7 สาเหตุของการนอนกรนในเด็ก ภัยเงียบที่พ่อแม่ห้ามละเลย

WM

อาการนอนกรนในเด็ก อาจทำให้มีความผิดปกติทางพัฒนาการ ทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา

เมื่อส่งลูกเข้านอนแล้วคุณพ่อ คุณแม่ เคยสังเกตว่าลูกนอนกรน หายใจติดขัด หายใจเสียงดังกันบ้างไหมคะ ซึ่งการที่เด็กนอนกรนนั้น เป็นอาการที่บ่งบอกว่า ความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน การกรนทำให้ลูกมีปัญหาในการนอนจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลุกได้ค่ะ เพราะการนอนถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญสำหรับวัยเด็กนั่นเองค่ะ วันนี้เราจะพามาดู 7 สาเหตุของอาการนอนกรนในเด็ก ภัยเงียบที่พ่อแม่ห้ามละเลย

เด็กนอนกรนจะมีอาการ เช่น นอนกรนกัดฟัน, นอนหายใจทางปาก, หายใจติดขัด เสียงดัง, หายใจเสียงครืดคราดในคอ หรือ เหงื่อออกเวลานอน ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อพัฒนาการของลูกน้อยในหลายๆด้าน ดังนั้น พ่อแม่ควรศึกษาปัญหาเด็กนอนกรน สาเหตุ และวิธีแก้ปัญหาเด็กนอนกรนอย่างถูกวิธี อีกทั้งปัญหาการรักษาอาการเด็กนอนกรน สามารถรักษาด้วยเครื่อง CPAP และ เครื่อง BiPAP เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ได้หรือไม่ หาคำตอบทั้งหมดได้จากบทความต่อไปนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ddimitrova-1155171/

1. ต่อมทอลซินหรือต่อมอะดีนอยด์โต
ต่อมอะดีนอยด์คือต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ตำแหน่งตั้งอยู่บริเวณหลังโพรงจมูก โดยส่วนมากพบว่า การที่ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โตมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เนื่องจากต่อมทอนซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ ซึ่งทำหน้าที่เช่นเดียวกับต่อมอะดีนอยด์
เมื่อต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โตมากเกินไปจากการการติดเชื้อ ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจและเป็นที่มาของอาการนอนกรนในเด็ก นี่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการหายใจไม่เป็นสะดวกในเด็ก

2.โรคอ้วน
จากการศึกษาพบว่า เด็กที่มีน้ำหนักเกินมีแนวโน้มที่จะเข้าข่ายเป็น “เด็กนอนกรน” มากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ โรคอ้วนสามารถทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากยิ่งขึ้น

3. โรคภูมิแพ้
อาจทำให้เกิดการอักเสบในจมูกและลำคอ ซึ่งอาจทำให้หายใจได้ยากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเด็กนอนกรนหรือลูกหยุดหายใจขณะหลับ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@leorivas

4. โรคหอบหืด
เช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดอาจยับยั้งการหายใจตามปกติและหากทำให้เกิดการอุดตันบางส่วนของทางเดินหายใจ จึงยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกหยุดหายใจขณะหลับ

5. ควันบุหรี่เพื่อสิ่งแวดล้อม (ETS)
การสัมผัสกับ ETS ซึ่งมักเรียกว่า “ควันบุหรี่มือสอง” อาจส่งผลต่อการหายใจและมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น 10 ของการนอนกรนในเด็ก

6. อากาศที่ปนเปื้อน
คุณภาพอากาศที่ต่ำหรือมีสารปนเปื้อนมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อการระบบหายใจของลูกน้อย รวมถึงยิ่งมีโอกาสที่ทำให้เด็กกรนได้ง่ายยิ่งขึ้น

7. ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมสั้นลง
การวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กนอนกรนกับการย่นระยะเวลาการให้นมอาจมีความเกี่ยวข้องกัน มีความเป็นไปได้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนบนพัฒนาและลดอาการนอนกรนในเด็กได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@anniespratt

วิธีการสังเกตความผิดปกติจากภาวะเด็กนอนกรน
1.คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ง่ายๆ ในช่วงลูกนอนหลับ เช่น มีเหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง
2.ลุกปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ พฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยช่วงกลางวันลูกจะมีอาการง่วงนอนเนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หงุดหงิดง่าย เป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง ไม่เชื่อฟังพ่อแม่หรือครู
3.นอนกรนเสียงดัง และเสียงกรนดังเฮือก เหมือนคนขาดอากาศหายใจ และมีอาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน
4.หมั่นสังเกตหากลูกมีอาการนอนกรน ฟังเสียงกรนว่ามีเสียงกรนแบบขาด ๆ หาย ๆ หรือมีการหยุดหายใจไปชั่วขณะหรือไม่

การนอนกรนในเด็กถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อพัฒนาการของลูกอย่างมาก พ่อแม่ไม่ควรละเลยเด็ดขาดนะคะ ควรจะต้องคอยสังเกตในขณะที่ลูกหลับ เพราะอาการนอนกรนเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ เมื่อเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจขึ้น ทำให้มีอาการหลับ ๆตื่น ๆ ตลอดทั้งคืนค่ะ DooDiDo หากลูกนอนกรนจนผิดปกติให้คุณพ่อคุณแม่พาไปพบแพทย์เพื่อวิตรวจรักษาได้ทันเวลาค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา :  www.vitalsleepclinic.com, www.nksleepcenter.com