5 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนยอมใจอ่อนให้ลูกๆมีสัตว์เลี้ยงไว้ครอบครอง

เคยไหมค่ะเวลาที่เราเห็นความน่ารักของเจ้าสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นน้องหมา น้องแมว กระต่าย นก หนู อาจจะชอบและเกิดความสงสารอยากจะเลี้ยงขึ้นมา แหละนี่คือความโกลาหลในบ้านก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยการไปเดินเล่นที่ร้านต่างๆ หรือดูรายการทีวีด้วยและลูกสุดที่รักหลุดคำว่า น่ารักจัง!! ของยงได้มั้ยครับ/คะ!! ”เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ คุณพ่อคุณแม่มักทนการรบเร้าจากลูกๆไม่ไหว ในที่สุดต้องยอมใจอ่อนซื้อหาสัตว์เลี้ยงมาไว้ที่บ้านให้เด็กๆได้สมใจ แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น มีหลายครั้งที่สุดท้ายแล้วเพื่อนร่วมโลกนี้เป็นเพียงของเล่นใหม่ชิ้นหนึ่งของเด็กๆ เมื่อหมดความสนใจแล้วก็ถูกปล่อยทิ้งไม่เหลียวแล เพื่อไม่ให้เกิดเป็นแผลในใจของครอบครัว มี 5 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนยอมใจอ่อนให้ลูกๆมีสัตว์เลี้ยงไว้ครอบครอง ดังนี้

ใช่แล้วค่ะ เด็กๆ ของเราอยากมีสัตว์เลี้ยงในบ้านเมื่อคำขอมา แน่นอนว่านี่คืออุปสรรคใหญ่เลยทีเดียวของคนเป็นพ่อเป็นแม่เพราะการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงซักตัวก็ไม่ต่างอะไรกับมีสมาชิกครอบครัวเพิ่มเข้ามาในบ้านอีกคนให้ดูแลเลยใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งคนที่อยากเลี้ยงเองก็อาจจะยังมีวุฒิภาวะ และความรับผิดชอบที่ไม่มากพอจะดูแลเอง ก็เป็นหน้าที่ของเราอีกที่จะต้องคอยช่วยเหลือเขาในการเลี้ยงดูซึ่งมันจะต้องทำให้พบเจอกับภาระหลายๆ อย่างที่ตามมาอีกมากแต่ทว่า ถ้าอยากลองดูซักตั้ง เพราะเราเองก็อยากลองเลี้ยงอยู่แล้วหรือตั้งใจแล้วว่า นี่อาจจะเป็นการดีที่ทำให้เด็กในบ้านได้ลองฝึกวินัยตนเองและเพิ่มความรับผิดชอบ จะให้เลี้ยงก็คงไม่เสียหาย ถ้าคิดแบบนั้นแล้ว เราก็ต้องมาเริ่มเตรียมตัวกันเลยกับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 6 ข้อ ไปดูกันเลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@momhasapples

ความพร้อมเรื่องสุขภาพ

สิ่งแรกที่เราต้องดูก่อนคือ สุขภาพของทุกคนในครอบครัวสามารถที่จะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้จริงหรือไม่ เพราะสุขภาพของทุกคนนั้นล้วนสำคัญอย่างมาก หากมีใครสักคนในบ้านแพ้ขนสัตว์หรือมีอาการหวาดกลัวต่อสัตว์บางชนิดแล้วนั้น มันก็จะส่งผลกระทบวงกว้างได้ในอนาคตหากยังดึงดันว่าอย่างไรก็จะเลี้ยง ดังนั้นเรื่องสุขภาพของผู้ร่วมเลี้ยงทุกท่านต้องมาเป็นอันดับหนึ่งในการคัดสรรว่าสมควรเริ่มมีสัตว์เลี้ยงหรือไม่ และหากได้เลี้ยงจะสามารถเลี้ยงสัตว์ประเภทไหนได้บ้าง และสิ่งที่ต้องสังเกตคือตรวจสุขภาพให้มั่นใจว่าบ้านว่าใครแพ้สิ่งไหนบ้างอาทิ ขน, น้ำลายหรืออาจเป็นภูมิแพ้ได้ง่าย จากการหายใจในบ้านที่มีสัตว์ร่วมอาศัย ซึ่งหากทำได้ควรมีการตรวจหาอาการแพ้อย่างจริงจังเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต

ดูความเหมาะสมของอายุคนในบ้านว่าเหมาะกับสัตว์เลี้ยงประเภทไหน เช่นในบ้านมีเด็กเล็กกับผู้สูงอายุ ไม่สมควรเลี้ยงสัตว์ที่มีขนาดตัวใหญ่หรือพละกำลังมากเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย

ความพร้อมเรื่องพื้นที่

เพราะสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงที่แตกต่างกัน การเตรียมพื้นที่ไว้ให้พร้อมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เพราะการที่เราจะรับสัตว์ชนิดไหนเข้ามาเลี้ยงแปลว่าเราต้องมีสถานที่รองรับอย่างดีพร้อมแล้วจึงสามารถนำมาเลี้ยงได้ เช่น

สัตว์เล็กอย่างกระต่าย, หนูแฮมสเตอร์, นก, ปลา, สัตว์เลื้อยคลาน, แมลง จำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับวางกรงหรือโถ, พื้นที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ

สัตว์ขนาดกลางอย่างสุนัขพันธุ์เล็ก, แมว, ไก่, เป็ด จำเป็นจะต้องมีพื้นที่กว้างในบ้านที่มากพอให้เขารู้สึกไม่เครียดในการเดินหรือเคลื่อนไหว และที่สำคัญพื้นผิวของพื้นและการปีนป่ายต้องสอดคล้องกับการเดินของเขาอีกด้วย

สัตว์ขนาดใหญ่อย่างสุนัขพันธุ์ใหญ่, ม้าหรือสัตว์สี่ขาที่มีขนาดตัวสูงกว่า 1 เมตร จำเป็นจะต้องมีพื้นที่ที่เป็นสวนหรือสนามให้เขาเพื่อให้สัตว์เหล่านั้นไม่เกิดความเครียดหรืออัดอั้น ยิ่งตัวใหญ่ยิ่งต้องปลดปล่อยพลังงานออกมามาก ดังนั้นพื้นที่นี้จำเป้นอย่างมาก หากบ้านไม่มีก็จำเป็นต้องหาสวนละแวกใกล้เคียงหรือลานกิจกรรมให้ได้พาออกไปผ่อนคลาย

ฉะนั้นแล้ว ความพร้อมเรื่องพื้นที่จึงควรเป็นสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจกับเด็กๆ ในบ้านกับการเลี้ยงสัตว์ตัวแรกของพวกเขา เพราะถ้าสามารถดูความเหมาะสมได้แล้ว ก็จะนำไปสู่ความพร้อมเรื่องอื่นๆ ถัดไปโดยมีเรื่องพื้นที่ช่วยกำหนดแนวทางในการเลี้ยงไว้ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@matthewhalmshaw

ความพร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย

การเลี้ยงสัตว์เพิ่มเข้ามาในบ้าน ก็เป็นการเพิ่มสมาชิกเข้ามาในบ้านที่สำคัญ ดังนั้น ไม่ว่าจะสัตว์เลี้ยงจะเป็นชนิดไหน, พันธุ์อะไร ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นซึ่งตรงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจต้องวางแผนระยะยาวในการใช้จ่ายล่วงหน้าไว้ด้วยว่า เราสามารถแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายในบ้านมาใช้จ่ายในส่วนนี้ได้รึเปล่า หรือหากเกิดกรณ๊ไม่คาดฝันอย่างสัตว์เลี้ยงป่วย, โดนอุบัติเหตุ จะมีเงินทุนพอในการช่วยเหลือหรือไม่ดังนั้น การเก็บเงินเพื่อมารองรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ใหญ่อันดับต้นๆ เลยในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ผู้ปกครองควรมีทุนไว้หลักพันหรือหมื่นในการเลี้ยงดูอีกหนึ่งสมาชิกใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตได้ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ควรมีไว้มีดังนี้

ค่าอุปกรณ์ดูแลเช่น กรง, แชมพู, สบู่, ของเล่น, ผ้าหรือเสื่อปู, สายคล้องจูง

ค่าอาหารเช่น อาหารเม็ด, อาหารเปียก, วิตามิน, ขนม

ค่ารักษาเช่นวัคซีน, แก้คัน, เห็บหมัด, เงินก้อนสำหรับการผ่าตัด

ความพร้อมเรื่องเวลา

เพราะการเลี้ยงสัตว์ไม่เหมือนกันการซื้อของเข้าบ้านที่หลังจากซื้อแล้วและติดตั้งในบ้านก็จบลงเสร็จสมบูรณ์เพราะสัตว์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องได้รับการดูแลไม่ต่างอะไรกับเด็กเล็ก ยิ่งเป็นสัตว์ที่ขี้เล่น ติดคน ก็จะยิ่งต้องให้เวลาอย่างมากในการเลี้ยงดูและเล่นด้วยเพราะหากไม่ให้ความใส่ใจหรือใช้เวลาในการดูแลเขาก็อาจทำให้น้องสัตว์ที่เรารับมาเกิดสภาวะเครียด และป่วยได้ในที่สุด ดังนั้นหากลูกของเราต้องการที่จะเลี้ยงแล้ว สิ่งสำคัญมากๆ เลยคือต้องมีเวลาให้เขา และจัดแบ่งอย่างเป็นระบบเช่นต้องมีเวลาในการให้อาหาร, พาไปเดินเล่น, ทำความสะอาด เช่นเด็กๆ มีหน้าที่ให้อาหารเช้าและเย็น, คุณแม่มีหน้าที่พาออกไปวิ่งเล่น, คุณพ่ออาบน้ำ, ล้างกรง

ต้องมีเวลาในการพาไปพบสัตวแพทย์, สามารถสละเวลาบางวันเพื่อดูแลได้ยามสัตว์เลี้ยงเจ็บไข้ได้ป่วย เช่นคุณพ่อมีหน้าที่ขับรถพาสัตว์เลี้ยงไปหาคุณหมอหรือหากไม่ว่างคุณแม่ต้องสามารถพาไปได้

ต้องมีเวลาในการให้ความรัก ไม่รำคาญหรือผลักไสเวลาที่สัตว์เลี้ยงต้องการเป็นอีกหนึ่งส่วนของครอบครัว เช่นช่วงเวลาในการทำกิจกรรมนอกบ้าน, การสอนทักษะหรือรับฟังคำสั่งอย่างง่าย ก็ต้องมีเวลาให้เขาในการได้เล่นกับทุกคนในครอบครัว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/9436196-9436196/

ความพร้อมเรื่องความรับผิดชอบของลูก

เพราะการเลี้ยงสัตว์ไม่เหมือนกันการซื้อของเข้าบ้านที่หลังจากซื้อแล้วและติดตั้งในบ้านก็จบลงเสร็จสมบูรณ์เพราะสัตว์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องได้รับการดูแลไม่ต่างอะไรกับเด็กเล็ก ยิ่งเป็นสัตว์ที่ขี้เล่น ติดคน ก็จะยิ่งต้องให้เวลาอย่างมากในการเลี้ยงดูและเล่นด้วยเพราะหากไม่ให้ความใส่ใจหรือใช้เวลาในการดูแลเขาก็อาจทำให้น้องสัตว์ที่เรารับมาเกิดสภาวะเครียด และป่วยได้ในที่สุด ดังนั้นหากลูกของเราต้องการที่จะเลี้ยงแล้ว สิ่งสำคัญมากๆ เลยคือต้องมีเวลาให้เขา และจัดแบ่งอย่างเป็นระบบเช่นต้องมีเวลาในการให้อาหาร, พาไปเดินเล่น, ทำความสะอาด เช่นเด็กๆ มีหน้าที่ให้อาหารเช้าและเย็น, คุณแม่มีหน้าที่พาออกไปวิ่งเล่น, คุณพ่ออาบน้ำ, ล้างกรง

ต้องมีเวลาในการพาไปพบสัตวแพทย์, สามารถสละเวลาบางวันเพื่อดูแลได้ยามสัตว์เลี้ยงเจ็บไข้ได้ป่วย เช่นคุณพ่อมีหน้าที่ขับรถพาสัตว์เลี้ยงไปหาคุณหมอหรือหากไม่ว่างคุณแม่ต้องสามารถพาไปได้

ต้องมีเวลาในการให้ความรัก ไม่รำคาญหรือผลักไสเวลาที่สัตว์เลี้ยงต้องการเป็นอีกหนึ่งส่วนของครอบครัว เช่นช่วงเวลาในการทำกิจกรรมนอกบ้าน, การสอนทักษะหรือรับฟังคำสั่งอย่างง่าย ก็ต้องมีเวลาให้เขาในการได้เล่นกับทุกคนในครอบครัว

ความพร้อมเรื่องการลาจาก

ไม่มีสิ่งมีชีวิตไหนอายุยืนยาวตลอดไป ในบางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราอาจมีอายุขัยเพียง 3-5 ปี หรือถ้ามีอาการป่วยหรือโรคแทรกซ้อนอาจทำให้เขาจากไปได้โดยที่ยังใช้ชีวิตร่วมกันมาไม่ถึงปีก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นความพร้อมในส่วนนี้เป็นส่วนที่ทำใจได้ยากที่สุดทั้งตัวคุณพ่อคุณแม่และตัวเด็กเอง เพราะอย่างไรแล้วเมื่อความผูกพันเริ่มขึ้น ความเศร้าโศกเมื่อต้องสูญเสียคนที่รักก็จะตามมาเช่นกันดังนั้น ทุกคนในครอบครัวต้องคิดอยู่เสมอว่า เรื่องแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเสียใจ และโอบกอดกันไว้ให้แน่นในวันที่เกิดขึ้นจริง

การเลี้ยงสัตว์ก็เหมือนกับการที่เรารับอีกชีวิตหนึ่งมาดูแล DooDiDo แนะนำว่าก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะอนุญาตให้เด็กๆ เลี้ยงสัตว์ จึงต้องพูดคุยกับเด็กๆ ให้แน่ใจว่าพวกเขาพร้อมแล้วจริงๆ เพราะหากเลี้ยงแล้วเบื่อ นำสัตว์เหล่านั้นไปทิ้ง หรือปล่อยให้พวกมันทรมาน แทนที่จะเป็นการปลูกฝังนิสัยด้านบวกให้เด็กๆ อาจเป็นผลตรงกันข้ามก็ได้นะคะ ข้อนี้จึงต้องระวังให้มากๆ เลยค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.parentsone.com