8 เทคนิคดีๆ ช่วยปรับเปลื่ยนพฤติกรรมลูกติดคำหยาบจากคนอื่น

คำพูดหยาบคาย กิริยาก้าวร้าว พฤติกรรมเหล่านั้นอาจจะมาจากเพื่อนที่โรงเรียน

คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จะรู้ไว้หากลูกถึงวัยที่เค้าเริ่มหัดพูดและกำลังเรียนรู้ภาษาแล้ว ลูกอาจจะมักจะใช้คำพูดต่างๆ โดยไม่รู้ความหมายที่ชัดเจน บางทีก็ไปรับคำหยาบคายมาเลียนแบบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรรับมือด้วยความสุภาพ และค่อยๆ สอนให้ลูกรู้ว่าคำใดไม่ควรพูด ด้วยท่าทีที่จริงจังแต่อ่อนโยนนะคะ เพื่อไม่ให้หนูน้อยสูญเสียความมั่นใจในการหัดพูดจาประสาเด็กค่ะ

เมื่อลูกน้อยเริ่มไปโรงเรียน บ่อยครั้งพ่อแม่อาจต้องแปลกใจที่พบว่า ลูกมีพฤติกรรมไม่น่ารักกลับบ้านมาด้วย เช่น พูดคำหยาบ มีกิริยาก้าวร้าวทั้งที่ไม่เคยเป็น ซึ่งอาจเป็นเพราะลูกจำพฤติกรรมเหล่านั้นมาจากเพื่อนที่โรงเรียน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ คือ

8 เทคนิค ปรับพฤติกรรมลูกพูดคำหยาบ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/marvelmozhko-6693180/
  1. พ่อแม่และคนใกล้ชิดต้องระวังคำพูด

สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านต้องระวัง ไม่พูดคำหยาบให้เด็กได้ยินเป็นอันขาด เพราะลูกจะไม่เข้าใจว่าทำไมผู้ใหญ่พูดได้ แต่เด็กพูดแล้วกลับถูกลงโทษ อาจทำให้ลูกกลายเป็นคนไม่มีเหตุผลในอนาคตได้ ลองหาแหล่งที่มาของคำหยาบเหล่านั้น แล้วพยายามกันลูกออกจากคน หรือแหล่งนั้นๆ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลกับพฤติกรรมของเด็กด้วยเช่นกัน

  1. ระวังสื่อที่ลูกดู

คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ เลือกรายการโทรทัศน์ที่เหมาะกับเด็กเล็ก หรือควรเลือกดูรายการที่ไม่มีคำสบถหรือคำไม่สุภาพแทน

  1. หากลูกพูดคำหยาบ ต้องสอนให้พูดคำอื่นแทน

เด็กยังไม่รู้ว่าคำไหนหยาบหรือไม่หยาบ ดังนั้นเมื่อลูกพูดคำหยาบคุณพ่อคุณแม่ต้องชี้เป็นคำๆ ไปว่าคำนี้พูดไม่ได้ และสอนด้วยว่าควรใช้คำใดแทน แล้วให้ลูกหัดพูดตาม เช่น หากลูกคำว่า “ตีน” อาจสอนลูกว่าคำนี้ไม่เพราะ พูดแล้วไม่น่ารักเลย พูดแล้วพ่อแม่ไม่ชอบ ให้พูดคำว่า “เท้า” แทน แล้วสอนให้ลูกพูดตาม

  1. ห้ามเผลอหัวเราะชอบใจ

อย่าเผลอหัวเราะชอบใจเมื่อเด็กพูดคำแปลกๆ ที่เป็นคำหยาบออกมา ยิ่งคนรอบข้างหัวเราะชอบใจ เป็นการเสริมพฤติกรรมให้เด็กพูดอีกเพราะคิดว่าถูกต้องเหมาะสมแล้ว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/
  1. เมื่อลูกไม่พอใจ ให้พูดคำว่า โกรธแล้วนะ

บางครั้งลูกเรียนรู้ว่าการใช้คำหยาบเป็นการระบายอารมณ์ เพราะเห็นตัวอย่างจากผู้ใหญ่หรือจากเด็กคนอื่นที่เวลาไม่พอใจก็สบถคำหยาบออกมา คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนให้เด็กใช้คำอื่นที่น่าฟังกว่าแทน เช่น เวลาโกรธ ก็ให้พูดว่า “โกรธแล้วนะ” แทน

  1. ไม่ดุด่าเมื่อลูกพูดคำหยาบ

หากพูดคำหยาบเพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรแสดงสีหน้าตกใจหรือไปจ้ำจี้จ้ำไชดุด่าลูก หรือลงโทษรุนแรงจะทำให้ลูกเสียความเชื่อมั่นในตนเอง บางครั้งย้ำคิดแต่คำนั้น และเลิกพูดคำนั้นไม่ได้ ยิ่งพ่อแม่ดุมากยิ่งเลิกพูดไม่ได้

  1. ลูกกำลังทดสอบอำนาจของคำหยาบ

สำหรับเด็กเล็กๆ การพูดคำหยาบเป็นการทดสอบอำนาจของคำนั้น และเด็กกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับอำนาจของถ้อยคำ หากรู้ว่าลูกกำลังทดสอบอยู่ คุณพ่อคุณแม่อาจทำเป็นเพิกเฉย ให้เขารู้สึกว่าคำหยาบไม่มีความหมายสำหรับพ่อแม่ แล้วลูกจะเลิกพูดไปเอง เช่น หากลูกเรียกคุณพ่อคุณแม่ด้วยคำหยาบไม่ควรหันไปมอง เด็กจะเรียนรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมและไม่มีใครสนใจ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/finelightarts-890049/
  1. อย่าคาดคั้นให้ลูกไม่พูดอีก

อย่าทำให้ลูกเครียด โดยการไปคอยกังวลถามย้ำ คาดคั้นให้ลูกสัญญาว่าจะไม่พูดอีก การย้ำและการห้ามลูก ยิ่งเป็นการไปเพิ่มความสนใจในคำนั้นให้แก่ลูกมากขึ้น ทำให้ลูกจดจำและพูดคำนั้นอยู่เรื่อยๆ บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจต้องปล่อยวาง และลองเพิกเฉยกับคำนั้น ลูกจะค่อยๆ เลิกพูดได้เอง

ในยุคปัจจุบันการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กที่มีความมุ่งมั่นและมีจิตใจที่เข้มแข็งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ DooDiDo คิดว่าพ่อแม่ทุกคนมีจุดยืนเป็นของตนเองเพื่อเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนที่แข็งแกร่งและมีความสามารถในสังคมที่มีการแข่งขันกันสูง แต่ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงคือ ทางสายกลาง ควรปล่อยให้ลูกมีความสุขตามวัยไปพร้อมกับค่อยๆ เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมุ่งมั่นอย่างสม่ำเสมอนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://aeonfantasy.co.th