7 วิธีสอนลูกให้มีความมั่นใจ เสริมสร้างทักษะทางสังคมที่ดี

WM

การเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก มีความมั่นใจ เป็นการสร้างพื้นฐานให้กับอนาคตของเด็กๆ

การเป็นคนที่มีความมั่นใจ จะช่วยเปิดโอกาสการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ลูกได้ และยังทำให้ลุกได้มีโอกาสไปถึงเป้าหมายในชีวิตได้อย่างที่หวัง ซึ่งการที่จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่มั่นใจได้นั้น การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก  การเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาแข็งแรงและเป็นคนดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และภือว่าเป็ฯเรื่องที่ยากกว่าก็คือการเลี้ยงลูกให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่เฉลียวฉลาด มีความมั่นใจ และประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยเคล็ดลับและวิธีการมากมายที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ วันนี้เราจะพาคูรพ่อคุณแม่มาดูวิธีสอนลูกให้มีความมั่นใจ เสริมสร้างทักษะทางสังคมที่ดีค่ะ

การพิชิตเป้าหมายที่ตั้งไว้ในชีวิตให้สำเร็จ ต้องเริ่มจากการมีความมั่นใจและนับถือในตนเองเสียก่อน เมื่อมีความรู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองแล้ว ย่อมมองเห็นผลลัพธ์ของสิ่งที่เรากำลังตั้งใจทำนั้นว่าจะสำเร็จไปได้ด้วยดี และการที่จะเติบโตมาเป็นคนที่มีความเชื่อมั่น มีความเชื่อใจตนเองได้ ต้องเริ่มมาจากการปลูกฝังพัฒนาการทางอารมณ์และเสริมสร้างทักษะทางสังคม ดังนั้นการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก มีความนับถือในตนเองและมีความสุข จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นการสร้างพื้นฐานให้กับอนาคตของเด็ก ๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/vladvictoria-9785604/

1.รู้จุดอ่อน โฟกัสจุดแข็ง
การรับรู้จดอ่อนและจุดแข็งของตนเองถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เพราะเราจะได้รู้จักหาวิธีการรับมือและดึงความสามารถออกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่ ควรคอยสังเกตว่าลูกของเรามีจุดแข็งอะไร มีจุดอ่อนตรงไหน เพื่อที่จะได้คอยหาวิธีสนับสนุนให้เขาสามารถใช้จุดอ่อนมาสนับสนุนจุดแข็ง และใช้จุดแข็งมาเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ ตัวอย่างเช่น หากลูกไม่ชอบคณิตศาสตร์ แต่ชอบศิลปะ คุณอาจใช้วิธีหาของเล่นที่ช่วยเสริมทักษะทางศิลปะแต่สอดแทรกเรื่องของคณิตศาสตร์มาให้เขาเรียนรู้ เพื่อทำให้เขาได้เสริมสร้างทักษะทั้ง 2 อย่างไปพร้อม ๆ กัน

2. สอนให้ลูกคิดบวก
“ความคิดสามารถกำหนดชีวิตได้” คนที่ประสบความสำเร็จเชื่อว่า ความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับความคิด และเพื่อก้าวไปสู่จุดหมายสูงสุดจึงเลือกที่จะคิดในแง่บวกเสมอ แม้ว่ากำลังจะเผชิญกับปัญหาอยู่ก็ตาม ต้องคิดเสมอว่าจะผ่านมันไปได้ เพราะวิกฤตสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้เสมอ เช่นเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้เด็ก ๆ คิดบวกโดยเลือกมองปัญหาให้เป็นโจทย์ที่สนุก ไม่ใช่อุปสรรค และเข้าใจธรรมชาติ ยอมรับความแตกต่างของบุคคล

3. ฝึกให้ลูกได้ตัดสินใจเอง
เสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกด้วยการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ตัดสินใจเลือกสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น เลือกเสื้อผ้า เลือกของใช้เอง และสนับสนุนให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถร่วมแสดงความเห็น ให้เหตุผลต่อประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้วิธีการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล แต่ถ้าลูกยังเลือกหรือแสดงความเห็นไม่ถูกใจคุณ ขอให้ใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งปฏิเสธความเห็นนั้น ถ้าไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือสุขภาพของลูก ควรยอมรับและแสดงความเห็นของคุณเพิ่มเติม หรืออาจพบกันครึ่งทางก็ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jimmydean

4. ชื่นชมลูกบ้าง
เป็นเรื่องที่ดีที่จะคุณพ่อคุณแม่จะชื่นชมลูก ๆ ให้เขารับรู้ว่าคุณภูมิใจในตัวเขา แต่บางครั้งการชมเชยเขาอย่างไม่ถูกวิธีก็อาจกลายเป็นผลเสียแทนได้ ดังนั้นคุณควรชื่นชมลูกอย่างชาญฉลาด ด้วยสองหลักการนี้
– อย่ามากเกินไป อย่าเอ่ยคำชื่นชมให้กับลูกน้อยมากจนเกินพอดี
– ชื่นชม อย่ามองเพียงแค่ผลลัพธ์ แต่ควรชื่นชมเขาระหว่างทางด้วย

5. ไม่ควรที่จะเปรียบเทียบลูกกับใครเด็ดขาด
หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยการพูดถึงความเก่งของลูกคนอื่นมาเป็นเป้าหมายให้ลูกของเราตามให้ถึงเป้านั้นซ้ำ ๆ โดยหวังว่าลูกจะเห็นตัวอย่างที่ดี และจะเป็นเช่นนั้นบ้าง แต่ในทางกลับกันการที่คุณเปรียบเทียบเขากับคนอื่นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ นั้นจะกลายเป็นปัจจัยด้านลบที่สร้างความกดดันจนทำให้เกิดผลเสีย เพราะแทนที่เขาจะฮึดมีกำลังใจ แต่เมื่อคุณพูดซ้ำ ๆ เปรียบเทียบบ่อย ๆ อาจจะทำให้เขากลัวการแสดงออกและขาดการนับถือตัวเอง จนกลายเป็นการสร้างปมด้อยให้กับเขาไป

6.งดวิพากษ์วิจารณ์ด้วยถ้อยคำในเชิงลบ
“คนพูดไม่จำ คนฟังกลับจำได้ไม่ลืม” เป็นวลีที่พิสูจน์ให้เห็นได้เสมอ ยามที่มีใครสักคนมาพูดไม่ดีใส่คุณทั้ง ๆ ที่คุณพยายามเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังถูกตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรง ทำให้คุณนั้นจำฝังใจ เช่นเดียวกันกับเด็ก ๆ ที่อยู่ช่วงวัยแห่งการจดจำ ไม่ว่าคุณจะพูดอะไร ทำอะไร เขาก็พยายามที่จะจดจำและทำตามเสมอ และหากเขาได้รับฟังคำพูดในเชิงลบเมื่อเขาได้ยินข้อความเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง เขาก็จะจดจำ เริ่มขาดความนับถือตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง และจะย้ำกับตัวเองซ้ำ ๆ ว่าเขานั้นเป็นแบบที่คุณพูด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/author/lifestylememory

7.เป็นแบบอย่างที่ดี
อยากให้ลูกเติบโตขึ้นไปคนเป็นแบบไหนก็ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัว อยากให้ลูกน้อยมีความเชื่อใจในตัวเอง มีความนับถือในตนเอง ก็ต้องเริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่แสดงเป็นตัวอย่างให้เขาเห็นผ่านทัศนคติและพฤติกรรมของคุณในชีวิตประจำวัน อาจแสดงตัวอย่างผ่านกิจกรรมง่าย ๆ ด้วยการทำงานบ้าน คุณต้องแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานบ้านให้สำเร็จ เช่น การเก็บของให้เป็นระเบียบ ล้างจาน กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น เมื่อเขาเห็นคุณทำเป็นแบบอย่างแล้ว เขาจะเกิดความมุ่งมั่นเล็ก ๆ ที่อยากจะทำตามคุณ ซึ่งเป็นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ที่จะช่วยให้ลูกของคุณเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี

การที่เด็ก ๆ ได้คิด ได้ตัดสอนใจเองจะทำให้ลูกได้เรียนรู้วิธีการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล DooDiDo การเปิดโอกาสให้พวกเขาได้อยู่กับผู้ใหญ่ หรือเล่นกับคนหลาย ๆ ช่วงวัย จะทำให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น เปิดโอกาสให้เด็กได้มีบทสนทนากับผู้ใหญ่มากขึ้น และยังจะช่วยทำให้เด็กมีความยืดหยุ่นทางการคิดและมีความมั่นใจเพื่อพบปะพูดคุยกับคนรอบข้างได้มากขึ้นอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.gymboreeclasses-th.com