7 อาหารที่ทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบไม่ควรทาน ทำให้มีพัฒนาการช้า!

WM

โภชนาการที่ดีและเสมาะสมกับวัย ช่วยทำให้ร่างกายและเซลล์สมองของเด็กพัฒนาไปได้ดีตามเกณฑ์

คุณแม่ทั้งหลายรู้กันดีว่าอาหารนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเจริญเติบโตของลูกน้อย และในช่วงที่ลูกน้อยของคุณแม่ที่มีอายุอายุต่ำกว่า 1 ปี ยิ่งต้องการการดูแลในเรื่องของโภชนาการ ต้องเลือกให้เหมาะกับวัย เพื่อที่ทารกน้อยจะได้มีการเจริญเติบโตที่สมวัยตามเกณฑ์ และมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและด้านอื่นๆ ที่ดีตามมา

ทารกแรกเกิดถึงวัย 3 ขวบ เป็นวัยที่ร่างกายต้องการอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งโภชนาการที่ดีและเสมาะสมกับวัย จะช่วยทำให้ร่างกายและเซลล์สมองของเด็กพัฒนาไปได้ดีตามเกณฑ์ แต่ในบางครั้ง คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะให้ลูกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจได้ ซึ่งอาหารบางอย่างนั้น อาจส่งผลต่อสมอง ภาวะแพ้อาหาร และทำให้ลูกเป็นเด็กพัฒนาการช้าได้ ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่มาดูกันดีกว่าว่ามีอาหารอะไรที่ลูกเรายังกินไม่ได้บ้าง

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://pixabay.com/th/users/felixmittermeier-4397258/

1. ถั่วเปลือกแข็งทั้งเมล็ด
สาเหตุที่ไม่ควรให้เด็กเล็กอายุยังไม่ถึง 3 ขวบกินถั่วเลือกแข็งเต็มเมล็ด ก็เพราะ ‘เมล็ดถั่ว’ นั้นมีขนาดเล็ก เสี่ยงต่อการสำลัก หรือเข้าไปอุดตันในหลอดลมจนเด็กขาดอากาศหายใจได้ ในขณะเดียวกัน สำหรับครอบครัวที่มีประวัติแพ้ถั่ว เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ก็อาจสุ่มเสี่ยงแพ้อาหารประเภทถั่วหรือเนยถั่วแบบเดียวกับคนในครอบครัวได้

2. น้ำตาล
อาหารที่ทำจากน้ำตาลทรายบริสุทธิ์จะมีแคลอรี่สูง แต่คุณค่าทางโภชนการต่ำ ซึ่งจะทำให้ความอยากอาหารของเด็กเสียไป นำไปสู่โรคอ้วน ฟันผุ อีกทั้ง นักโภชนาการยังชี้แนะอีกว่า อาหารเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรมีส่วนผสมของน้ำตาล เพราะจะทำให้เด็กติดหวานและเป็นโรคต่างๆ ตามมา

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://pixabay.com/th/users/devanath-1785462/

3. นมวัวหรือนมแพะ
ทารกวัยแรกเกิด-6 เดือน ที่กินนมแม่อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นจะต้องกินนมวัวหรือนมแพะ ที่นอกจากจะไม่มีธาตุเหล็กและสารอาหารอื่นๆ ที่เพียงพอตามที่ทารกต้องการแล้ว ยังเสี่ยงต่อการแพ้โปรตีนในนมวัวอีกด้วย

4. ไข่ดิบ หรือ ไข่ไม่สุก
ไข่ดิบหรือไข่ที่ไม่สุก อาจเป็นแหล่งของซาลโมเนลลา ซึ่งจะทำให้ทารกเกิดอาการ ‘อาหารเป็นพิษ’ หรือในด็กบางรายอาจมีอาการแพ้ไข่ แต่ทั้งนี้ทั้งนี้ หากครอบครัวไม่มีประวัติแพ้ไข่ ก็สามารถป้อนไข่ต้มให้ลูกกินได้ ตั้งแต่อายุ 1 ปี โดยให้เริ่มจากปริมาณน้อยๆ พร้อมกับสังเกตอาการแพ้ของลูก

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://pixabay.com/th/users/stevepb-282134/

5. น้ำผึ้ง
น้ำผึ้งเป็นอาหารที่มีน้ำตาลสูงและก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของทารกแบบเดียวกับน้ำตาล อีกทั้งในน้ำผึ้งยังมีแบคทีเรียที่ทราบกันดีว่าก่อให้เกิดภาวะโบทูลิซึม* ในทารก ด้วยเหตุนี้จึงไม่แนะนำให้ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี กินน้ำผึ้ง (หลังจากเลยวัยนี้แล้ว ลำไส้จึงจะเจริญเติบโตเต็มที่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเติบโต)

6. เกลือ
การเติมเกลือในอาหารจะทำให้ไตของเด็กทารกที่ยังเจริญไม่เต็มที่ทำงานหนักเกินไป และยากต่อการขับออกจากไต และในน้ำนมแม่มีเกลืออยู่แล้ว อาหารของลูกน้อยในวัยก่อน 1 ปี จึงไม่ควรมีส่วนผสมของเกลือ หรือรอจนกว่าจะอายุ 7 เดือน ร่างกายของทารกจะต้องการเกลือปริมาณสูงสุด วันละ 1 กรัมเท่านั้น ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะอาจส่งผลกับไตของลูกน้อย แนะนำให้คุณแม่ทำอาหารที่เค็มจากธรรมชาติ (ผักต่างๆ , ปลา) จะดีกว่า

WM
ขอบคุณภาพจาก : https://pixabay.com/th/users/ponce_photography-2473530/

7. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง
หลีเลี่ยงการให้ลูกทานอาหารที่มีไขมันสูงในปริมาณที่มากเกินไป เช่น เนย เนยเทียม เนยแข็ง เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มันๆ ขนม คุ๊กกี้ เป็นต้น

อาหารทั้ง 7 อย่างที่ DooDiDo นำมาเสนอในวันนี้ เป็นอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกน้อยที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบทานนะคะ เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ไม่ดีแล้ว ยังเสี่ยงทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการช้าอีกด้วยค่ะ คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการที่ครบถ้วน เพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดีของลูกน้อยนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://happymom.in.th