8 สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะเป็นฟองที่ควรต้องระวัง!!

WM

การรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ปัสสาวะเป็นฟองมากกว่าปกติ 

เวลาที่คุณถ่ายเบาคุณเคยสังเกตปัสสาวะของตัวเองไหมคะ ว่ามีลักษณะสีหรือกลิ่นที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือเปล่า หรือบางครั้งลักษณะของปัสสาวะที่ผุดขึ้นเป็นฟอง ๆ หรือเปล่า เพราะหากปัสสาวะของคุณเป็นฟองติดต่อกันหลายครั้ง อาจหเกิดความผิดปกติของไตและอาการของโรคเบาหวานได้ค่ะ เนื่องจากปัสสาวะสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของคุณได้โดยรวม

หากปัสสาวะของคุณมีสีคล้ายกับเบียร์ก็อาจหมายความว่าคุณต้องดื่มน้ำเพิ่มขึ้น หรือถ้ามีสีเหลืองขุ่นก็อาจส่งสัญญาณว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น แล้วถ้าปัสสาวะเป็นฟองล่ะเกิดจากอะไร  เวลาเข้าห้องน้ำขับถ่าย เราต้องหมั่นสังเกต สีหรือกลิ่นของปัสสาวะกันด้วยนะคะ ถ้าหากว่ามีความผิดปกติแตกต่างไปจากเดิมก็ระวังและอย่าชะล่าใจเป็นอันขาด โดยวันนี้มีเรื่องราวดี ๆ ที่อยากแชร์เกี่ยวกับ 8 สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเป็นฟองค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@benjaminwedemeyer

1. ไตทำงานไม่ดีเท่าที่ควร
โดยปกติไตของคนเราจะทำหน้าที่กรองเลือดและสารต่างๆในปัสสาวะโดยเฉพาะโปรตีน ดังนั้นเมื่อปัสสาวะของคุณเป็นฟองก็อาจเกิดจากการที่มีโปรตีนมากเกินไป โดยปกติไตจะไม่ยอมให้โมเลกุลโปรตีนจากเลือดผ่านเข้าไปในปัสสาวะ โปรตีนที่เพิ่มขึ้นในปัสสาวะคือหลักฐานความเสียหายของไตรั่ว อย่างไรก็ตามอาการปัสสาวะเป็นฟองเป็นเพียงสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าไตเสียหายเท่านั้น ส่วนอาการอื่นๆได้แก่ อาการบวมน้ำ หากคุณมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

2. การไหลเร็วของปัสสาวะ
อาการปัสสาวะเป็นฟองแค่บางส่วนคือเรื่องปกติซึ่งอาจเกิดจากการไหลเร็วของปัสสาวะ (หมายเหตุ : การไหลปกติของปัสสาวะจะอยู่ที่ประมาณ 15 มิลลิลิตรต่อวินาที) แต่ถ้าปัสสาวะของคุณเป็นฟองมากกว่าปกติก็อาจไหลเร็วมากกว่าเดิมเล็กน้อย

3. คุณเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะความดันโลหิตสูง
ทั้งโรคเบาหวานซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับอินซูลินในร่างกายและภาวะความดันโลหิตสูงจะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือดไปยังไตและทำให้การทำงานผิดปกติ ความดันที่เพิ่มขึ้นคือสาเหตุของความเครียดซึ่งทำให้เกิดความเสียหายและเพิ่มปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนี้โรคเบาหวานยังทำให้ปัสสาวะบ่อยและรู้สึกกระหายน้ำ ขณะที่ภาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้แน่นหน้าอกหรือหายใจติดขัดได้ หากมีอาการดังกล่าวควบคู่กับอาการปัสสาวะเป็นฟองควรไปพบแพทย์ทันที

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@bluewaterglobe

4. คุณมีภาวะขาดน้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่พบได้ในปัสสาวะ ดังนั้นหากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอก็อาจทำให้ปัสสาวะเป็นฟองได้ ยิ่งขาดน้ำมากปัสสาวะก็ยิ่งมีความเข้มข้นมากเนื่องจากร่างกายพยายามกักเก็บน้ำไว้ ทางที่ดีคุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้น

5. คุณเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดชนิดใดชนิดหนึ่ง
โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมาจะก่อตัวในเม็ดเลือดพลาสมาเซลล์และทำให้ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น (ส่งผลให้ปัสสาวะเป็นฟอง) ซึ่งแอนติบอดี้ที่ถูกสร้างขึ้นนั้นก็เป็นผลมาจากโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามกรณีนี้หาได้ยากมาก ส่วนใหญ่โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมามักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีโดยเฉพาะชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามากถึงสองเท่า (แต่ไม่มีใครทราบสาเหตุ) บางทีอาการปัสสาวะเป็นฟองก็ขึ้นอยู่กับอายุและเชื้อชาติด้วย

6. คุณมักจะรับประทานยาแก้ปวด
หากคุณรับประทานยาแก้ปวดมาสักพักหนึ่งแล้วก็อาจทำให้ปัสสาวะของคุณเป็นฟองมากกว่าปกติ (เช่นยา Advil, Motrin และ Aleve) ยาเหล่านี้จะทำให้ระดับโปรตีนในปัสสาวะสูงขึ้นหรือที่แย่ไปกว่านั้นคือทำให้ไตของคุณอักเสบ ทางที่ดีคุณไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/derneuemann-6406309/

7. มีการติดเชื้อรุนแรง
การติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคไวรัสตับอักเสบหรือเอชไอวีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการมีโปรตีนมากเกินไปในปัสสาวะ การติดเชื้อบางชนิดจะส่งผลกระทบต่อไตโดยตรงและอาจทำให้การทำงานของไตผิดปกติ การตรวจปัสสาวะสามารถตรวจสอบได้ว่ามีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะมากเกินไปหรือเปล่า ขณะที่แพทย์ก็สามารถหาสาเหตุจากการตรวจปัสสาวะได้เช่นกัน

8. คุณเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองจะทำให้ไตเกิดความตึงเครียดและมีโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการกรองของเสียเช่นเดียวกับโรคลูปัส อาการของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองจะแตกต่างกันไปแต่ก็มีหลายอย่างที่เหมือนกัน เช่น อาการเมื่อยล้า ปวดข้อต่อ และเป็นไข้) ดังนั้นถ้าคุณพบว่าปัสสาวะเป็นฟองและรู้สึกแปลกไปก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ปัสสาวะสามารถบอกอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ ทางที่ดีควรหมั่นสังเกตสีของปัสสาวะของตัวเองกันด้วยนะคะ เพราะอาการปัสสาวะเป็นฟองเกิดจากการทำงานของไตซึ่งผิดปกติ  อย่าละเลยเด็ดขาดเลยนะคะ DooDiDo เพราะหากเกิดความผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการต่อไป ที่สำคัญอย่าอั้นฉี่เป็นอันขาดนะคะ เพราะการอั้นฉี่อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคุณอย่างคาดไม่ถึงเลยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา :  issue247.com