คุณแม่ต้องดู!! วิธีชงนมให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันลูกไม่สบายท้องได้

WM

หากคุณแม่ชงนมไม่ถูกต้องจะส่งผลให้ลูกไม่สบายท้องได้

“นมแม่” เป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกวัยทารก แต่มีคุณแม่บางคนที่มีความจำเป็นซึ่งไม่สามารถให้นมแม่แก่ลูกได้ ด้วยภาระงานที่ต้องทำ หรือด้วยน้ำนมแม่ที่ไม่เพียงพอ  นมผงจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณแม่ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการใช้นมผงก็คือ “การชงนม” เพราะหากคุณแม่ชงนมไม่ถูกต้องจะส่งผลให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องเสียได้ค่ะ

การชงนมผงเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการเลี้ยงลูกที่ถือว่าเบสิคสำหรับคุณแม่มาก แม่ๆ ทุกคนน่าจะรู้วิธีการชงนมกันดีอยู่แล้ว แต่รู้ไหมคะว่าสิ่งที่คิดว่าง่ายและทำตามแบบที่ใครๆ เขาก็ทำกันมานี่แหละ อาจจะเป็นวิธีชงนมที่คุณแม่เข้าใจผิดมาโดยตลอดก็ได้ โดยเฉพาะชงนมให้ทารกอายุ 0-3 เดือน ที่ระบบย่อยยังไม่สมบูรณ์ การชงนมที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ลูกเกิดอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง บิดตัวไม่มาบ่อย และร้องไห้งอแงไม่หยุดเลยก็ได้ ฉะนั้น ก่อนที่จะชงนมให้ลูก คุณแม่มาเช็คกันดูก่อนดีกว่า ว่าได้ทำสิ่งเหล่านี้ไปบ้างหรือไม่

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ivabalk-782511/

วิธีชงนมที่ถูกต้องป้องกันลูกไม่สบายท้องได้
1.ล้างมือให้สะอาด
2.ทำความสะอาดขวดนม จุกนม และนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ชงนมทุกชิ้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค (ด้วยนวัตกรรมในปัจจุบันคุณแม่สามารถนึ่งขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่ายๆ ด้วยเครื่องนึ่งขวดนม Beaba Baby Milk Second ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณแม่สามารถนึ่งขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอุ่นนม อุ่นอาหาร และละลายน้ำแข็ง ได้ในเครื่องเดียว พร้อมอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ที่ตากขวดนม Tree drying rack ที่จะช่วยให้การตากขวดนมและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นเรื่องง่าย สะดวก และเป็นระเบียบเรียบร้อย)
3.ต้มน้ำให้เดือดจนเห็นฟองอากาศผุดขึ้นมา ทิ้งไว้ให้เย็นลงที่อุณหภูมิห้อง
4.ปฏิบัติตามคำแนะนำปริมาณการชงนมบนกล่อง
5.ใส่น้ำสุกอุ่นที่ตั้งทิ้งไว้ลงในขวดตามปริมาณที่แนะนำ
6.เติมนมผงตามปริมาณที่กำหนด
7.ปิดฝาขวด แกว่งขวดเบาๆ (ไม่จำเป็นต้องเขย่าแรง) หรือใช้ข้อมือหมุนขวดวนเป็นวง เพื่อให้นมผงละลาย และป้องกันการเกิดฟอง
8.หยดน้ำนมลงบนหลังมือเพื่อทดสอบอุณหภูมิว่าไม่ร้อนจนเกินไป
9.หากนมมีฟองมาก ให้ตั้งทิ้งไว้สักครู่ก่อนป้อนเด็ก เพราะหากป้อนขณะมีฟอง เด็กจะดูดฟองนี้เข้าไปทำให้ท้องอืดได้
10.ไล่ลมให้ลูกหลังมื้อนมทุกครั้ง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/tung256-4583107/

วิธีเก็บรักษานมที่ชงแล้ว
1.นมที่ชงและกินแล้ว นมที่ชงแล้วจะเสียเร็ว นมที่ป้อนเด็กแล้ว ควรให้เด็กกินให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง ถ้าไม่เช่นนั้นก็ต้องทิ้งไป

2.นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและนำไปแช่เย็น หากชงนมแล้วยังไม่กินทันที ให้ปิดฝาขวดนมให้มิดชิด นำไปแช่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส ไม่แนะนำให้แช่นมในช่องแช่แข็ง และไม่ควรเก็บนมที่ชงแล้วเกิน 24 ชั่วโมง

3.นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและไม่ได้นำไปแช่เย็น ไม่ควรให้เด็กกินนมที่ชงแล้วโดยไม่แช่เย็นเกินกว่า 2 ชั่วโมง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

ทำไมจึงไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมเด็ก
สำหรับวิธีชงนมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันลูกไม่สบายท้องนั้น คุณแม่ไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมให้ลูก เพราะความร้อนจะไปทำลายสารอาหารบางอย่างในนม เช่น โปรตีนและวิตามินอย่างวิตามินซี ที่จะไม่ทนความร้อน และนมสูตรที่ผสมจุลินทรีย์สุขภาพก็จะถูกทำลายได้ง่าย ลูกก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากจุลินทรีย์สุขภาพและวิตามินเหล่านั้น หากต้องการให้ลูกกินนมอุ่นก็ให้ใช้น้ำอุ่นประมาณ 37 องศาเซลเซียสชงนม เพื่อป้องกันการทำลายจุลินทรีย์สุขภาพและสารอาหารในนม อีกทั้งการใช้น้ำร้อนจะทำให้ไขมันในนมจับตัวเป็นก้อน ทำให้นมไม่ละลายด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/fernando_dieguez-7814423/

ใช้น้ำอุณหภูมิห้องชงนมเด็กได้หรือไม่
นอกจากการใช้น้ำอุ่นชงนมให้ลูกแล้ว ปัจจุบันได้มีการพัฒนานมผงให้สามารถละลายได้ทั้งในน้ำอุณหภูมิห้องและน้ำอุ่น คุณแม่จึงสามารถใช้ทั้งน้ำอุณหภูมิห้องและน้ำอุ่น (เช่น อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส) ชงนมให้ลูกได้ด้วย และความเชื่อที่ว่าลูกกินนมชงจากน้ำที่ไม่อุ่นแล้วจะทำให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องอืด จึงไม่เป็นความจริง ที่สำคัญน้ำที่ใช้ชงนมต้องเป็นน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มสุกแล้วเท่านั้น

การชงนมไม่ถูกต้องนั้นจะส่งผลให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องเสียได้ และอาจทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในนมน้อยลงด้วย คุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามวิธีชงนมที่ถูกต้องนะคะ ลองชงนมด้วยวิธีที่ถูกต้องที่ DooDiDo ได้นำมาเสนอในวันนี้นะคะ ลูกน้อยของคุฯแม่ก็จะได้รับสารอาหารจากนมอย่างครบถ้วน ไม่มีปัญหาท้องอืด ท้องเสียให้คุณแม่ต้องกังวลใจอีกต่อไปค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.beabathailand.com, https://happymom.in.th