย่อยมีประมาณ 8-12 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปคล้ายโล่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ[1],[2],[3]

ดอกกระทืบยอด ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณยอดของลำต้น มีก้านยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร แต่ละช่อจะมีดอกย่อยเป็นกลุ่ม ๆ ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอดสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองมีขีดสีแดงตามยาว[1],[2],[3]

ผลกระทืบยอด ผลเป็นผลแห้งแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย มีสีเขียวอ่อน[3]

สรรพคุณของกระทืบยอด

  • ลำต้นใช้เป็นยาแก้ดับพิษร้อนภายใน แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ ใช้ถอนพิษเบื่อเมา โดยนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ลำต้น)[1],[3]
  • ใบใช้เป็นยาแก้กาฬภายใน (ใบ)[2]
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้เบาหวาน (ทั้งต้น)[2],[3]
  • ใช้เป็นยาแก้หอบหืด (ทั้งต้น)[2],[3]
  • ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้สะอึก (ลำต้น)[1],[3]
  • ใช้เป็นยาแก้กระหายน้ำ (ราก)[2],[3]
  • ใบใช้เป็นยาขับเสมหะ (ใบ)[2],[3]
  • รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ขับนิ่ว ละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ราก)[1],[2],[3]
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ทั้งต้น)[2]
  • ลำต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ (ลำต้น)[1],[3]
  • รากใช้เป็นยาแก้โรคหนองใน (ราก)[1],[2],[3]
  • ใช้เป็นยาขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)[2]
  • ใช้เป็นยารักษาโรคตับแข็ง (ราก)[2],[3]
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไตพิการ (ทั้งต้น)[2],[3]
  • ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แก้ฟกช้ำ พอกรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พิษแมงป่อง (ใบ)[2],[3]
  • เมล็ดใช้เป็นยารักษาแผลสด แก้ฝี เร่งฝีให้แตกเร็ว (เมล็ด)[2],[3]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “กระทืบยอด”.  หน้า 31-32.
  • สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย.  “กระทืบยอด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.saiyathai.com.
  • คุยเฮิร์บ (KUIHERB).  “กระทืบยอด”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.inf.pharm.su.ac.th/~kuiherb/