“โรคมะเร็งเนื้อร้าย” ภัยเงียบสำหรับผู้หญิงไทยที่เป็นมากที่สุด

WM

การเป็นโรคมะเร็งได้ มีปัจจัยอะไรบ้าง มีวีธีการป้องกัน และรักษาอย่างไรมาดูกันค่ะ

เรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างมีทุกคนไม่ควรมองข้าม หรือบางคนอาจจะคิดว่า ร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีอาการผิดปกติอะไร เลยไม่ได้เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และละเลยโรคภัยไข้เจ็บเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นบ้าง ไม่ได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ถ้าพูดถึงโรงมะเร็งภัยเงียบสำหรับผู้หญิง ที่ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อย สาวใหญ่ โรคที่เราพบได้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับ แม้ว่าสาวๆ หลายคนอาจจะคิดว่าตนเองดูแลสุขภาพดีแล้ว แต่นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ ส่วนจะมีปัจจัยอะไรบ้าง มีวีธีการป้องกันและรักษามะเร็งเหล่านี้อย่างไรไปอ่านกันเลยค่ะ

มะเร็งเต้านม

“มะเร็งเต้านม” เป็นโรคมะเร็งยอดฮิตที่พบในหญิงไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตมากถึงร้อยละ 37 จากมะเร็งทั้งหมด ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี โดยสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/foundry-923783/
  • เพศ – เพศหญิงจะเป็นมากกว่าชาย
  • อายุ – ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงมากขึ้น
  • พันธุกรรม – มีญาติเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุน้อย (น้อยกว่า40ปี)
  • ประจำเดือนเริ่มมาตั้งแต่อายุน้อย (มาก่อนอายุ 12ปี)
  • หมดประจำเดือนช้า (อายุมากกว่า 55ปี แล้วประจำเดือนยังไม่หมด)
  • มีลูกคนแรกเมื่ออายุมากขึ้น (มากกว่า 30ปี)
  • การกินยาฮอร์โมนวัยทองหรือยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • เคยได้รับการฉายรังสีที่หน้าอก
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@nci

อาการของโรค มะเร็งเต้านม 

  • คลำเจอก้อนในเต้านม
  • มีของเหลวออกจากบริเวณหัวนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเลือดจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งยิ่งขึ้น
  • มีความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านม โดยผิวหนังมีลักษณะคล้ายผิวส้ม หรือมีรอยบุ๋มที่ผิวหนัง หรือเต้านมผิดรูปร่างไปจากเดิม
  • ความผิดปกติของหัวนม เช่น เป็นแผลที่หัวนม และเจ็บเต้านม (ก้อนมะเร็งส่วนใหญ่มักไม่เจ็บ) เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แสดงออกมาให้เห็นก็ อย่าชะล่าใจเป็นอันขาดนะคะ เพราะในผู้ป่วยบางรายตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมจากการทำแมมโมแกรม (Mammography) ซึ่งการตรวจนี้สามารถพบมะเร็งขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถคลำได้ แต่ต้องบอกก่อนว่าการทำแมมโมแกรมไม่เหมาะกับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากเนื้อเต้านมยังแน่น จึงอาจทำให้มองเห็นก้อนหรือสิ่งผิดปกติได้ไม่ชัด ในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 35 ปี แนะนำให้ทำอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพียงอย่างเดียว โดยแพทย์จะทำการซักประวัติร่วมด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@nci

เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้อร้ายนี้ ควรหมั่นตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ หรือผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองโดยแพทย์ด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะช่วยให้ตรวจเจอมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะยิ่งรู้เร็ว ย่อมรักษาได้ทันท่วงที และมีโอกาสหายขาดได้สูงขึ้น หรือหากต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านมทั้งหมด ก็สามารถสร้างเต้านมใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยนำผิวหนังกล้ามเนื้อและไขมันมาสร้างเป็นเต้านม ทำให้คนไข้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจ มีความสุข หมดปัญหาเรื่องขนาดหน้าอกที่ไม่เท่ากัน เป็นผลดีทั้งสุขภาพกายและใจ

มะเร็งเต้านม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง ไปสู่อวัยวะที่ใกล้เคียงเช่น ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ดังนั้น DooDiDo แนะนำว่าคุณผู้หญิงทั้งหลายควรให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ หมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติของร่างกายเราเพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันเวลาและมีสุขภาพที่ดีได้

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.nakornthon.com