เฟดตรึงดอกเบี้ย เพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินหลังดอนล่าร์่อ่อน

WM

ภาพโดย 3D Animation Production Company จาก Pixabay

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เฟดตรึงดอกเบี้ย ตลาดจับตาดูการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ 

เฟดตรึงดอกเบี้ย เพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินหลังดอนล่าร์่อ่อน ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (16/12) ที่ระดับ 30.03/04 บา/ดอลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดในวันอังคาร (15/12) ที่ระดับ 30.05/07 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จากการที่นักลงทุนเริ่มกลับมาถือสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น จากข่าวความคืบหน้าของวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 โดยมีรายงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ระบุว่า วัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของบริษัทโมเดอร์นามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย และเข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการอนุมัติเป็นกรณีฉุกเฉิน

รายงานดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณว่า FDA จะให้การอนุมัติอย่างเป็นทางการต่อวัคซีนต้นโควิด-19 ของโมเดอร์นาในวันศุกร์

นอกจากนี้นักลงทุนมีความหวังว่าสภาคองเกรสสหรัฐจะสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไม่ช้า โดยสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตได้เห็นพ้องที่จะแยกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9.08 แสนล้านดอลลาร์ออกเป็นร่างกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส

โดยฉบับแรกจะมีวงเงิน 7.48 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาผู้ที่ตกงานและธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่อีกฉบับหนึ่งจะมีวงเงิน 1.60 แสนล้านดอลลาร์เพื่อให้คนช่วยเหลือมลรัฐต่าง ๆ

WM
ภาพโดย Michael Kin จาก Pixabay

เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทรวงแรงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากปรับตัวลง 0.1% ในเดือนตุลาคม ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้น 0.3 ดัชนีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนตุลาคม สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.3% และดัชนีพีเอ็มไอภาคการผลิตสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพฤศจิกายนลดลงจาก 0.9% ในเดือนตุลาคม

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จากปัจจุบันที่ระดับ 8 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน ขณะที่เฟดซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดการเงิน

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (16/12) ที่ระดับ 1.2159/61ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคาร (15/12) ที่ระดับ 1.2146/49 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวค่อนข้างแคบโดยนักลงทุนยังคงจับตาการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรป

โดยนายมิเชล บาร์นิเยร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้แทนการเจรจาฝ่าย EU ว่าด้วยการแยกตัวของอังกฤษออกจาก EU (Brexit) เปิดเผยว่า การบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษ และ EU ยังคงมีความเป็นไปได้ และการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายยังคงดำเนินไปในขณะนี้ เพื่อประสานความคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นการประมงและกฎระเบียบที่จะนำมาใช้ต่อบริษัทต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม

นอกจากนี้นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของ EU ได้ตัดสินใจขยายเวลาในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้า หลังจากทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้ตามกำหนดเส้นตายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.2190-1.2210 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.2197/99 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (15/12) ที่ระดับ 104.44/46 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคาร (15/12) ที่ระดับ 103.85/87 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าเมื่อเช้านี้ มีตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้น 49.7 สูงกว่าครั้งก่อนที่ 49 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 48.9

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 103.25-103.50 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 103.29/34เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (17/12), ดัชนีราคาผู้บริโภคสหภาพยุโรป เดือนพฤศจิกายน (17/12), อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหราชอาณาจักร (17/12), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐ (17/12), ดัชนีภาคการผลิตจากธนาคารกลางสหรัฐสาขาฟิลาเดลเฟีย เดือนพฤศจิกายน (17/12),

ดัชนีราคาผู้บริโภคญี่ปุ่น เดือนพฤศจิกายน (18/12), อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารญี่ปุ่น (18/12), ยอดค้าปลีกสหภาพยุโรป เดือนพฤศจิกายน (18/12), ดัชนีราคาผู้บริโภคเยอรมนี เดือนพฤศจิกายน (18/12) และดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจเยอรมันจากสถาบัน Ifo เดือนธันวาคม (18/12)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -1.25/0.25 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศ อยู่ที่ -3.8/-2.2 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา  ประชาชาติ