SME ทรุดหนัก ยักษ์ใหญ่ทยอยเลิกจ้างต่อเนื่อง

SA Game

ภาพจาก pixabay

พบผู้ว่างงานกว่า 7.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเกือบ “เท่าตัว”

ขณะที่ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ว่างงานกว่า 7.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเกือบ “เท่าตัว” แต่หลายฝ่ายมองว่าตัวเลข “ผู้ว่างงาน” ยังต่ำกว่าความเป็นจริง แม้ว่ารัฐบาลประเมินว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วเมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ถูกล็อกดาวน์ทั้งประเทศ

เพราะยังมีชุดข้อมูล ที่เรียกว่า “บุคคลเสมือนว่างงาน” คือผู้ที่ทำงานไม่ถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน สูงถึง 5.4 ล้านคน กลุ่มนี้มีชั่วโมงทำงานต่ำถือเป็นจุดเปราะบางของเศรษฐกิจ โดยพยายามประคองธุรกิจไม่เลิกจ้างแต่ลดเวลาทำงาน ปรากฏการณ์ “ลดชั่วโมงทำงาน” กำลังเป็นเทรนด์ของการจ้างงานในภาวะวิกฤต

แม้ว่าเศรษฐกิจจะผ่านจุดต่ำสุด แต่วิกฤตที่ซ่อนอยู่ยังไม่ได้ปรากฏออกมา ด้วยเพราะมาตรการเยียวยาต่าง ๆ รวมถึงมาตรการพักหนี้ของ ธปท. ช่วยต่อลมหายใจของผู้ประกอบการออกไป ถ้าโชคดีเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็ว ผู้ประกอบการที่โดนพิษโควิด-19 สามารถยืนระยะเพื่อกลับมาได้

SA Game
ภาพจาก pixabay

แต่ปัญหาโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด วัคซีนยังไม่สำเร็จ และความรุนแรงของปัญหาแท้จริงยังไม่เกิดขึ้นผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่อยู่ในมาตรการพักหนี้ซึ่งครบกำหนด 22 ต.ค.นี้ แม้ว่าแบงก์ชาติจะถอดสลักโดยต่อเวลาถึงสิ้นปี แต่ถ้าลูกหนี้ไปต่อไม่ไหว ยังไม่มีรายได้มาชำระหนี้ ก็ต้องเข้าสู่ปรับโครงสร้างหนี้ อาจจะต้องปลดพนักงานอีกระลอก

นอกจากนี้ ยังมีเอสเอ็มอีประมาณ 1.6 หมื่นราย (มูลหนี้ 5.7 หมื่นล้าน) ที่แบงก์เจ้าหนี้ติดต่อไม่ได้ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าส่วนใหญ่ปิดกิจการไปแล้ว ขณะที่เมืองไทยยังไม่สามารถเปิดประเทศรับต่างชาติ อาจมีบ้างที่เป็นกลุ่มผู้เข้ามารักษาพยาบาลระดับ 1,000-2,000 คน หรือกลุ่มลองสเตย์ที่ยังรอลุ้นว่าจะเข้ามาเมื่อไหร่ แน่นอนว่าทุกอย่างต้องเปิดอย่างระมัดระวัง

ตัวเลขจึงเป็นหลักร้อยหลักพัน ไม่ใช่หลักล้านคนเหมือนที่ผ่านมา ทุกอย่างกลายเป็น “นิวนอร์มอล” ธุรกิจโรงแรมจะยืนทนได้อีกนานแค่ไหน ซึ่งทางสมาคมโรงแรมระบุว่า ขณะนี้ยังมีโรงแรมกว่า 50% ที่ยังไม่ได้กลับมาเปิดให้บริการเพราะไม่มีนักท่องเที่ยว แล้วจะมีจำนวนเท่าไหร่ที่จะต้องปิดถาวร

ขณะเดียวกัน ก็มีธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในกระบวนการปรับโครงสร้างธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายพร้อมด้วยแผนปรับลดพนักงาน อย่างล่าสุด บมจ.การบินไทย เปิดโครงการ “ร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร” ให้สมัครใจลาออกให้มาทำงานวันสุดท้าย 30 พ.ย.2563 อีกทางเลือก คือ ให้ลาหยุดยาว 6 เดือนโดยได้รับเงินเดือน 20% และจะเปิดโครงการสมัครใจลาออกอีกรอบในเดือน มี.ค. 2564

หรือกลุ่มบริษัทไมเนอร์ เจ้าของโรงแรมกว่า 500 แห่ง ทั่วโลก”บิล ไฮเน็กกี้” ประธานและผู้ก่อตั้ง ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ได้ปรับลดพนักงานไปแล้ว และอาจจะต้องมีการเลิกจ้างอีกระลอก รวมถึงปิดโรงแรมบางส่วนในเร็ว ๆ นี้

แม้แต่แบงก์ไทยพาณิชย์ก็ได้เปิดโครงการ “จากด้วยใจ” ครั้งที่ 2 ให้พนักงานสมัครเข้าโครงการตั้งแต่ 5 ต.ค.-6 พ.ย. 2563 หลังจากที่ปิดโครงการรอบแรกไปเมื่อเดือน มิ.ย. 2563 รวมถึงค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เปิดโครงการให้พนักงาน “ลาโดยไม่รับค่าจ้างและสวัสดิการ” แบบไม่จำกัดวันลา ในภาวะที่กำลังซื้อในตลาดทั่วโลกหดตัว

สะท้อนว่าในแต่ละอุตสาหกรรมมีแผนลดพนักงานจำนวนมากซ่อนอยู่ สถานการณ์เช่นนี้คงจะเพิ่มมากขึ้นช่วงปลายปีนี้ แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะมีโปรเจ็กต์จ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง แต่ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ไม่ได้สูงดังชื่อโครงการ และไม่มีรายงานสรุปของรัฐบาลว่ามาตรการจ้างงานนี้สัมฤทธิผลแค่ไหน มีแต่วงในว่ามีการจ้างงานเกิดขึ้นจริงแค่หลักหมื่นคน

ปัญหาคือ หากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าจนส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงในที่สุด กลุ่มคนที่เสมือนว่างงานก็จะเปลี่ยนสถานภาพเป็น “ผู้ว่างงาน” จำนวนมหาศาล

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ