5 เคล็ดลับในการจัดการกับปัญหา “เด็กติดขวดนม” คุณแม่ห้ามพลาด!

WM

ลูกติดขวดนมเพราะดื่มนมจากขวดบ่อยจนเกิดความเคยชิน

อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องกังวลใจ คงจะเป็นเรื่องของการที่ลูก ติดขวดนม นั่นเองค่ะ เพราะการที่ลูกติดขวดนมนั้น ส่งผลเสียต่าทั้งทางด้านร่างกาย และพัฒนาการของลูกอีกด้วยนะคะ ทำให้พัฒนาการของลูกช้ากว่าปกติได้ค่ะ ซึ่งวิธีการจัดการให้ลูกเลิกขวดนมได้อย่างเห็นผล ด้วยเคล็ดลับในการจัดการกับปัญหาเด็กติดขวดนมมาฝากค่ะ

การที่เด็กติดขวดนม ในช่วงอายุมากกว่า 1 ปี เป็นต้นไป อาจถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหาวิธีลดการใช้ขวดนมลงแล้วล่ะค่ะ เพราะการที่ลูกติดขวดนมนาน ๆ ส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้หลายด้านเลย แต่ก็เข้าใจว่าการงดขวดนมลูกเป็นอะไรที่ทำยากเหมือนกัน วันนี้เราเลยรวมเอาเทคนิคช่วยให้ลูกหย่าขาดจากขวดนมยังไงได้บ้างไปดูกัน..

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@rainierridao

ลูกติดขวดนม เกิดจากสาเหตุอะไร
– ลูกติดขวดนมเพราะดื่มนมจากขวดบ่อยจนเกิดความเคยชิน
– ลูกติดขวดนมเพราะมีความรู้สึกเหมือนขวดนมเป็นตัวแทนของคุณแม่ เพราะเวลาที่เด็กได้ดูดนมจากขวดสาเหตุหลักก็อาจมาจากการที่คุณแม่ต้องออกจากบ้านไปทำงาน หรือกำลังติดภาระกิจอย่างอื่นอยู่
– ลูกติดขวดนมเพราะถูกปล่อยให้ดูดขวดนมแล้วหลับไป ทำให้ขวดนมกลายเป็นของรักของหวงของลูกน้อย
– ลูกติดขวดนมเพราะขวดนมดูดง่าย น้ำนมไหลมาเทมาทันใจกว่าดูดจากเต้า

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/luidmilakot-2358662/

เด็กติดขวดนม ส่งผลกระทบต่อลูกอย่างไรบ้าง
เมื่อเด็ก ๆ อายุเข้าเดือนที่ 6 เป็นต้นไป พ่อแม่อาจเริ่มหาอุปกรณ์ช่วยฝึกลูกน้อยในการดื่มจากแก้ว เช่น แก้วหัดดื่ม หรือ ถ้วยหัดดูดต่าง ๆ มาเป็นตัวช่วยเพื่อที่จะค่อย ๆ ลดการใช้ขวดนมลง เนื่องจากกุมารแพทย์แนะนำว่าเด็กอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป ถึงเวลาที่จะต้องเลิกดูดนมจากขวดได้แล้ว เพราะการที่เด็กติดขวดนมสามารถส่งผลเสียต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
– เด็กที่ติดขวดนมมักพบปัญหาฟันผุ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มักหลับไปพร้อมกับการดูดขวด ทำให้คราบน้ำนม รวมทั้งน้ำตาล ตกค้างอยู่ในช่องปาก กลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อรา และแบคทีเรีย
– ปัญหาฟันยื่น ฟันเหยิน เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบเจอใน เด็กที่ติดขวดนม รวมถึงจุกหลอก หรือ จุกเสมือนนมแม่ ไปจนอายุ 2-3 ปี เนื่องจากลักษณะของการใช้หรือการดูดอุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลต่อการเจริญของขากรรไกรบน เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้ฟันผิดปกติ ส่งผลให้เด็กที่ติดขวดนมนั้นมีฟันยื่น ฟันเหยิน ไม่สวยงาม
– การที่เด็กติดขวดนมนั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน เนื่องจากมีผลการวิจัยพบว่าเด็กที่ดูดนมจากขวดมักกินได้ในปริมาณที่มากกว่าเด็กที่ดูดเต้า
– ลูกที่ติดขวดนม จะมีอาการกินยาก เพราะติดขวด อยากดูดแค่นม ปฏิเสธอาหารเสริมอื่น ๆ แม้อยู่ในวัยที่ต้องการสารอาหารอื่น ๆ เข้ามาเสริมสร้างพัฒนาการก็ตาม
– การที่ลูกติดขวดนมจะทำให้มีพัฒนาการช้า เนื่องจากหมกมุ่นอยู่แต่กับขวดนม ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ เช่น การยกแก้วกระดกไม่ให้เลอะเทอะ ซึ่งประกอบไปด้วยการเรียนรู้ และการใช้อวัยวะหลาย ๆ ส่วนพร้อม ๆ กันด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alyssastevenson

5 วิธีนี้ ลูกเลิกขวดนม ได้แน่นอน

1.ตัดการดูดขวดนมโดยสิ้นเชิง
วิธีนี้เป็นวิธีที่แข็งสุด ๆ คุณแม่ต้องใจแข็งวิธีนี้จะทำให้ลูกเลิกขวดนมเร็วที่สุด ประมาณ 3 วันลูกจะเลิกดูดขวดนมแน่นอนค่ะ

2.ดึงความสนใจให้ไปที่สิ่งอื่น
ถ้าลูกเริ่มอยากดูดขวดนม ให้ลองใช้อย่างอื่นมาดึงความสนใจของลูกเพื่อให้ลูกผ่อนคลาย แต่ถ้าไม่ได้จริง ๆ คุณก็สามารถปล่อยให้ลูกร้องไห้ได้ อย่างน้อยประมาณ 10 นาที ลูกจะค่อย ๆ สงบลงได้ค่ะ

3.ลดปริมาณทีละนิด
วิธีที่นุ่มนวลที่สุด ในการให้ลูกเลิกดูดขวดนม คือการลดปริมาณการดูดของลูกให้น้อยลง อาจจะให้ลูกดูดนมจากขวดในตอนกลางคืนที่จะนอนเท่านั้น ก็ได้ค่ะ

4.ให้รางวัล หรือสิ่งที่ลูกอยากได้เป็นของหลอกล่อ
เมื่อลูกเริ่มหยุดกินนมจากขวดได้ซัก 1-2 มื้อก็ควรให้รางวัลลูก หรือ  สิ่งของ ที่ลูกอยากได้เพื่อให้ลูกมีกำลังใจในการเลิกกินมื้อต่อไป จนกว่าจะเลิกได้สำเร็จค่ะ

5.ไม่ให้ลูกเห็นขวดนมอีกเลย
คุณแม่ควรนำขวดนมไปทิ้งหรือไปซ่อนไว้ในที่ ๆ ลูกมองไม่เห็น หรือบอกลูกว่ามันเสียแล้ว ใช้งานไม่ได้แล้ว ในวันแรกลูกอาจจะร้องไห้หนักเป็นชั่วโมง แต่วันต่อมาลูกจะเข้าใจว่าขวดนมหายไปแล้ว ขวดนมพังแล้วค่ะ

ทั้งหมดที่ DooDiDo นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้เป็นวิธีการจัดการให้ลูกที่ติดขวดนมเลิกได้อย่างแน่นอนค่ะ แต่การที่จะให้ลูกเลิกติดขวดนมนั้นต้องใช้เวลาสักหน่อยนะคะ คุรแม่ควรให้เวลากับลูกในการฝึกด้วย ไม่ควรใจร้อน หงุดหงิดและอารมร์เสียใส่ลูกนะคะ จะทำให้ลูกยิ่งรู้สึกไม่ดี ส่งผลกระทบต่อจิตใจ และไม่สามารถเลิกติดขวดได้ค่ะ ต้องพยายามใจแข็งและให้เวลากับลูกด้วยนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://kidminute.com, www.maerakluke.com