หากลูกคุณถูกทำร้าย และคุณควรที่จะทำหรือหาทางแก้อย่างไร!!

WM

จะรู้และดูแลได้อย่างไร? เมื่อ “ลูกถูกทำร้าย”

มาค่ะเรามาพูดคุยกันต่อจากหัวข้อที่นำเสนอก่อนหน้านี้นะคะ วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ทุกคนมารู้จักวิธีการแยกให้รู้ว่าลูกน้อยของเรากำลังถูกทำร้ายจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวค่ะซึ่งสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวก็อาจจะเป็นทั้งครอบครัวสังคมของเพื่อนหรือแม้แต่ในโรงเรียนนะคะวันนี้พวกเราอยากจะมาทำความรู้จักกับลูกถูกทำลายค่ะก็จะเห็นจากข่าวทั่วไปที่มักนำเสนอว่ามีคุณครูทำร้ายนักเรียน  มีครอบครัวทำลายลูก หรือเพื่อนด้วยกันเองทำร้ายนะคะ ซึ่งก็จะเห็นว่าเป็นผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจซึ่งเป็นบาดแผลให้กับเด็กคนนั้นอย่างรุนแรงด้วยค่ะ ที่สำคัญ คือ เด็กบางท่านอาจจะมีอาการฝันร้ายหรืออาการฝังใจกับเหตุการณ์นั้นเลยก็ได้ค่ะซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะศึกษาเริ่มฝึกสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของลูกอยู่เสมอนะคะอย่างไรก็ตามสามารถอ่านสิ่งที่น่าสนใจต่อได้ในบทความนี้เลยค่ะ

จากกรณีที่เป็นข่าวครูทําร้ายนักเรียนอนุบาลอย่างรุนแรง ทั้งตบหัว ทั้งผลัก ทั้งไม่ให้กินข้าว ทั้งไมให้ปัสสาวะ และพฤติกรรมต่างๆ นานาที่เข้าข่ายทำร้ายเด็กทั้งทางร่างกาย ทางคำพูด และทางจิตใจ คุณรู้หรือไม่? ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลกระทบทางร่างกาย แต่ยังส่งผลเป็นบาดแผลทางจิตใจให้เด็กได้ด้วย ดังที่ข่าวออกมาว่าเด็กที่โดนลากไปทำร้ายในห้องน้ำเกิดอาการกลัวห้องน้ำไม่กล้าเข้าห้องน้ำ เด็กมีอาการฝันร้ายไม่กล้าไปโรงเรียนเพราะกลัวการไปโรงเรียนและครู เด็กเดินไปตบหน้าพ่อเมื่อเรียกแล้วพ่อไม่หัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป อาการดังกล่าวเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นต่อเนื่องก็จะทำให้เด็กรู้สึกกลัวไม่อยากไปโรงเรียน เด็กบางคนอาจจะเลียนแบบความก้าวร้าวใช้ความรุนแรงเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ เด็กบางคนอาจจะมีบาดแผลทางจิตใจทั้งเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า หวาดผวากลัวการถูกกระทำซ้ำ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@htchong

ลูกไม่อยากไปโรงเรียน เพราะอะไร แยกให้ชัด

ในตรงนี้หมออยากจะแนะนำคุณพ่อคุณแม่ให้พยายามคัดแยกอาการที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียน ว่าเกิดจากการถูกทำร้าย หรือเป็นแค่ความกังวลที่เด็กกลัวการพลัดพรากจากพ่อแม่แล้วไม่อยากไปโรงเรียนตามวัยของเด็กอายุ 3 ขวบ (separation anxiety) กันแน่!

สำหรับความกังวลที่จะพลัดพรากจากพ่อแม่ตามพัฒนาการของเด็กอายุ 3 ขวบ เด็กมักจะกังวลอย่างมากเมื่อคิดถึงการจากพ่อแม่ไปโรงเรียน กลัวว่าจะเกิดอันตรายกับพ่อแม่ เช่น อุบัติเหตุ เจ็บป่วย ตาย กลัวว่าตัวเองจะถูกลักพาตัวไปแล้วไม่ได้เจอพ่อแม่ กลัวการอยู่คนเดียวโดยที่ไม่มีพ่อแม่อยู่ด้วย โดยเด็กอาจจะแสดงอาการทางร่างกายในเช้าวันจันทร์ที่จะต้องไปโรงเรียน เช่น บ่นปวดหัว ปวดท้อง และไม่อยากไปโรงเรียนเพื่ออยากจะอยู่กับพ่อแม่ แต่อาการจะดีขึ้นในวันศุกร์หรือวันที่ไม่ต้องไปโรงเรียน ซึ่งถ้าพ่อแม่สามารถปลอบ ทำให้เด็กมั่นใจว่าพ่อแม่จะพาไปโรงเรียนแล้วไปรับตามปกติทุกวัน ก็จะทำให้เด็กมั่นใจว่าพ่อแม่จะไม่หายไปไหน เด็กก็มักจะไปโรงเรียนได้ แล้วเมื่อไปถึงโรงเรียน อาการกลัวดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปและเด็กจะสามารถเรียนตามปกติได้

ซึ่งจุดนี้จะแยกจากความกลัวที่ถูกครูหรือเพื่อนทำร้ายได้ เพราะถ้าเด็กกลัวที่ครูและเพื่อนทำร้าย ไม่ว่าพ่อแม่จะปลอบหรือบังคับเด็กให้ไปโรงเรียนอย่างไร เด็กก็จะไม่อยากไป แม้ว่าจะไปถึงโรงเรียนแล้วก็จะยังปรับตัวไม่ได้ มีอาการหวาดกลัว หวาดผวาอยู่ และการหวาดกลัวนี้จะกลับมาจนถึงที่บ้าน เช่น กลัวการเข้าห้องน้ำ กลัวเสียงดัง ผวาง่าย มีอาการฝันร้าย โดยที่ฝันว่าตัวเองถูกทำร้าย ไม่ได้ฝันร้ายว่าพ่อแม่หายไป หรือพ่อแม่เป็นอันตราย นอกจากนี้จะพบว่าตามร่างกายเด็กอาจมีรอยแผลแปลกๆ เช่น รอยหวดด้วยไม้ รอยฟกช้ำใต้ร่มผ้าต่างๆ ที่อาจหาที่มาไม่ได้ หรือเกิดจากการโดนเพื่อนหรือครูทำร้ายนั่นเอง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@nate_dumlao

ถูกทำร้ายบ่อยๆ ระวังปัญหาทางจิตมาเยือน

หากเด็กถูกกระทำรุนแรงบ่อยๆ เป็นเวลายาวนาน เด็กจะมีผลกระทบที่มากขึ้น ซึ่งจะเป็นบาดแผลจิตใจในระยะยาว ทำให้เด็กรู้สึกตนเองมีคุณค่าต่ำ มีความคิดลบต่อตัวเอง อาจจะมีปัญหาทางสุขภาพจิตต่างๆ ทั้ง โรควิตกกังวล โรค phobia เช่น กลัวครู โรคหวาดผวาหลังจากเจอเหตุการณ์รุนแรงทั้ง acute stress disorder,post traumatic stress disorder รวมไปถึงโรคซึมเศร้า ซึ่งการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขอย่างแน่นอน

จะมีวิธีรู้ได้อย่างไร? ว่าลูกถูกทำร้าย

ในจุดนี้พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูกด้วยประโยคปลายเปิด เช่น ถามว่าไปโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง เล่นอะไรกับเพื่อนบ้าง ครูสอนยังไงบ้าง วันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่สบายใจอะไรบ้าง กลัวอะไรบ้าง มีเพื่อนมาแกล้งหรือเปล่า หรือถูกครูทำร้ายหรือไม่ ไม่ควรมองแต่เพียงว่าการที่ลูกพูดว่าไม่อยากไปโรงเรียนเพราะว่าลูกขี้เกียจ หรือไม่รับผิดชอบ หรือเป็นแค่ภาวะวิตกกังวลในการแยกจากพ่อแม่ การพูดกับลูก โดยถามเป็นประโยคปลายเปิดหัดให้ลูกเล่าเรื่องบ่อยๆ จะทำให้สามารถค้นเจอได้เร็วขึ้นว่าลูกถูกทำร้ายหรือเปล่า แล้วยิ่งหากคุณสอนลูกด้วยว่าถ้าถูกใครทำร้ายที่โรงเรียนควรมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง โดยไม่ต้องกลัวใครขู่ เพราะแม่จะปกป้องไม่ให้ถูกทำร้ายซ้ำ ก็จะยิ่งค้นเจอปัญหาได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ผู้ปกครองควรมีกลุ่มผู้ปกครองทั้งออนไลน์และในชีวิตจริง ที่จะช่วยกันสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีอาการแปลกๆ เปลี่ยนไปหรือไม่? เพื่อช่วยกันเป็นหูเป็นตา

เมื่อเจอปัญหาว่าลูกถูกทำร้าย พ่อแม่ควรจะทำอย่างไร?

อย่างแรกพ่อแม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าลูกจะปลอดภัย ไม่โดนทำร้ายซ้ำ พ่อแม่จะไม่บังคับให้ลูกไปโรงเรียนถ้าปัญหายังไม่ได้รับการคลี่คลาย เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าปลอดภัยจริงๆ ถ้าปัญหาเกิดที่โรงเรียนจากครูทำร้ายจริง ก็ควรจะแจ้งฝ่ายบริหารของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทำการตรวจสอบ แล้วจัดการตามความผิดเพื่อไม่ให้เด็กถูกกระทำซ้ำ

ถ้าพบว่าเด็กมีปัญหาด้านอารมณ์ความรู้สึกแล้วพ่อแม่ไม่สามารถจัดการได้ อย่าปล่อยปัญหานั้นไว้โดยคิดว่ามันจะหายเอง ควรค้นหาตัวช่วยโดยพาไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเพื่อให้เด็กได้รับการประเมินและช่วยเหลือเพราะการช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถเยียวยาจิตใจเด็กได้ดีกว่าการปล่อยปัญหาไว้นานๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@thiiagocerqueira

“แม้ว่าปัญหานี้จะไม่ได้เกิดเป็นครั้งแรก แต่หมออยากให้เป็นครั้งสุดท้ายเพราะเป็นเรื่องที่สะเทือนใจมาก หมอสงสารทั้งพ่อแม่และเด็กที่ถูกทำร้าย แต่ในอีกมุมนึงก็สงสารครู เพราะครูที่ทำร้ายร่างกายเด็กอาจจะมีสภาะจิตใจที่ผิดปกติ อาจจะมีโรคทางจิตเวชหรือเคยได้รับการเลี้ยงดูแบบถูกทารุณกรรมมาตั้งแต่เด็กจึงเลียนแบบพฤติกรรมมาทำร้ายเด็ก ครูจึงควรได้รับการประเมินและบำบัดรักษาเช่นกัน”

สุดท้ายแล้ว หากทุกฝ่ายช่วยกันสอดส่องดูแลคัดกรองครูอย่างดี โดยมีการประเมินสภาพจิตก่อนจะเข้าสอน และพ่อแม่ก็ช่วยกันสอดส่อง ว่าพาลูกเข้าเรียนแล้วพฤติกรรมลูกเปลี่ยนไปในแง่ไม่ดีอย่างไรบ้าง น่าจะเป็นการดีที่สุด

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้าง มาถึงที่สุดท้ายของบทความกันคะเป็นยังไงกันบ้างคะ มีความข้างต้นที่ DooDiDo ได้นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งดีๆ เมื่อลูกคุณถูกทำร้ายและคุณควรที่จะทำหรือหาทางแก้อย่างไรเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเก่าๆ ของเราไม่อยากไปเรียนก็คงจะใช้คัดแยกให้ชัดเจนนะคะต้องมีเหตุผลอะไรถึงไม่อยากไปบางคนอาจจะโดนสังคมเพื่อนกลั่นแกล้งหรือโดนครูทำร้ายร่างกายหรือแม้แต่ตัวของเขาเองนั้นถูกทำลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากคนใกล้ตัวก็บอกว่าคุณพ่อคุณแม่จากหมั่นสังเกตว่าลูกของคุณมีสิ่งใดที่เปลี่ยนไปบ้างนะคะเพราะว่าอารมณ์และจิตใจของพวกเขายังคงอ่อนไหวอยู่มากดังนั้นก็ควรที่จะให้ความใส่ใจกับพวกเขามากขึ้นด้วยเช่นกัน

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.phyathai.com