เปิดสมมติฐานการท่องเที่ยวของไทยฉุด ท่องเที่ยวดิ่ง 8.4 แสนล.

WM

ภาพจาก pixabay

ท่องเที่ยวของไทยฉุดท่องเที่ยวปี 63 เปิดสมมติฐานการ ดิ่งเหลือ 8.4 แสนล.

เปิดสมมติฐานการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของไทย ถึงสิ้นปี2563 หากยังไม่ปลดล็อก ให้ต่างชาติเข้ามาเที่ยวได้บ้าง รวมถึงการแพร่ระบาดระลอก 2 เลวร้ายสุดในปีนี้ ไทยจะมีรายได้จากเพียง 8.4 แสนล้านบาท บนหลายสมมติฐาน จากการชลอตัวที่เกิดขึ้น

วิกฤติ โควิด-19 ที่ยืดเยื้อ ทั้งยังเกิด การแพร่ระบาดระลอก 2 นับจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน หลังการคลายล็อกดาวน์ เปิดการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ

การระบาดซ้ำที่เกิดขึ้น เป็นตัวแปรสำคัญที่ฉุดความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะทุกประเทศที่กลับมาระบาดซ้ำ จะใช้เวลานานในการติดตามและควบคุมการติดเชื้อที่ยากกว่าเดิม ทำให้หลายประเทศเริ่มกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์พื้นที่ หรือ เมืองที่เกิดการแพร่ระบาด เช่น เมืองดานัง (เวียดนาม) กรุงมะนิลา (ฟิลิปปินส์) รัฐวิกตอเรีย (ออสเตรเลีย) แคว้นคาตาลูญญา (สเปน)

ขณะที่ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ระงับแนวทางส่งเสริมจับคู่การเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดโรค (Travel bubble) เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในทั้ง 2 ประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกดังกล่าว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางต่างประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของประเทศไทย แม้ว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จะเริ่มผ่อนคลายอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเฉพาะบางกลุ่ม สามารถเดินทางเข้าไทยได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดและเข้มงวด อีกทั้งยังไม่อนุญาตให้เที่ยวบินพาณิชย์ ทำการบินนำนักท่องเที่ยวได้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศทั่วไป ยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาไทยได้จนถึงปัจจุบัน

ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนถึงภาพรวมการท่องเที่ยวของไทยในปีนี้ ที่ตกต่ำถึงขีดสุด และลากยาวไปถึงปีหน้า จากการคาดการณ์ล่าสุดที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปรับการคาดการณ์แนวโน้มการท่องเที่ยวของไทยใหม่

เฉพาะในปี2563 ก็เป็นการปรับลดเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ จากก่อนเกิดโควิด ในปี2563 คาดว่าไทยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งต่างชาติเที่ยวไทยและการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศแตะ 3.17 ล้านล้านบาท แต่พอหลังเกิดโควิดเมื่อต้นปี ททท.ก็ปรับลดลงคาดการณ์ เหลือ 2.91 ล้านล้านบาท  ครั้งที่ 2 ปรับลดเหลือ 1.2 ล้านล้านบาท และครั้งล่าสุด ปรับลดลงเหลือ 8.4 แสนล้านล้านบาท

WM
ภาพจาก pixabay

4 สมมติฐานไร้ต่างชาติ เฉพาะ ต่างชาติเที่ยวไทย จากที่เคยวางไว้ตอนไม่เกิดโควิด อยู่ที่ 39.8 ล้านคน ล่าสุด ททท. คาดการณ์ว่าในกรณีเลวร้ายสุด คาดว่าจะมีต่างชาติเที่ยวไทย 6.69 ล้านคน-83.2 % สร้างรายได้ 3.3 แสนล้านบาท -82.8 % ทั้งนี้การปรับลดคาดการณ์ล่าสุด อยู่ภายใต้ 4 ข้อเท็จจริงและข้อสมมติฐานหลัก ได้แก่

  1. ข้อมูลเบื้องต้นจากกระทรวงการท่องเที่ยว ที่พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 มีจำนวนราว 6.7 ล้านคน สร้างรายได้ 3.32 แสนล้านบาท ขณะที่ข้อมูลเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2563 ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย
  2. ไทยประกาศห้ามเที่ยวบินพาณิชย์ทำการบินเข้าสู่ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 และยังไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดประกาศดังกล่าว
  3. ธุรกิจการบินทั่วโลก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและการขาดทุนจากการต้องหยุดทำการบินเป็นเวลานานในช่วงการแพร่ระบาด หลายสายการบินมีความเสี่ยงประสบกับภาวะล้มละลายโดยสายการบินสัญชาติไทย มีสายการบินนกสกู๊ต ประกาศเลิกกิจการไปแล้ว
    ส่วนการบินไทย และนกแอร์ อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้กฏหมายล้มละลาย ทั้งยังมีแนวโน้มว่า หลังจากทั่วโลกอนุญาตให้เดินทางระหว่างประเทศได้ จำนวนเที่ยวบนตรงและเที่ยวบินเชื่อมโยงมายังไทย จะมีปริมาณลดลง จากปริมาณสายการบินที่ลดลง และการบริหารต้นทุนของสายการบิน ตามอุปสงค์การเดินทางที่คาดว่าจะลดลง
  4. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกล่าสุด (มิถุนายน 2563) โดยปรับการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจาก -3.0 เป็น -4.9 โดยเฉพาะประเทศที่เป็นลูกค้าหลักของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย อินเดีย ผลจากสภาพเศรษฐกิจที่หดตัวอย่างรุนแรงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จะเป็นปัจจัยสำคัญกดดันให้การฟื้นตัวกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นไปได้ค่อนข้างยากภายในปี 2563

ขณะที่ การเดินทางเที่ยวในประเทศของคนไทย จากที่เคยวางไว้ตอนไม่เกิดโควิด คาดว่าในปีนี้คนไทย จะเดินทาง 172 ล้านคน-ครั้ง ล่าสุดคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ ราว 71 ล้านคน-ครั้ง -57.2% สร้างรายได้ราว 4.1 แสนล้านบาท -61.5%

การคาดการณ์ดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานใน 6 เรื่องได้แก่

  1. ทุกภูมิภาคทั่วโลกยังคงมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในวงกว้าง จะส่งผลให้คนไทยยังกังวลเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว
  2. การทยอยกลับมาเปิดทำการบินภายในประเทศของสายการบินต่างๆ
  3. การเปลี่ยนกำหนดการปิดเปิดภาคเรียนปี2563 ทำให้ไม่มีช่วงปิดภาคเรียนในเดือนเมษายนและตุลาคม ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัว ซึ่งมีสัดส่วนกลุ่มตลาดมากที่สุดถึง 82%
  4. มาตรการส่งเสริมการเดินทางเที่ยวภายในประเทศของภาครัฐ ทั้งโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และโครงการ “กำลังใจ” จะช่วยกระตุ้นให้คนเดินทางเที่ยวมากขึ้น
  5. การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3
  6. ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป คนจะเริ่มท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มแรกที่จะเที่ยว คือ กลุ่มที่มีรายได้ระดับบน ซึ่งมีสัดส่วนตลาดอยู่ที่ 12% เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังในการใช้จ่าย และจะเดินทางเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพราะยังมีความกังวลเรื่องการติดเชื้อ โดยรูปแบบจะเที่ยวในพื้นที่ระยะใกล้ เที่ยวในจังหวัดตัวเองหรือใกล้เคียง และใช้เวลาเที่ยว 2-3 วัน หรือแบบ วันเดย์ ทริป เพื่อระมัดระวังในการใช้จ่าย เนื่องจากยังไม่มั่นใจเศรษฐกิจในประเทศ

ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนตลาดมากที่สุดถึง73% จะเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวได้ช้า เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานหลักที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบสูง ที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 และจากข้อมูลของคณะกรรมร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

ที่ระบุว่า วิกฤตโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบให้แรงงานในไทย จะว่างงานราว 7.2 ล้านคน ทำให้อัตราว่างงานขึ้นไปสู่ระดับ 28%  ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของการเดินทางเที่ยวในประเทศด้วยนั่นเอง

ส่วนกลุ่มที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนตลาดมากที่สุดถึง73% จะเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวได้ช้า เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานและจากข้อมูลของคณะกรรมร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ที่ระบุว่า วิกฤติโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบให้แรงงานในไทย จะว่างงานราว 7.2 ล้านคน ทำให้อัตราว่างงานขึ้นไปสู่ระดับ 28% ซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวของการเดินทางเที่ยวในประเทศด้วยนั่นเอง

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า  21-22