“การนอนหลับ” ดีต่อพัฒนาการของสมองของลูกอย่างไร?

WM

การนอนหลับที่เพียงพอ จะเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของวันรุ่งขึ้น

โดยปกติแล้ว “การนอนหลับ” ของคนเราไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่จะเป็นวัฏจักร หรือที่เรียกว่า “Sleep Cycle Sleep Cycle” จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นับตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นเด็กโต วัยรุ่นและผู้ใหญ่วัฏจักรการนอน (Sleep Cycle) โดยทั่วไปเริ่มประมาณทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยเริ่มจากการหลับตื้นหรือหลับลึก เรียกว่าช่วง Non-rapid Eye Movement Sleep และหลับที่มีการกลอกตาไปมากล้ามเนื้อคลายตัว และมีความฝันเกิดขึ้นเป็นเรื่องราว หรือช่วง Rapid Eye Movement Sleep 

แต่ละ วัฏจักรการนอน จะใช้เวลาประมาณ 60 นาที ในเด็ก และ 90 นาที ในผู้ใหญ่ ในเด็กจะมีการเกิด REM sleep การหลับลึก มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งสำคัญต่อพัฒนาการของสมองในการเรียนรู้ โดยมีปัจจัยทั้งภายใน ได้แก่ สารสื่อประสาท และฮอร์โมนต่างๆ เช่น เมลาโทนิน ซึ่งทำงานสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก เช่น แสง เป็นต้น 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ddimitrova-1155171/

ความจำเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ปกติประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆ สมองจะประมวลผลและก็บข้อมูล ที่เรียกว่าความจำระยะสั้น  หลัก ๆ ที่สมองส่วน hippocampus แต่เนื่องจากสมองส่วน hippocampus มีความจุจำกัด ดังนั้นสมองจึงต้องถ่ายโอนข้อมูลไปเก็บไว้ที่เนื้อสมองส่วน cerebral cortex เพื่อเก็บความจำระยะยาว 

การนอนหลับที่เพียงพอ จะเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของวันรุ่งขึ้น และทำให้จำสิ่งที่เรียนรู้ของวันก่อนหน้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนอนหลับส่วน Non-rapid Eye Movement Sleep จะมีคลื่นสมองชนิดหนึ่งเกิดขึ้นมาเรียกว่า Sleep spindles ซึ่งการเกิด Sleep spindles ในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิดความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวันต่อมาดียิ่งขึ้น และมีการศึกษาว่า sleep spindles ยังสัมพันธ์กับ IQ ของเด็กและวัยรุ่นด้วย 

หลับเพียงพอต้องหลับนานเท่าไร?

ชั่วโมงของการหลับที่เพียงพอต่อร่างกาย ขึ้นอยู่กับอายุ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/gm-va-20208997/

โดยทั่วไป

เด็กทารกอายุ 4-12 เดือน ต้องการการนอนหลับที่ 12-16 ชั่วโมงต่อวัน 

เด็กเล็กอายุ 1-2 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 11-14 ชั่วโมง 

เด็กอายุ 3-5 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 10-13 ชั่วโมง 

เด็กโตอายุ 6-12 ปี ควรนอนหลับ 9-12 ชั่วโมง 

วัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ควรนอนหลับ 8-10 ชั่วโมง 

นอกจากนี้ ความจำระยะสั้นนั้น เป็นการเก็บข้อมูลของสมองส่วน Hippocampus และจะส่งข้อมูลไปเก็บความจำระยะยาวที่เนื้อสมองส่วน Cerebral cortex ซึ่งจะทำงานได้ดีช่วงหลับลึก DooDiDo กล่าวโดยสรุป คือ การนอนหลับให้เพียงพอ มีผลต่อ การเรียนรู้ ความจำ และยังมีผลต่อ สมาธิ และการควบคุมอารมณ์อีกด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.komchadluek.net