วิธีเริ่มให้ลูกน้อยทานอาหารเสริม สำหรับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป!!

WM

ควรฝึกให้ลูกได้ตักอาหารกินเอง ตั้งแต่อายุ 9 เดือน

การเสริมให้อาหารให้เริ่มด้วยข้าวกล้อง บางคนแพ้ข้าวกล้องกินแล้วมีผื่นขึ้น หรือท้องผูกก็ให้เปลี่ยนเป็นข้าวขัดขาว หุงรวมกับถั่วแล้วค่อยๆ ใส่ผักทีละอย่าง ใช้ซ้ำหนึ่งเมนู นาน 4-5 วัน เพื่อการตรวจสอบว่าไม่มีปัญหาแพ้ อาการแพ้ คือผื่น ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียนท้องเสีย ปวดท้องถ่ายเป็นมูกเลือด งอแง ส่วนผลไม้และน้ำผลไม้ค่อยเริ่มเดือนถัดไปเพื่อให้รู้จักรสชาติของผักก่อนเพื่อไม่ให้ติดหวาน

ผักที่ใช้มีดังนี้ แครอท มันเทศ มันฝรั่ง มันม่วง มันญี่ปุ่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก ถั่วฟักยาว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วชิกพี ถั่วสปลิท ลูกเดือย ลูกบัว ผักกาดขาว อโวคาโด เมล็ดพืช ควรเลือกผักออร์แกนิกจะได้สารพิษน้อยหน่อย ควรแช่น้ำยาล้างสารพิษ เช่น เบคกิ้งโซดา หรือน้ำเกลือก่อนด้วยนะค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@linsyorozuya

อายุ 6-7 เดือน ให้บดอาหารให้ละเอียด โดยปั่นละเอียดหรือครูดผ่านกระชอนวันละมื้อเดียวหัดให้ลูกกินน้ำจากถ้วยหรือหลอดดูด หรือช้อนตักน้ำป้อนเวลากินข้าวแล้วฝืดคอในวันแรกเริ่มป้อนเพียง 1 ช่อนโต๊ะ แล้วตามด้วยนมแม่จนอิ่มค่อยๆ เพิ่มวันละ 1 ชต. อย่าเพิ่มเร็วเดี๋ยวท้องอืดแล้วร้องกวนตอนกลางคืน แต่ถ้าลูกไม่อยากกินอย่าบังคับให้หยุดป้อนแล้วค่อยให้ใหม่วันต่อมาจนกินได้ครบมื้อ ปริมาณ 5-8 ชต. นมมื้อนั้น จะเลื่อนการกินออกไปอีก 3-4 ชม. เริ่มใส่เนื้อสัตว์เดือนที่ 7 คือ ไก่ หมู ปลาน้ำจืด (ระวังก้าง) ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ต้องต้มให้สุกเต็มที่หากเป็นยางมะตูม หรือไข่ลวกหรือไข่ที่ตอกลงไปในโจ๊ก ซึ่งสุกไม่เต็มที่ เชื้อโรคไม่ถูกทำลายจะทำให้ถ่ายเป็นมูกเลือดได้ 

เดือนที่ 7 เริ่มผลไม้ปั่นละเอียดและเติมน้ำลงไปด้วยจะได้ไม่ฝืดคอ และไม่หวานเกินไปเป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ ปริมาณ 3-4 ชต. เช่น แอปเปิ้ล สาลี่ แคนตาลูป ชมพู่ แตงไทย แตงญี่ปุ่น ลูกพลับ ลูกพีช ลูกแพร์ (หากกินผัก ผลไม้ สีเหลือง สีส้ม มากๆ อาจทำให้ผิวสีเหลืองไม่อันตรายกินต่อไปได้ ถ้าหยุดกินแล้วกว่าจะหายเหลืองจะใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน)

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@we_are_rising

เดือนที่ 8 -9 ให้เพิ่มข้าวเป็นสองมื้อ เริ่มป้อนอาหารเนื้อหยาบขึ้น คือไม่บดละเอียดแต่ตุ๋นให้นุ่มเวลาป้อนให้ใช้หลังช้อนบด แต่ต้องดูด้วยว่าลูกสามารถกินได้หรือไม่ถ้าเคี้ยวแล้วกลืนได้ไม่ติดคอไม่คายออกมา ไม่อมเอาไว้ในปากโดยไม่กลืน แสดงว่ากินได้แต่ถ้ายังไม่ได้ให้กลับไปบดละเอียดเหมือนเดิมแต่ทำให้ข้นมากขึ้นเล็กน้อย

ในกรณีที่ต้องการเอานมแม่ที่สะสมไว้มาประกอบอาหาร คือหนึ่งลูกไม่ยอมกินนมที่สะสมไว้ หรือสองลูกไม่ยอมกินอาหาร ดังนั้นการเอานมแม่มาผสมกับอาหาร อาจทำให้ยอมรับสิ่งที่ไม่ยอมกินได้ง่ายขึ้น แต่หากลูกยอมกินนมที่สะสมอยู่แล้ว และยอมกินข้าวดีอยู่แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องละลายนมเพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร แต่หากลูกมีปัญหาดังกล่าว DooDiDo แนะนำวิธีเอานมแม่แช่แข็งมาใช้ประกอบอาหารคาวให้ทำอาหารให้ข้นกว่าปกติ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://family.mthai.com