ตอบปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกายกับความสูงของลูก

WM

หากไม่อยากให้ลูกโดนล้อว่าเตี้ย…พ่อแม่ป้องกันได้

กลับมาพบกับพวกเราเช่นเคยนะคะ วันนี้เรามาพร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องของลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนะคะ  สำหรับบทความในวันนี้เราก็จะมาตอบปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกายเกี่ยวกับเรื่องของความสูงนั่นเองค่ะ  จะเห็นว่าปัจจุบันนี้ความสูงของเด็กๆกลายเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาอีกต่อไป เพราะความสูงจะทำให้ร่างกายของเรานั้นกลายเป็นจุดเด่นได้ เชื่อได้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านก็หวังให้ลูกของเราสุขภาพดี โดยขนาดของส่วนสูงที่เพิ่มมากขึ้นจากการทานอาหารเสริมตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็ให้ออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อให้ได้ความสูง  แต่ในทางกลับกันถ้าลูกของคุณมีความสูงที่ไม่มากและโดนล้อว่าเตี้ยคุณพ่อคุณแม่จะต้องมีวิธีป้องกันอย่างไรหรือวิธีรับมืออย่างไร มาลองอ่านบทความนี้ไปพร้อมพร้อมกันได้เลยค่ะ

“ลูกตัวเตี้ยกว่า..เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน” “ลูกต้องโดนเพื่อนล้อว่าตัวเตี้ยอยู่บ่อยๆ” หากคุณไม่อยากให้เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นกับลูกน้อย การเตรียมความพร้อมเพื่อให้รู้ถึงสาเหตุและสามารถพิจารณาได้ว่าลูกของคุณเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงหรือไม่? คงเป็นแนวทางการป้องกันที่ดี…ก่อนที่ความสูงจะเป็นได้แค่เรื่องในจินตนาการ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@artem_kniaz

อัตราการเจริญเติบโตของเด็กในแต่ละช่วงวัย

  1. อายุแรกเกิด – 1 ปี ความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 25 ซม.ต่อปี
  2. อายุ 1- 2 ปี ความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ซม.ต่อ ปี
  3. อายุ 2-4 ปี ความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 6-8 ซม.ต่อปี
  4. อายุ > 4 – เริ่มเข้าวัยรุ่น ความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 ซม.ต่อปี

ถึงเวลาแล้ว…ที่คุณต้องพาลูกไปพบแพทย์

– เมื่อลูก…มีอัตราความสูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 5 เซนติเมตรต่อปี

– เมื่อลูก…มีความสูงน้อยกว่าเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 3 จากกราฟมาตรฐาน..การเจริญเติบโตของเด็กตามอายุและเพศเดียวกัน

– เมื่อลูก…ตัวเตี้ย ทั้งๆ ที่พ่อแม่เป็นคนตัวสูง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@circvs

ปัจจัยใดบ้าง ที่ทำให้เด็กตัวเตี้ย

  1. พ่อแม่เป็นคนตัวเตี้ย

ถึงความสูงของพ่อแม่จะไม่ใช่ตัวกำหนดเพียงหนึ่งเดียว แต่ก็มีผลต่อความสูงของลูกมากถึง 70% เลยทีเดียว โดยจะคำนวณตามสูตรดังนี้… นอกเหนือจากพันธุกรรม หากเด็กได้รับโภชนาการที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนพักผ่อนเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม ก็สามารถสูงได้มากกว่าความสูงเฉลี่ยตามพันธุกรรมถึง 7 เซนติเมตร เลยทีเดียว

  1. กลุ่มม้าตีนปลาย

ส่วนมากจะเกิดในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยแรกเกิดจะมีความยาวปกติ ก่อนจะเติบโตช้าลงในช่วง 2 ขวบปีแรก แล้วจึงสูงเพิ่มขึ้นในอัตราปกติ หรือ 5 เซนติเมตรต่อปี แต่จะสามารถทะยานความสูงได้ถึงตามกรรมพันธุ์เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหนุ่ม-สาว

  1. เด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

ด้วยโรคประจำตัวที่เด็กเป็นอยู่ ไม่เพียงส่งผลต่อความสูง…แต่ยังทำให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จึงต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่การรักษาจำเพาะตามโรคนั้นๆ

  1. เด็กขาดฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่…

ฮอร์โมนไทรอยด์ ที่ไม่เพียงจะกระทบต่อความสูง แต่ยังกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง หากเป็นตั้งแต่แรกเกิดหรือได้รับการรักษาช้า อาจเสี่ยงต่อการเป็น “โรคเอ๋อ”

ฮอร์โมนการเจริญเติบโต แม้ในช่วงแรกเกิดจะมีความยาวตัวปกติ…แต่การเติบโตช้าลงหลังคลอด ทำให้อายุกระดูกล่าช้ากว่าอายุจริงมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@anniespratt

ฮอร์โมนเพศ เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม-สาว เด็กหญิงจะไม่มีเต้านม ส่วนเด็กชายจะไม่มีหนวด เสียงไม่แตก ไม่มีขนหัวหน่าว ทำให้อัตราความสูงไม่ทะยานขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น

  1. โครโมโซมผิดปกติ เช่น โรค Turner syndrome ที่มักจะพบในเด็กผู้หญิงเท่านั้น
  2. โรคกระดูกพันธุกรรมและโรคกระดูกอ่อน

เมื่อพบความผิดปกติหรือสงสัยว่าลูกตัวเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็น พ่อแม่ควรพาลูกมาพบกุมารแพทย์ พร้อมนำข้อมูลน้ำหนัก ความยาว (ส่วนสูง) ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบันมาให้แพทย์ด้วย เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง

ก็จบกันไปแล้วนะคะกับบทความข้างต้นที่ DooDiDo นำเสนอเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความสูงของลูกๆ จะเห็นว่าร่างกายของลูกน้อยจะมีความสูงที่สูงมากหรือน้อยก็ตามความสูงของคุณพ่อคุณแม่นั้นเองค่ะนั่นคือสิ่งที่ถูกส่งต่อมาจากพันธุกรรม ในขณะที่ลูกของเรานั้นอาจจะสูงไม่มากหรือไม่หรืออย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะให้คำปรึกษากับลูกว่าคำเตี้ยก็ไม่ได้แยกอาจจะเป็นข้อนี้ในบางอย่างก็ได้นะคะก็ลองเอาบทความนี้ไปศึกษาดูแล้วก็ลองใช้สูตรคำนวณความสูงที่พวกเราได้ให้ในบทความข้างต้นดูค่ะขอบคุณค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.phyathai.com