ทำความรู้จัก โรคกลัวความรัก (Philophobia)

โรคกลัวความรัก

ที่คุณ ‘โสด’ เพราะคุณกำลังกลัวความรักอยู่หรือเปล่า ?


คุณกำลังกลัวความรักอยู่หรือเปล่า? เวลาที่คุณเกิดความรู้สึกดีๆ กับใครสักคนขึ้นมา คุณมักไม่กล้าที่จะเปิดใจให้กับความรัก เพราะจากเหตุผลอะไรบางอย่าง นี่แหล่ะคืออาการของคนที่กำลังรู้สึกกลัวการมีความรัก และนี่อาจจะเป็นสาเหตุที่กำลังทำให้คุณนั้นยังโสดอยู่ก็ได้ ลองมาทำความรู้จัก โรคกลัวความรัก (Philophobia) กันดีกว่า

โรคกลัวความรัก (Philophobia) หรือ โรคกลัวการตกหลุมรัก เป็นโรคชนิดหนึ่งในทางจิตเวช แต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อผู้คนรอบข้าง แต่ถ้ายังคงเป็นแบบนี้อยู่ต่อไปก็อาจกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่กล้าออกไปเจอหน้าผู้คน พยายามที่จะหนีจากสังคม อยู่ในโลกที่มีแค่ตัวเอง และสุดท้ายอาจจะเครียดและกดดันจนทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย นักจิตวิทยา ได้สันนิษฐานว่า ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของโรคกลัวความรักอาจมาจากเรื่องใกล้ตัวที่ส่งผลให้ผู้ป่วยพยายามจะหนีความรู้สึกรัก หรือไม่อยากเข้าใกล้ความรู้สึกพิเศษกับใครอย่างจริงจัง และแม้จะเกิดความรู้สึกพิเศษกับใครขึ้นมาบ้าง แต่สุดท้ายก็มักจะไม่กล้าเปิดใจ

โรคกลัวความรัก
ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay

SA Game ขอมาให้ความรู้กันหน่อยว่า Philophobia มันมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “Philo” แปลว่า ความรัก และ “Phobia” ที่แปลว่า ความกลัว โรคกลัวการตกหลุมรัก เป็นสภาวะที่กลัวการตกหลุมรัก กลัวการได้รับความรัก และปฏิเสธความรู้สึกพิเศษที่มีกับบางคน ซึ่งการตกหลุมรัก หรือการสร้างความสัมพันธ์ จะทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกไม่สบายใจ และเลือกที่จะวิ่งหนี พยายามจะเลี่ยงโอกาสที่จะทำให้ตกหลุมรัก หรือหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ต่างๆ ที่มีคนรัก และถ้าคุณเป็นดั่งที่กล่าวมานี้ ก็ควรยอมรับให้ได้ว่าตัวเองนั้นมีอาการกลัวความรัก ไม่ได้เข้มแข็งอะไร แล้วก็ปรับวิธีคิดเปลี่ยนมุมมอง รู้จักที่จะยืดหยุ่น และจัดการกับความผิดหวัง กล้าที่จะพูดเพื่อระบายปัญหากับใครสักคน อย่าคิดไปเองว่าความรักจะมีแต่เรื่องแย่ ให้ลองเปิดใจและก้าวเข้าไปหาความรักความสุขทีละนิดดูสิ แล้วจะมีความสุขมากขึ้น

แนวทางในการรักษา

1. ความคิดและพฤติกรรมบำบัด

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนที่ป่วย ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้นั้นรู้สึกกลัว หรืออาจจะมีรูปภาพหรือคลิปวีดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไช้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น เป็นการกำจัดความรู้สึกกลัวในเรื่องที่ไม่น่ากลัวที่ค่อยข้างได้ผลดีต่อผู้ป่วย

2. เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว

นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ ให้เพศตรงข้ามชวนพูดคุย หรือให้ดูหนังโรแมนติก ฉากสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง

3. รักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางจิตชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านซึมเศร้า หรือยาคลายความวิตกกังวล ควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยการพูดคุย

อาการเหล่านี้อาจพบได้กับคนทั่วไป ซึ่งหากได้รับการให้กำลังใจที่ดี จะสามารถกลับมามีความรักได้ปกติได้อย่างแน่นอน DooDiDo ขอให้กำลังใจกับคนที่กำลังเผชิญกับโรคนี้กันด้วยนะ สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดีๆ แบบนี้ อย่าลืมติดตามเว็บไซต์ของเรา

แหล่งที่มา : www.chiangmainews.co.th, goodlifeupdate.com