AWC ชูยุทธศาสตร์ปั้น“AEC TRADE CENTER”ศูนย์ค้าส่งกลางเมือง

WM

ภาพจาก Nuuly

บนพื้นที่กว่า 3 หมื่นตร.ม.  AWC ชูยุทธศาสตร์ปั้น “AEC TRADE CENTER” ศูนย์ค้าส่งใจกลางเมือง มั่นใจปีแรกยอดขายกว่า 1,000 ล้าน

AWC ชูยุทธศาสตร์ หลังการปรับโฉมพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ ห้างไอทียักษ์ใจกลางเมืองให้กลายเป็นศูนย์ค้าส่งแบบครบวงจร บนพื้นที่กว่า 3 หมื่นตารางเมตร โดยรวมผู้ประกอบการร้านค้ากว่า 400 ร้านค้า อาทิ เครื่องหนังไทย “ไมเคิลแองเจโล่” , เมลามีนและพลาสติก “ศรีไทยซุปเปอร์แวร์” , หมอนยางพารา “Laytex” , เครื่องนอน “Synda” เป็นต้น

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสทเวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้บริหารศูนย์ค้าส่ง “AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION” เปิดเผย

ภายใต้คอนเซ็ปต์ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” นั้น บริษัทมีนโยบายมุ่งสร้างแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ประกอบการในธุรกิจค้าส่ง ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้า เพื่อใช้เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจ โดยจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชนไทยและต่างชาติ

ซึ่ง AWC ได้จับมือกับ “อี้อู” (Yiwu) หรือ Zhejiang China Commodities City Group Co., Ltd. (CCC Group) ผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมือง Yiwu ประเทศจีน

WM
ภาพจาก pixabay

ด้วยการตั้งศูนย์ “IC Mall” ที่คัดสรรสินค้าคุณภาพจากผู้ประกอบการไทยไปแสดงและจัดจำหน่ายที่ประเทศจีน และศูนย์แสดงสินค้าคุณภาพ “Yiwu Selection Thailand Showcase” เพื่อให้ผู้ซื้อในประเทศ ได้เลือกสรรสินค้าคุณภาพดีและราคาต้นทางโดย 5 ปัจจัยที่จะผลักดันให้เออีซี เทรด เซ็นเตอร์ฯ นี้เป็นแหล่งค้าส่งสำคัญ ได้แก่

  1. ทำเล ซึ่งที่นี่จะเป็นโครงการแฟลกชิพ “ศูนย์กลางการค้าส่งแบบวันสต็อป ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ” รวมสินค้ากว่า 5 หมื่นรายการ เพื่อช่วยดึงดูดพลังในการจับจ่ายของนักช็อป
  2. ครบเครื่องเรื่องค้าส่ง ซึ่งนอกจากร้านค้าที่เปิด 365 วัน ที่นี่ยังมี ศูนย์ Solution Service Center (SSC) ส่งเสริมทางธุรกิจครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการส่งออก การนำเข้าสินค้า ช่วยเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ
    ซึ่ง AWC ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้าด้วย
  3. การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ทั้งเรื่องของความสะดวก ความครบครัน และราคา
  4. การจับมือพันธมิตรช่วยกระจายสินค้าทั่วไทยและทั่วโลก เช่น การจับมือกับอี้อู เปิดประตูการค้าระหว่างไทย-จีน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยส่งออกสินค้าไทยไปจัดแสดงและจำหน่ายที่ประเทศจีน ผ่านเครือข่ายของศูนย์คัดสรรสินค้า IC Mall ของ Yiwu จำนวน 300 แห่ง และมีแผนจะเพิ่มเป็น 10,000 แห่ง ภายใน 3 ปี
    ยังมีจำหน่ายผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีน เช่น Tmall.com, JD.com, Alibaba.com, Kaola.com, IC-Mall Wechat Application เป็นต้นและ 5. การจัดโปรโมชั่น
    เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายต่อเนื่องตลอดปี“ในปีแรกคาดว่าจะมีเงินสะพัดจากการจับจ่ายจากคนไทยไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และเมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา คาดว่าจะมียอดขายประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท”

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 21-22