คุณแม่มือใหม่ต้องดู 5 เทคนิคการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิด!!

WM

ผิวของลูกยังมีความบอบบาง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

การอาบน้ำให้ลูกน้อยวัยทารกที่เพิ่งลืมตาดูโลกในเวลาไม่นาน เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่าก็แอบกังวลใจและตื่นเต้นไปในคราวเดียวกันใช่ไหมคะ เพราะว่าผิวของลูกน้อยยังบอบบางมาก จะอาบน้ำวิธีไหนดีที่จะให้ปลอดภัยต่อผิวลูกและถูกวิธี วันนี้เรามีเคล็ดลับวิธีที่จะช่วยคุณพ่อคุณแม่นำไปใช้เพื่ออาบน้ำให้ทารกน้อยได้สบายตัวมาฝากค่ะ

ทารกแรกเกิด คือ ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 28 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับตัวอย่างมาก เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อม จากที่อยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่นในท้องของแม่ ต้องออกมาสู่สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกของครรภ์แม่ จึงเป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยเป็นพิเศษ การอาบน้ำทารก ก็เช่นกัน การที่อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายของทารก จะทำให้ลูกรู้สึกสบาย แต่ด้วยผิวของลูกยังมีความบอบบาง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ในครั้งนี้ จะมาแนะนำวิธีการอาบน้ำให้ทารกอย่างถูกวิธีค่ะ

วิธีการอาบน้ำให้ทารก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/amyelizabethquinn-52073/

1.ทำความสะอาดตา
โดยใช้สำลีชุบน้ำสุก บีบหมาดๆ เช็ดตาก่อน และเช็ดจากจุดที่สะอาดกว่าไปหาจุดที่สะอาดน้อยกว่า สำลีที่เช็ดตาแต่ละข้างเมื่อใช้แล้วให้ทิ้งไปเลย เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าตา เสร็จแล้วทำความสะอาดใบหน้าทั่วๆไป อาจใช้ฟองน้ำสำหรับอาบน้ำเด็กหรือผ้าขนหนูก็ได้ บิดน้ำให้หมาดๆ เช็ดตามบริเวณหน้า มุมปาก ซอกคอ ซอกหู จมูก ได้

2.วิธีสระผม
ในรายที่หนังศีรษะเป็นสะเก็ดดำ ๆ ให้ทาด้วยน้ำมันมะกอกทิ้งไว้ก่อน 30 นาที แล้วจึงสระออก ก่อนสระผมให้อุ้มเด็กมาหนีบไว้ข้างลำตัวข้างซ้าย แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วนางของมือข้างซ้าย กดใบหูให้ทับรูป้องกันน้ำเข้าหู อาจจะใช้สำลีอุดไว้ก็ได้ในรายที่นิ้วสั้นไม่สามารถกดใบหูปิดได้ จากนั้นก็วักน้ำใส่ผม แล้วใช้ผ้าถูกับก้อนสบู่ นำมาถูที่ศีรษะเด็กให้เกิดฟอง ใช้นิ้วมือข้างขวาคลึงตามหนังศีรษะเบา ๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/amyelizabethquinn-52073/

3.ทำความสะอาดลำตัว แขน ขา
วางตัวเด็กลงบนเตียง หรือเบาะที่ปูด้วยผ้ายางกันเปียก เอาผ้าที่ห่อตัวเด็กออกให้หมด ใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูชุบน้ำ เช็ดตามตัวก่อน แล้วจึงฟอกสบู่ วิธีฟอกก็เช่นเดียวกับการสระผมคือนำผ้าหรือฟองน้ำถูสบู่ก่อนแล้วนำมาถูเด็ก ฟอกตามซอกคอ รักแร้ ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้าทั้งด้านหน้าด้านหลัง เสร็จแล้ว อวัยวะเพศควรเช็ดให้สะอาดด้วย เพราะอวัยวะเพศนี้มักมีสิ่งสกปรกหมักหมมได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ควรใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดตรงกลาง และใช้นิ้วมือแหวกแคมทั้งสองข้างออกแล้วเช็ดให้สะอาด

เมื่อฟอกสบู่ตามส่วนต่าง ๆ ครบแล้ว ใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดสบู่ตามตัวออกให้หมด อย่างคร่าว ๆ ก่อน จากนั้นประคองเด็กวางลงในอ่าง นำเด็กขึ้นห่อผ้าให้เพื่อให้เกิดความอบอุ่น (ไม่ควรแช่เด็กนานเกิน 10 นาที เพราะเด็กจะหนาวได้) เช็ดตามตัวให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ เพราะถ้าไม่แห้งแล้ว เมื่อถูกับแป้งจะทำให้ชื้น จะเป็นสาเหตุให้บริเวณนั้นเปื่อยง่ายยิ่งขึ้น

4.ทาแป้ง
ให้เทแป้งลงบนฝ่ามือก่อนแล้วจึงค่อยๆ ทาไปบนตัวเด็กตามส่วนต่างๆ ที่ต้องการ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/publicdomainpictures-14/

5.แต่งตัว
ให้ใส่เสื้อผ้า ผ้าอ้อม เสื้อผ้าสวมใส่ตามฤดูกาล อากาศเย็นควรใส่ผ้าที่หนาๆ หลายชั้น และใส่ถุงเท้าถุงมือด้วย ถ้าอากาศร้อน ถุงเท้าถุงมือไม่จำเป็น

ข้อควรระวังในการอาบน้ำให้ทารก
– ระวังน้ำเข้าหู เวลาสระผม เมื่อน้ำเข้าหู อาจทำให้เป็นน้ำหนวกได้
– ระวังสบู่เข้าตาเข้าปาก เวลาสระผมหรือเวลาทำความสะอาดนิ้วมือเด็ก เพราะเด็กชอบดูดนิ้วมือตัวเอง
– ในรายที่ผิวหนังแห้งหรือผิวหนังลอกไม่ควรใช้สบู่ฟอก ควรใช้น้ำอุ่นเช็ดหรืออาบ เสร็จแล้วทาผิวหนังด้วยน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์แต่เพียงบาง ๆ ก็พอ เพื่อช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น
– ในรายที่มีไข้สูง ไม่ควรอาบน้ำ ควรเช็ดด้วยน้ำอุ่นก็พอ
– ในรายที่เป็นหวัดเล็กน้อยไม่ได้สระผมหลายวัน จะสระผมให้ด้วยก็ได้ แต่หลังสระผมแล้วต้องรีบเช็ดให้ผมแห้งในทันที
– ทุกครั้งก่อนอาบน้ำควรทดสอบความอุ่นของน้ำโดยใช้หลังมือทดสอบ (เพื่อมิให้น้ำร้อนหรือเย็นเกินไป)
– ในรายที่ลิ้นไม่เป็นฝ้า ไม่ควรทายาสีม่วง เพื่อป้องกันฝ้า เพราะไม่มีประโยชน์ นอกจากจะทำให้เด็กรำคาญแล้ว เด็กจะไม่ยอมดูดนมด้วย ในรายที่เป็นฝ้าจากคราบนม ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสุกบิดหมาด ๆ แล้วพันกับนิ้วมือที่สะอาดกวาดบนลิ้นเด็ก ก็จะทำให้คราบนั้นหลุดไปได้

การอาบน้ำให้ลูกไม่ใช่แค่ทำให้ลูกน้อยผ่อนคลายเท่านั้นนะคะ DooDiDo ยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ สายใยรักระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยอีกด้วยค่ะ คุณแม่อย่าลืมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน เหมาะสมกับกับผิวที่บอบบางของลูกน้อยกันด้วยนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.thaichildcare.com