8 อาการที่บ่งบอกว่า “ปลากัด” ของคุณกำลังป่วย!!

WM

ถ้าสงสัยว่าปลากัดจะป่วย ให้รีบแยกจากปลาตัวอื่นทันที

ปลากัด เป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความผ่อนคลาย เพิ่มความสวยงามให้กับตู้ปลา แถมยังเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงไว้ขาย สร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้อีกด้วย จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ปลาสวยงามทมี่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปลากัดของคุณไม่สามารถสื่อสารเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยได้ คนเลี้ยงจึงต้องคอยสังเกตอาการของปลาตามที่เราจะนำมาฝากในวันนี้ค่ะ

เวลาปลากัด (betta fish) ป่วย จะแสดงอาการหลายอย่าง ตั้งแต่เซื่องซึมไปจนถึงมีจุดด่างขาวตามตัว ถ้าสงสัยว่าปลากัดจะป่วย ให้รีบแยกจากปลาตัวอื่นทันที เพราะโรคปลากัดส่วนใหญ่ติดต่อกันได้ อีกอย่างคือคุณหาซื้อยารักษาโรคปลากัดตามร้านขายปลาสวยงามหรือร้านของใช้สัตว์เลี้ยงไม่ได้ ต้องหาซื้อตามร้านออนไลน์

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@timothycdykes

1.สีซีดลง
เวลาปลากัดป่วย สีจะซีดลงได้ ดีไม่ดีสีจะหายไปเลย

2.ครีบผิดปกติ
ถ้าปลากัดแข็งแรงดี ครีบจะเต็มสมบูรณ์ แต่ถ้าป่วย ครีบอาจแหว่งวิ่นหรือเป็นรูได้ อีกสัญญาณบอกโรค ก็คือครีบปลากัดม้วนหรือหุบเข้าหาตัว เพราะปกติครีบปลากัดจะแผ่ออกสวยงาม

3.เซื่องซึม
ถ้าปลากัดป่วย จะไม่ค่อยร่าเริงกระฉับกระเฉงเหมือนเคย จะเคลื่อนไหวช้าลง
– อีกสัญญาณบอกโรค ก็คือปลาจะไปซุกตัว ซ่อนอยู่ก้นตู้ปลานานๆ หรือบ่อยกว่าปกติ
– ที่ปลากัดเซื่องซึม อาจเป็นเพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป เพราะงั้นต้องเช็คให้ชัวร์ว่าน้ำในตู้ปลาอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม

4.พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
ถ้าปลากัดป่วย อาจหยุดกินอาหารไปเลย เพราะงั้นถ้าสังเกตว่าปลาเบื่ออาหาร ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะป่วย

5.มีจุดขึ้น
ถ้าปลากัดมีจุดสีขาวเล็กๆ ขึ้นแถวหัวและปาก อาจเป็นสัญญาณบอกว่ามีปรสิตบางชนิด เช่น อิ๊ค

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@huyphan2602

6.หายใจผิดปกติ
อย่าเพิ่งงงว่าจะให้สังเกตลมหายใจของปลากัดเนี่ยนะ จริงๆ แล้ววิธีสังเกตคือถ้าปลากัดต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำบ่อยๆ เป็นไปได้ว่าปลากัดป่วย[10]
– ปกติปลากัดก็มีผุดหายใจที่ผิวน้ำบ้าง แต่ถ้าทำบ่อยผิดปกติแสดงว่าป่วย

7.ถูตัวเองเหมือนคัน
ถ้าปลากัดถูไถตัวเองกับตู้ปลาบ่อยๆ เป็นไปได้ว่ามีอะไรผิดปกติ รวมถึงถ้าปลากัดถูตัวกับพืชน้ำหรือของตกแต่งตู้ปลา ก็ผิดปกติเช่นกัน

8.ความผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ
ถ้าปลากัดตาโปนก็เป็นสัญญาณบอกโรค โดยตาจะปูดโปนออกมาจากหัวเลย
– อีกสัญญาณบอกโรคก็คือเกล็ดพอง (raised scales)
– สังเกตเหงือกปลาด้วย ถ้าปลากัดหุบเหงือกไม่ได้ แปลว่าเหงือกบวม ซึ่งก็เป็นสัญญาณบอกโรคเช่นกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@tepdara

เคล็ดลับการรักษา
1.ถ้าปลาป่วยหนักเกินเยียวยา
คุณหมออาจแนะนำให้ทำการุณยฆาต แต่เฉพาะเคสที่แน่ใจว่าป่วยหนักจริงๆ อย่าคิดเองเออเอง!

2.ถึงปลากัดเปลี่ยนสีก็อย่าเพิ่งตกใจ
เขาเรียก marbling (ลายหินอ่อน) มักเกิดในปลากัด betta splendens ส่วนใหญ่ จะน่าเป็นห่วงก็ต่อเมื่อปลากัดสีซีดลง ผิดจากสีเดิม (ทั้งตัว ไม่ได้เหมือนแบบ marbling ที่จะเหลือบสีไปทีละส่วน) แบบนี้แสดงว่าปลาเครียด หรือเป็นโรคครีบ/หางเปื่อย ปลายหางจะเข้มขึ้นเป็นสีแดงหรือดำ

จากข้อมูลที่ DooDiDo นำมาฝากนี้ เป็นข้อมูลดีๆ ที่ช่วยให้คุณได้นำไปสังเกตปลากัดที่เป็นปลาสวยงามของคุณค่ะ ซึ่งคุณจะต้องคอยดูความผิกปกติเหล่านี้ให้ดี เพราะถ้าหากน้องเริ่มมีอาการดังที่กล่าวมา ต้องเริ่มแยกน้องออกจากปลาตัวอื่นให้เร็วที่สุดนะคะ เพื่อที่ปลาตัวอื่นจะได้ปลอดภัย ไม่ติดโรคจากปลากัดที่ป่วยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://th.wikihow.com