ชาวญี่ปุ่นสุดงง ‘ภูเขาไฟฟูจิ’ ทำไมไม่มีหิมะ หวั่นอาจปะทุครั้งใหม่

WM

ภาพจาก pixabay

ทำไมภูเขาไฟฟูจิไม่มีหิมะปกคลุมยอดเขาในเดือน ธ.ค. ชาวญี่ปุ่นสงสัย ทั้งที่อากาศหนาวจัด ระดับติดลบ -20 องศาฯ

ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟฟูจิ กำลังเกิดความหวั่นวิตกว่าภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งเป็นภูเขาไฟสูงที่สุดในประเทศ ด้วยความสูง 3,776 เมตร อาจเกิดการปะทุครั้งใหม่ เนื่องจากพบความผิดปกติของภูเขาไฟฟูจิในเดือน ธ.ค. ที่ไม่มีหิมะปกคลุมบริเวณยอดเขาเหมือนเช่นเคย ทั้งที่บริเวณนั้นในเดือนธันวาคมสภาพอากาศหนาวจัด

สำหรับคนญี่ปุ่นเองก็ให้ความสำคัญกับภูเขาไฟฟูจิมากเช่นกัน เพราะเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น มีความสูง 3,776 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สูงกว่าดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดของไทย (2,565 เมตร) ร่วม 1,200 เมตร และมีรูปร่างสวยงามแทบจะสมมาตรกันทุกด้าน  เป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าศิลปินไม่ว่าจะนักกวี หรือช่างภาพพิมพ์ ผลิตผลงานที่เกี่ยวข้องกับภูเขาฟูจิออกมามากมายตั้งแต่อดีต

ภูเขาฟูจิ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น รอบๆ ภูเขาเต็มไปด้วยธรรชาติอันงดงาม และเป็นอุทยานแห่งชาติฟูจิฮาโกะเนอิซึ มีทะเลสาบ 5 แห่ง ได้แก่ ยามานากาโกะ คาวากุจิโกะ โมโตสุโกะ โชจินโกะ ไซโก้ และมีออนเซนหลายแห่ง ได้แก่

  • ยามานากะโกะ
  • คาวากุจิโกะ
  • โอชิโนะโกะ

ภูเขาฟูจิมีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อภูเขาปรากฎอยู่ในทังขะ หรือบทกลอนญี่ปุ่นหรือ อุคิโยเอะ หรือภาพพิมพ์ญี่ปุ่น และทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท ชื่อสินค้า ชื่อนักซูโม่ และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนตั้งชื่อว่าฟูจิ

WM
ภาพจาก pixabay

เรียกว่าภูเขาฟูจินี้ เป็นหัวใจของญี่ปุ่นก็ว่าได้ ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ของทุกปี เป็นช่วงที่ภูเขาฟูจิเปิดอย่างเป็นทางการให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปปีน ทางขึ้นก็มีหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นคาวากุจิโกะกุจิ ฟูจิโนะมิยะกุจิ สุบาชิริกุจิ โกะเตนบะกุจิ เป็นต้น

ใครที่ชอบปีนเขาก็ลองขึ้นดู ภูเขาฟูจิมีความสูง 3,776 เมตร ถ้าเริ่มเดินขึ้นจาก โกะโกะเม ถึงยอดเขา จะใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย และเวลาลงก็จะใช้เวลา 4 ชั่วโมง แต่ใครที่สนใจอยากจะปีนเขาฟูจิ ต้องเตรียมตัวและเครื่องมือให้พร้อมก่อน

ภูเขาไฟฟูจิ เกิดจากการทับถมกันของลาวาภูเขาไฟ เดิมเชื่อว่าเกิดจากภูเขาไฟ 3 ลูกที่ซ้อนทับกัน แต่จากการวิจัยชั้นดินในปี 2004 ทำให้รู้ว่าภูเขาฟูจิที่เราเห็นอยู่นี้เป็นภูเขารุ่นที่ 4 แล้ว!

ภูเขาไฟลูกแรกที่เพิ่งถูกค้นพบจากการวิจัยชั้นดินล่าสุดคือภูเขาไฟเซ็นโคมิทาเกะที่ปะทุขึ้นเมื่อหลายแสนปีก่อน จากนั้นก็ตามมาด้วยการปะทุราว 7 แสนปีก่อนจนเกิดเป็นภูเขาไฟโคมิทาเกะ มีความสูงราว 2,400 เมตร

หลังการปะทุหยุดไปได้พักใหญ่ก็กลับมาปะทุอีกครั้งเมื่อราว 1 แสนปีก่อน การปะทุหลายร้อยครั้งทำให้รูปร่างของภูเขาเปลี่ยนไปและสูงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นภูเขาไฟโคะฟูจิ จนเข้าสู่ช่วงการปะทุใหญ่ครั้งหลังสุดเมื่อราว 1 หมื่นปีก่อน

ที่เปลี่ยนจากการระเบิดรุนแรง มาเป็นการปล่อยลาวาไหลออกมาเรื่อยๆ ลาวาที่ไหลออกมาจนถึงเชิงเขาค่อยๆ เย็นตัวและซ้อนทับกันไปจนเกิดเป็นภูเขาไฟชินฟูจิ ภูเขาฟูจิรุ่นที่ 4 แสนสวยอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @unananan ได้โพสต์รูปถ่ายภูเขาไฟฟูจิที่บันทึกในวันที่ 21 ธ.ค.63 พร้อมข้อความว่า ‘นี่คือภูเขาไฟฟูจิในวันนี้ ภูเขาไฟฟูจิในเดือนธันวาคมหรือเนี่ย? ทำไมมันไม่มีหิมะ แปลกจัง’

การที่ภูเขาไฟฟูจิซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลัง ไม่มีหิมะปกคลุมบริเวณยอดเขา ทำให้ผู้คนจำนวนหนึ่งสรุปว่า มีความเป็นไปได้ที่ใต้ภูเขาไฟกำลังร้อนระอุขึ้น ก่อนจะเกิดการระเบิดขึ้นมา หลังจากภูเขาไฟฟูจิ

ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณจังหวัดชิซูโอกะและจังหวัดยามานาชิ ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว เคยเกิดการปะทุครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2250 หรือกว่า 300 ปีก่อน

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้มีการสำรวจความร้อนใต้พิภพของภูเขาไฟฟูจิเป็นประจำ รวมทั้งยังคงติดตามสำรวจระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ภูเขาไฟฟูจิ ที่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของแมกมาที่อยู่ลึกลงไปใต้ภูเขาไฟฟูจิ และชี้ว่าการที่ภูเขาไฟฟูจิไม่มีหิมะปกคลุมเหมือนเคยนั้น ดูเหมือนไม่ใช่สัญญาณอันตรายว่าภูเขาไฟฟูจิจะปะทุขึ้นมา.

ข่าวความเคลื่อนไหว , ท้องถิ่นทั่วไทย , ข่าวต่างประเทศ, รัฐบาล , องค์การบริหารส่วนตำบล , อบต. , เทศบาล , เทศบาลเมือง , เทศบาลนคร , ทต. , องค์การบริหารส่วนจังหวัด , อบจ. , ข่าวรอบโลก , ข่าวการเมือง , ข่าวเศรษฐกิจ , ข่าวท่องเที่ยว ความร้อนแรงในประเดนต่าง ๆ ข่าวด่วน กระแสข่าว ข่าวชาวบ้าน ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์