ข้อควรรต้องระวังโรคที่มาพร้อมหน้าฝนที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้!!

WM

ช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะในเด็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่

เราต้องยอมรับว่าในช่วงหน้าฝนจะเป็นช่วงที่เด็กๆ ป่วยง่ายที่สุด ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวอากาศชื้น ทำให้อุณหภูมิในร่างกายแปรปรวนได้ง่าย เนื่องจากไวรัสตายยากขึ้น สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนานขึ้น และสามารถแพร่กระจายและทนทานมากขึ้น สภาพอากาศประเทศไทยปัจจุบันอยู่ในช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะในเด็กที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะระบบภูมิต้านทานในร่างกายยังไม่สมบูรณ์ แข็งแรง อาจนำมาซึ่งการติดเชื้อ และเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย

ในช่วงหน้าฝนเช่นนี้ อากาศจะเริ่มเย็นลง และมีความชื้นสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี ส่งผลให้เกิดโรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน โดยเฉพาะในเด็ก ที่ระบบภูมิต้านทานในร่างกายยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและเกิดโรคเด็กต่าง ๆ ได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพของลูกกันเป็นพิเศษ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/victoria_art-6314823/

ไวรัสที่สำคัญที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. ไวรัสในกลุ่มระบบทางเดินหายใจ ที่น่ากังวล และก่อให้เกิดอาการของโรคค่อนข้างหนัก คือ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อเด็กได้รับเชื้อไข้หวัดเข้าสู่ร่างกายแล้วจะส่งผลให้เด็กมีอาการคือคัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ จาม คอแห้ง เจ็บคอ เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไอแห้ง ไอมีเสมหะ หากอาการรุนแรงและลุกลามอาจมีโรคแทรกซ้อนที่มากับไข้หวัดก็คือ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรประมาทกับอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ของลูก หากพบว่าลูกเจ็บป่วยไม่สบาย ก็ควรใส่ใจอาการของลูกเป็นพิเศษ

ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus ไวรัส RSVหรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSVเป็นโรคติดเชื้อที่มีอาการคล้ายหวัดแต่บางครั้งอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นปอดอักเสบได้ไวรัส RSVเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบาดในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

สำหรับอาการของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV นี้เด็กจะมีอาการหอบเหนื่อยและหายใจลำบากอย่างไรก็ตามอาการบางอย่างของโรคติดเชื้อไวรัส RSV นี้อาจคล้ายกับอาการของไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จามอาจจะทำให้พ่อแม่แยกความแตกต่างของอาการหวัดและไวรัสได้ยาก ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตเพิ่มเติมว่า ลูกมีอาการเหนื่อยหอบและหายใจเร็ว และมีเสียงครืดคราด ๆ และไอหนักมาก ๆ หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ในทันที และที่สำคัญหากลูกมีโรคประจำตัวอย่างหอบหืด ภูมิแพ้ พ่อแม่ยิ่งไม่ควรนิ่งนอนใจกับอาการป่วยของลูก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@anniespratt
  1. ไวรัสในกลุ่มทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคมือเท้าปาก จากเชื้อ Enterovirus ทำให้เกิดแผลที่ มือ เท้า และภายในช่องปาก โรคมือเท้าปากจะพบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยมี อาการที่แสดงของโรคนี้คือ มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย หลังจากนั้น 2-3 วันจะมีอาการเจ็บปากจะไม่ยอมทานข้าว เพราะในปากมีตุ่มแดงทั้งที่ลิ้น เพดานปากและกระพุ้งแก้ม แล้วกลายเป็นตุ่มพองใสในที่สุด นอกจากนี้ยังมีการอักเสบและแดงบริเวณรอบๆ ตุ่ม เมื่อตุ่มแตกออกจะเป็นแผลหลุมตื้นๆ และมี ผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และก้น แต่จะไม่คัน อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่มีความรุนแรงมากนัก จนคุณพ่อคุณแม่ร้อนใจ เพราะอาการไข้ขึ้นนั้นจะลงภายใน 3 – 5 วัน อาการของเด็กก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าดูอาการเจ้าตัวน้อยอย่างใกล้ชิด

โรคท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง ซึ่งมีสาเหตุมากจากไวรัสโรต้า ที่ทำให้ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งมาจากของเล่น อาหาร หรือของใช้ใกล้ตัวเด็กที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มักนำของเล่น หรือของใช้ที่มีเชื้อนี้เข้าปากโดยไม่รู้ตัว จากนั้นจะถูกขับออกทางอุจจาระของผู้ป่วย เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย 

อาการส่วนใหญ่จะพบว่า ท้องเสีย อาเจียน บางรายจะมีไข้สูง กินได้น้อย งอแง ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ หรือในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการชักเกร็งได้ ดังนั้นเด็กทารกควรให้กินนมแม่จะช่วยได้ระดับหนึ่ง และดูแลสุขลักษณะการกิน การเล่นให้เหมาะสม ต้องสะอาด ขณะเดียวกันไม่ควรพาเด็กเข้าเนิร์สเซอร์รีเร็วเกินไป เพราะเด็กที่อยู่ด้วยกันเยอะ ๆ การแพร่กระจายของเชื้อจะมีได้ง่าย

การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทั้ง 2 กลุ่ม จะสามารถแพร่กระจายได้ในลักษณะเดี่ยวกัน คือ ผ่านการ ไอ จามหรือการสัมผัสสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระ เพราะในอุจจาระของเด็กที่ติดเชื้อโรต้า จะมีเชื้ออยู่ในปริมาณที่มาก หากจำกัดไม่ถูกสุขลักษณะ หรือล้างมือไม่สะอาด เชื้อก็อาจแพร่กระจายไปสู่เด็กคนอื่นได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/exergencorporation-16269701/

อาการที่ควรรีบไปพบแพทย์

  • มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส เพราะอาจทำให้เด็กเสี่ยงต่อภาวะชัก
  • ซึม หงอย เอาแต่นอน
  • กินได้น้อย หรือไม่กินเลย โดยเฉพาะถ้ากินน้ำไม่ได้ให้รีบมาพบแพทย์
  • อาเจียนมาก ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ว่าเด็กมีอาการรุนแรง
  • อุจจาระมากผิดปกติ
  • มีอาการชัก เกร็ง มือเท้าเย็น

สำหรับการดูแลลูกน้อยของคุณให้ห่างไกลจากปัญหาสุขภาพในช่วงหน้าฝนและอากาศเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ DooDiDo แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกเขาให้ล้างมือบ่อย ๆ ในทุกครั้งหลังการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงก่อนการกินอาหาร และพยายามหลีกเลี่ยงการพาลูกไปอยู่ใกล้กับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการพาลูกไปเดิมตามศูนย์การค้าต่าง ๆ รวมถึงการการให้ลูกได้รับวัคซีนตามกำหนดที่ควรได้รับ ทั้งนี้เพื่อป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคระบาดยอดฮิตทั้งหลายในหน้าฝนนี้

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://vichaivej-omnoi.com