ผู้ว่า ธปท.เชียร์เอกชนนำ ESG เข้ามาเปลี่ยนแปลงสร้างธุรกิจยั่งยืน

WM

ภาพจาก ธนาคาแห่งประเทศไทย

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เชียร์เอกชนนำ ESG เข้ามาเปลี่ยนแปลงสร้างธุรกิจยั่งยืน

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายเศรษฐพุฒิ   สุทธิวาทนฤพุฒิ กล่าวว่าที่ผ่านมาการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะเน้นระยะสั้นเป็นหลักเช่นการเน้นภาคการท่องเที่ยวเชิงตัวเลขเน้นจำนวนหัวโดยไม่คำนึงผลข้างเคียงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม (Environment ) ที่เกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือ Climate Change เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้น

ซึ่งไทยเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอันดับสูงเพราะประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ต่ำมากและไทยจะถูกกระทบจากเรื่องไคลเมทเชนจ์และก๊าซเรือนกระจกถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรความสามารถในการเพาะปลูกซึ่งจะกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

โดยไทยเป็นประเทศที่ถูกจัดอันดับว่ามีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอันดับ 7 ของโลกซึ่งผลที่เห็นค่อนข้างแรงเมื่อปี 2554 ตอนน้ำท่วมจีดีพีของไทยเติบโตแค่ 0.1% หลังจากนั้นในปี 2556 ถึง 2557จากน้ำท่วมเปลี่ยนเป็นภัยแล้ง ซึ่งภัยจากด้านสิ่งแวดล้อมทำให้เกษตรกรรายได้หายไปประมาณ 15,000 ล้านบาท

เช่นเดียวกับภัยด้านสังคม(Social )ที่เน้นระยะสั้นการกระตุ้นการบริโภคการกู้ยืมที่ทำให้ตัวเลขออกมาดีโดยไม่คำนึงถึงผลข้างเคียงในระยะยาวคือการก่อหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นมากปัจจุบันกลายเป็นความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจไทยหรือเรื่องธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งดัชนีคอรัปชั่นล่าสุดของไทยอยู่ในอันดับประมาณ 100

WM
ภาพจาก pixabay

เทียบกับสิงคโปร์อยู่ที่อันดับ 4 ของโลกและอันดับภาพลักษณ์คอร์รัปชันของไทยลดลงกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย  มองไปข้างหน้าด้านสังคม ความเสี่ยงที่จะถูกกระทบยังมีอยู่ไม่ว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเรื่อง iuu ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งภายหลังการเลือกตั้งใหม่ในสหรัฐ เพราะพรรคเดโมแครต ให้ความสำคัญมากอยู่แล้ว

“เราต้องเปลี่ยนเป็นการเติบโตโดยESG  ต้องทำให้ESGเป็นหนึ่งใน New  growth engine ของเราในอนาคตเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจ”

โดยเฉพาะ  โอกาสธุรกิจเก่าจะเป็นไปได้ยาก หากทำแบบเดิมจะไม่สามารถขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต  เพราะทั้งหมดโฟกัส ESG .เช่น พระเอกส่งออกของไทย ยานยนต์ ที่มุ่งไปรถไฟฟ้าหรืออีวี  ,อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งซึ่งคนกังวลเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น  และปิโตรเคมี ทั้งหมดจะโฟกัสเรื่อง ESG

ซึ่งภาพลักษณ์ของไทยในการบริหารจัดการปัญหา Covid ได้ดี จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มมูลค่าในแต่ละเซ็กเตอร์ ที่มีโอกาสเติบโต  ไม่ว่าด้านสุขภาพ  การท่องเที่ยวที่ต้องปรับรูปแบบใหม่  ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่ยาวขึ้น ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ต่อคนต่อทริป  หรือกระแสใหม่ๆ Work from Home หรือ Work from Anywhere โดยต้องแก้ไขปัญหา PM 2.5หรือด้านอาหารออร์แกนนิกส์ เป็นต้น

ทั้งนี้  การแพร่ระบาด Covid-19 หลายประเทศมีการกำหนดเงื่อนไขไปสู่ Green Carbon เช่น  เนเธอร์แลนด์   ฝรั่งเศส ในการช่วยเหลือจากภาครัฐกับสายการบินมีการตั้งเงื่อนไขให้สายการบินลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลง 50% สำหรับประเทศไทยพยายามจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปตามแนวทาง esg เป็น new growth engine

ซึ่งต้องการความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนที่ผ่านมา ธปท. ทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับต่างๆ ทั้งกลต. ตลท.  คปภ. กระทรวงการคลังและกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยที่ได้ทำ MOUเรื่องธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking ) ในการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ

“เรื่องESG ภาคเอกชนไทยมีศักยภาพสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องรอภาครัฐ  เพราะทางเลือกที่จะให้ภาครัฐเป็นตัวนำอาจจะไม่ตอบโจทย์อย่างที่ควรเพราะการให้ภาครัฐเข้าไปเหมือนจะซ้ำเติมปัญหา เช่นการออกกฎ  แต่บ้านเรามีปัญหามีกฎมากเกินไปและควรจะมีการละเลิก และภาครัฐเองยังขาด Data ขาด Framework ขาดประสบการณ์เพราะคนเชี่ยวชาญเรื่องนี้มีน้อย จึงเชียร์ให้เอกชนทำเพื่อให้ได้ ESGที่ยั่งยืน  แม้เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ ด้วยการเปลี่ยน mindset  แม้กระทั่งกลุ่มทุนนิยมที่พยายามจะเปลี่ยน ดังนั้นไทยก็มีโอกาส”

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ