พระราชกฤษฎีกาเวนคืน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำชาวบ้านกระอัก !

WM

ภาพโดย S. Hermann & F. Richter จาก Pixabay

รัฐติดเครื่องยนต์ศก.ลุยเวนคืน กว่า10 เมกะโปรเจ็กต์ ทั่วไทย ถนนในซอยยันรถไฟทางคู่-รถไฟฟ้า เหนือ-อีสานหนักสุด เวนคืน 1.4 หมื่นแปลง

โครงการ เวนคืนทั่วประเทศ ตัดถนน ไปจนถึงรถไฟทางคู่ ประมาณกว่า 10 โครงการประชาชนได้รับผลกระทบเกือบ 18,000 แปลง สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร แม้ออกพระราช กฤษฎีกาเวนคืนแล้ว แต่พบว่ายังมีการคัดค้าน ได้แก่ วิภาวดีซอย 5 จำนวน 2 แปลง แต่เนื่องจากทำเลอยู่ใจกลางเมือง ราคาค่าชดเชยจึงสูง

เช่นเดียวกับสะพานเกียกกายและถนนเชื่อมต่อ ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 500 แปลง เนื่องจาก พื้นที่มีรถไฟฟ้าส่งผลให้ราคาที่ดินขยับสูง แต่จ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว ขณะการก่อสร้าง ยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีงบประมาณ

นอกจากนี้ ยังมีรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ถนนเชื่อมสนามบินแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย ทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สาย 7 เชื่อมสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินเป็นต้น ลุย 2 ทางคู่ 1.4 หมื่นแปลง

WM
ภาพโดย Shutterbug75 จาก Pixabay

สำหรับรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง 323 กิโลเมตร งบประมาณ 85,345 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

ซึ่งที่ผ่านมา ล่าช้ามากว่า 60 ปี ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน วงเงิน 10,660 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก รฟท.ระบุว่า ตลอดแนวมีพื้นที่ ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,292 แปลง ที่ดิน 9,661 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 1,200 หลังคาเรือน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย สร้าง 26 สถานี

ลานขนถ่ายสินค้า 4 แห่ง ลานกองเก็บตู้สินค้า 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ 4 อุโมงค์ ก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 102 แห่ง ขณะที่งานโยธา วงเงิน 72,921 ล้านบาท

แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. วงเงิน 26,704 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 28,735 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 17,482 ล้านบาท และมีค่าจ้างที่ปรึกษา 1,764 ล้านบาท

ขณะรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848 ล้านบาท ค่าเวนคืน 10,255 ล้านบาท พื้นที่ 7,100 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 930 หลังคาเรือน ปัจจุบันจะเร่งลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาสำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ วงเงิน 159 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลได้ภายในเดือนมกราคม 2564

ด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) ว่า

ระหว่างรอคำตอบจากบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มซีพี) ว่าจะย้ายสถานีไปที่สถานีชลบุรี ฉะเชิงเทรา พัทยาหรือไม่

ซึ่งได้มีการหารือ เพื่อหาข้อสรุป และส่งมอบพื้นที่เฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในเดือนตุลาคม 2564 ขณะการเวนคืนมีพื้นที่เวนคืน 850 ไร่ 900 แปลง สีม่วง-ส้มพันแปลง ขณะรถไฟฟ้า ยังมีก่อสร้างเพิ่มอีก2เส้นทาง นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า

สายสีม่วงใต้ จะเวนคืนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพ มหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

กระทบ เวนคืน 410 แปลง 267 หลังคาเรือน พื้นที่ก่อสร้างที่จอดรถไฟฟ้า (เดโป้) 50 ไร่ ส่วนสายสีส้มตะวันตกเวนคืน 505 แปลง 331 หลังคาเรือน

ทล-ทช. ลุยสร้างเส้นทาง ด้านการก่อสร้าง เส้นทางมอเตอร์เวย์สาย 7 เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา นายสราวุธ ทรงสิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า แม้มีระยะทางเพียง 3.5 กม.

แต่ช่วยเชื่อมการเดินทางได้ดีล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาพื้นที่บางส่วน เป็นพื้นที่ของทหารเรือและชาวบ้านรวม16 ไร่ ค่าเวนคืน 107 ล้านบาท

สอดคล้อง นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท อธิบายถึงโครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา จังหวัดนนทบุรี, นครปฐม ว่า อยู่ในขั้นตอนการเสนอออกพรฏ.เวนคืนคาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 350 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 87 หลังคาเรือน

เช่นเดียวกับถนนเชื่อมต่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 (สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์-ถนนกาญจนาภิเษก) อยู่ระหว่างการสำรวจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2564 ทั้งนี้หากมีการประกาศพรฏ.เวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้ว

เบื้องต้นจะขอรับจัดสรรงบประมาณการเวนคืนที่ดิน วงเงิน 2,396 ล้านบาท ภายในปีงบประมาณ 2565 และลงนามสัญญาผู้รับจ้างภายในปลายปี 2566 หลังจากนั้นจะขอรับจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง วงเงิน 1,621 ล้านบาท ภายในปีงบประมาณ 2566 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในต้นปี 2567 ซึ่งใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 2 ปีครึ่ง

แหล่งข่าวจากทช.กล่าวพื้นที่เวนคืนที่ดิน 160 ไร่ 340 แปลง อาคาร 220 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโครงการที่รัฐบาลอนุมัติ ให้เวนคืนอีก 2 เส้นทางซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย อาทิ เวนคืนที่ดินเชียงราย 170 ไร่ ตัดถนนสายใหม่รอบสนามบินแม่ฟ้าหลวง ก่อสร้างเป็นถนน 6 ช่องจราจร เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า พระราชกฤษฎีกาเวนคืน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทยอย บังคับใช้ในหลายท้องที่สะท้อนว่ารัฐบาลเร่งผลักดันเมกะโปรเจ็กต์ เครื่องยนต์ใหญ่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ

ขณะเดียวกัน แม้ระบบโครงสร้างพื้นฐาน รัฐจะสร้างความเจริญเข้าสู่พื้นที่แต่ในทางกลับกัน ต้องยอมรับว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องปาดนํ้าตาออกจากที่ดินทำกินและถิ่นที่เคยอยู่อาศัยไปปักหลักยังพื้นที่อื่น

ข่าวความเคลื่อนไหว , ท้องถิ่นทั่วไทย , ข่าวต่างประเทศ, รัฐบาล , องค์การบริหารส่วนตำบล , อบต. , เทศบาล , เทศบาลเมือง , เทศบาลนคร , ทต. , องค์การบริหารส่วนจังหวัด , อบจ. , ข่าวรอบโลก , ข่าวการเมือง , ข่าวเศรษฐกิจ , ข่าวท่องเที่ยว ความร้อนแรงในประเดนต่าง ๆ ข่าวด่วน กระแสข่าว ข่าวชาวบ้าน ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ