สิงคโปร์บรรจุ เกษตรกรรมเป็นวาระเร่งด่วนชาติหวั่นวิกฤต ซ้ำรอยโควิด

SA Game

ภาพจาก pixabay

การระบาดของ เซื้อไวรัสโควิด  ทำให้ประเทศสิงคโปร์ ตะหนักถึงความสำคัญในอุตสาหกรรมทางด้านการเกษตร

หลาย ๆ ประเทศที่เป็นผู้นำเข้าอาหาร เริ่มตะหนักถึงความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร เมื่อเกิดวิกฤตโควิด เรื่องดังกล่าวทำให้ประเทศผู้นำเข้าอาหารเริ่มหันมาสนใจทำการเกษตรมากขึ้น ถึงแม้ว่า การลงมือทำการเกษตรเองนั้นจะมีต้นทุนสูงกว่าการนำเข้า

แต่จากบทเรียนอันเลวร้ายในนามเกิดปัญหา ประเทศส่งออกอาหารที่เคยเป็นผุ้ส่งออก ได้มีการ ระงับการส่งออก หรือถ้าส่งออกก็มีการขึ้นราคาอาหาร ในระหว่างวิกฤต ทำให้ประเทศที่มีการพึ่งพาการนำเข้าอาหาร ได้ตัดสินใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการลงทุนทำการเกษตรอย่างจริงจัง ในประเทศของตนเอง

สิงคโปร์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่พึงพิงการนำเข้าอาหารจากผู้ส่งออก เนื่องจาก ปัจจุบัน สิงคโปร์ผลิตอาหารได้เองเพียง 10% ของที่บริโภค นโยบาย “30 by 30” เป็นเป้าหมายที่จะทำให้สิงคโปร์ลดการพึ่งพาการนำเข้า โดยผลิตอาหารได้เอง 30% ภายในปี ค.ศ. 2030

SA Game
ภาพจาก pixabay

สิงคโปร์ได้มีการจัดตั้ง Agri-Food Innovation Park เพื่อบ่มเพาะสตาร์ทอัพทางด้านเกษตรและอาหาร มีบริษัทเทคโนโลยีอาหารเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สตาร์ทอัพที่ผลิตโปรตีนจากพืช (Plant-based meat) สตาร์ทอัพปลูกเนื้อสัตว์ (in vitro meat) สตาร์ทอัพผลิตนมด้วยการปลูกเซลล์ สตาร์ทอัพเพาะเลี้ยงแมลง เป็นต้น

ล่าสุดสิงคโปร์เร่งแผนปฏิบัติการเกษตร ให้เป็นวาระเร่งด่วนมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยจะเปิดฟาร์มปลูกผักบนหลังคาอาคารจอดรถยนต์ เพิ่มอีก 16 แห่ง ในเดือนหน้าและถัดไป นอกจากนี้ ยังมีการเร่งสำรวจอาคารร้าง และ อาคารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อแปลงเป็นพื้นที่เกษตร

จากข้อมูลพบว่าปัจจุบัน สิงคโปร์มีฟาร์มผักจำนวน 77 แห่ง โดยเป็นโรงงานปลูกพืชผักในร่มจำนวน 25 แห่ง และฟาร์มผักบนหลังคา (rooftop) จำนวน 2 แห่ง ซึ่งสามารถผลิตผักได้เพียง 14% ของการบริโภคทั้งหมดภายในประเทศ

ในส่วนของฟาร์มไก่ไข่ สิงคโปร์มีกำลังผลิตเพียงแค่ 26% ของความต้องการภายในประเทศ และฟาร์มปลา จำนวน 22 แห่ง โดยเป็นฟาร์มในทะเล 110 แห่ง และฟาร์มบนบก 12 แห่ง มีกำลังผลิตเพียง 10% ของความต้องการภายในประเทศ

จากความต้องการ และการผลิตที่มีไม่เพียงพอ ทำให้สิงคโปร์จะทำการเพิ่มฟาร์มเลี้ยงปลา แบบแนวดิ่ง (Vertical fish farm) โดยมีการสร้างอาคารเลี้ยงปลาขนาด 8 ชั้น ซึ่งนั้นจะทำให้สามารถผลิตปลาได้เป็น 8 เท่าของฟาร์มปกติ นอกจากนั้น สิงคโปร์ยังจะเปิดฟาร์มลอยน้ำ (Floating farm) ให้มากขึ้นในน่านน้ำสากล

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เน้นการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ คือ นำเทคโนโลยีอินเทอร์เนตของสรรพสิ่ง (internet of things) เทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง ใช้ทรัพยากรอย่างแม่นยำ โดยตั้งเป้าจะเป็นผู้นำเทคโนโลยีเกษตรในเมือง (Urban farming) และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีผลพลอยได้คือ ส่งเทคโนโลยีเหล่านี้ ไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน รวมทั้งไทยด้วย

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : straitstimes , todayonline , reuters , thestar , was