“โรคข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องรอแก่ ปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง

WM

หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ระมัดระวัง และไม่ดูแล คุณก็อาจจะเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” ได้

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน และวันนี้เราจะมาพูดถึงอาการ  “โรคข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องรอแก่ก็เป็นได้ หลายคนเข้าใจว่า จะเป็นโรคนี้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว “โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นภัยเงียบที่แอบแผงอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ระมัดระวัง และไม่ดูแล คุณก็อาจจะเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน 

โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/planet_fox-4691618/

สาเหตุของการเสื่อมของข้อเข่ามีหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

1.อายุ มักไปเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้น และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 40%

2.เพศ เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า

3.น้ำหนัก น้ำหนักตัวที่มากเกินไป น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มแรงกระทำกับข้อเข่ามากขึ้นด้วย รวมทั้งเซลล์ไขมันที่มีมากเกินไปจะส่งผลทำให้เซลล์กระดูกอ่อน และเซลล์กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น

4.การใช้งานเข่า การทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามากยิ่งเพิ่มความเสี่ยง เช่น การวิ่งมาราธอน การเดินขึ้น-ลงบันได  

คุณอาจกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หากมีอาการเหล่านี้มากกว่า 3 ข้อ

  • ปวดเข่า บริเวณข้อ ปวดเรื้อรัง ปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน และทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน
  • มีเสียงในข้อเข่า เมื่อขยับเคลื่อนไหว
  • ข้อเข่าตึง ฝืด เมื่อพักการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน
  • ปวดเสียวที่ข้อเข่าเมื่อขึ้น-ลงบันได
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/taokinesis-2290689/

โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

1.รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด 

ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อลดแรงกระทำต่อข้อ ใช้เครื่องช่วยเดิน เพื่อผ่อนการลงน้ำหนัก ลดแรงกระทำต่อข้อ เช่น ไม้ค้ำ ไม้เท้า การประคบร้อนเมื่อมีอาการปวดในช่วง 48 ชั่วโมงแรก และประคบเย็นช่วง 48 ชั่วโมงหลังมีอาการปวด การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ การกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิว การเลเซอร์ หรือฝังเข็ม  การใช้ยากลุ่มต่างๆ ที่รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างเช่น พาราเซตามอล บรรเทาอาการปวดในเบื้องต้น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ ช่วยลดอาการปวด และช่วยการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

2.การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

เป็นการรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ในกรณีข้อเสื่อมอย่างรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือมีอาการผิดรูปของข้อมาก เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลมาก

ข้อเข่าเสื่อมและวิธีการถนอมข้อเข่าเทียม

สาเหตุความเสื่อมของข้อเข่า

ความเสื่อมแบบปฐมภูมิหรือไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเสื่อมของข้อเข่า ได้แก่ อายุ พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมีข้อเสื่อม อายุ 60 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40

เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2 – 3 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย

น้ำหนักตัวที่เกิน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่าเสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1 – 1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูกส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/taokinesis-2290689/

วิธีถนอมข้อเข่าเทียม

ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเทียมแล้วก็ยังต้องดูแลตนเองเพื่อถนอมข้อเทียมให้ยาวนาน โดยปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังนี้

หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อ ได้แก่

นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งไขว่ห้าง ไขว้ขา การบิดหมุนเข่าไม่ว่ากรณีใด ๆ

ขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น

การยกหรือแบกของหนัก ๆ

การใช้หมอนรองใต้เข่าเป็นเวลานาน ๆ ขณะนอน จะทำให้การไหลเวียนเลือดที่ใต้ข้อพับเข่าเป็นไปได้ไม่สะดวกและข้อเข่าอาจตึงยึดเอ็นที่หนาตัวขึ้น ตลอดจนความขรุขระของกระดูกอ่อนที่บุปลายหัวกระดูก

การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ได้แก่

บริเวณบ้านควรจัดให้โล่ง สว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวางบนทางเดิน เพื่อกันการสะดุดล้มลง

ถ้าจำเป็นต้องขึ้นลงบันไดควรมีราวจับทั้ง 2 ด้านของบันได

ส้วมเป็นแบบชักโครก

ภายในห้องน้ำควรใช้วัสดุกันลื่น มีราวจับ

ควรจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและสะดวกสบายขณะอาบน้ำ

หลีกเลี่ยงการลงไปอาบในอ่างอาบน้ำ เพราะอาจลื่นล้มได้ง่าย

เป็นยังไงบ้างค่ะ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมในเบื้องต้นที่ DooDiDo เราได้นำมาฝาก เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวข้อตามกาลเวลา เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงภายในข้อ และร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการที่ถูกทำลายไป เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหาร และออกซิเจนไม่เพียงพอ ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆ ที่จำเป็นไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ทำให้มีอาการเจ็บปวดในการใช้ชีวิตประจำวัด โดยไม่ได้เป็นเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น “โรคข้อเข่าเสือม” ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาแบบควบคุมอาการปวดได้ และทำให้ข้อเข่าสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ หรือเหมือนเดิมให้มากที่สุด 

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.bangkokinternationalhospital.com